จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
- เครื่องอัดอากาศ
คือ เครื่องที่ใช้สำหรับอัดอากาศให้มีแรงดันสูงขึ้น
แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ
เป็นเครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ยิ่งมีจำนวนขั้น (Stage) เพิ่มขึ้นยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ส่วนใหญ่ใช้เพียง 2 ขั้น
เครื่องอัดอากาศแบบระบายความร้อนด้วยน้ำจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบเหมาะสมกับการรับโหลดที่ไม่สม่ำเสมอได้ดี เนื่องจากมีอุปกรณ์
Un-load ที่ดี การใช้อุปกรณ์ Un-load น้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องแบบอื่นๆ
การควบคุมยังสามารถทำเป็นแบบ Multi step ในช่วงการเดิน
Part load จะให้ประสิทธิภาพดี
รูปที่ 1 แสดงเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ
2. เครื่องอัดอากาศแบบโรตารี่สกรู
เป็นเครื่องที่มีความสึกหรอน้อยเนื่องจากตัวสกรูไม่ได้สัมผัสกัน การอัดอากาศมีประสิทธิภาพพอสมควรแต่โครงสร้างเป็นตัวสกรูทำให้มีอัตราส่วนความดันคงที่
เครื่องอัดอากาศแบบโรตารี่สกรูเหมาะกับการรับโหลดเต็มพิกัดและสม่ำเสมอ จึงจะให้ประสิทธิภาพ
ที่ดีได้
รูปที่
2
แสดงเครื่องอัดอากาศโรตารี่สกรู
3. เครื่องอัดอากาศแบบหอยโข่ง
เป็นเครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงพอควรเหมาะกับระบบที่มีความต้องการอากาศมาก
รูปที่
3
แสดงเครื่องอัดอากาศแบบหอยโข่ง
- ท่อดูดอากาศ
การออกแบบท่อดูดอากาศ ควรให้ท่อดูดอากาศจากภายนอก
โดยอากาศต้องเย็น แห้งและสะอาด อากาศที่มีอุณหภูมิต่ำลง 3 °C จะทำให้ใช้พลังงานลดลง
1% การอัดอากาศที่แห้งจะช่วยลดการอัดไอน้ำให้ได้ความดันเท่าอากาศ และความดันไอน้ำจะควบแน่นเป็นหยดน้ำ
เรียกว่า คอนเดนเสท ซึ่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ใดๆได้และต้องหาวิธีกำจัดด้วยวิธีต่างๆ
ความสะอาดของอากาศจะมีผลต่อฟิลเตอร์ หากมีฝุ่นมากจะทำให้ฟิลเตอร์อุดตัน มีผลให้อากาศไหลเข้าน้อย
อัตราส่วนความดันจะสูงขึ้น ทำให้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น
- After Cooler
เนื่องจากอากาศที่ดูดเข้าไปมีความชื้นผสมอยู่ด้วย
ถ้าไม่มี
After Cooler ความชื้นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ การติดตั้ง After
Cooler จะช่วยลดปัญหาการเกิดคอนเดนเสทได้มาก
- Air Dryer
งานบางอย่างต้องการความชื้นในอากาศน้อยหรือมีความสะอาดมาก
เช่น อุตสาหกรรมพ่นสี อุตสาหกรรมอาหารและยา Air Dryer จะช่วยแยกความชื้นและทำให้อากาศมีความแห้งมาก
- ถังเก็บอากาศ
ระบบที่ต้องการความดันอากาศที่สม่ำเสมอ ถังเก็บอากาศจะช่วยให้ลมในระบบมีความสม่ำเสมอ
ถังเก็บอากาศยังช่วยลดอุณหภูมิอากาศ ทำให้คอนเดนเสทแยกจากอากาศอัดได้บางส่วน
รูปที่ 4 แสดงถังเก็บอากาศ
- ท่อเมน
ท่อเมนจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะไม่ให้ความเร็วของอากาศภายในสูงเกินไป
ลักษณะการต่อท่อเมนในระบบใหญ่นิยมต่อเป็นวงแหวน สำหรับระบบขนาดเล็กต่อเป็นแนวตรงก็ใช้ได้ ระบบท่อเมนต้องดูแลให้มีการรั่วของอากาศไม่เกิน 5 %
ที่มา : คู่มือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
(โรงงาน) พ.ศ.
2553
ความคิดเห็น