ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรความต้านทานแบบผสม

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้                      

                   การต่อความต้านทานแบบผสม ต้องประกอบด้วยความต้านทานอย่างน้อย 3 ตัวขึ้นไป ที่มีการต่อความต้านทานอยู่ในลักษณะอนุกรม และขนานรวมกัน ตามภาพด้านล่าง




               ในการต่อความต้านทานแบบผสม เราจะสามารถหาค่าต่างๆ  ในวงจรได้โดยการพิจารณาลักษณะการต่อของวงจรแต่ละส่วนว่าต่อกันอยู่ในลักษณะอนุกรมหรือขนาน หากวงจรต่ออยู่ในลักษณะอนุกรมก็คิดคำนวณแบบอนุกรม หากวงจรต่ออยู่ในลักษณะขนานก็คิดคำนวณในแบบขนาน เพราะลักษณะในการคิดคำนวณค่าต่างๆ จริงๆแล้วจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อนุกรมและขนานเท่านั้น

              จากวงจรด้านบนเราสามารถหาค่าต่างๆ ของวงจรได้ดังนี้
            1. ความต้านทานรวม ( Rt )
            การหาค่าความต้านทานรวมของวงจรผสม ให้เรามองลักษณะของวงจร โดยการมองจากจุดที่ไกลจากแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้าไปหาแหล่งจ่าย และรวมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือความต้านทานตัวเดียว ซึ่งหมายถึงความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจรนั่นเอง
           
            ตัวอย่างจากวงจรด้านบน เราจะสามารถรวมความต้านทานได้จาก ความต้านทาน R4 และ R5 ต่อกันอยู่แบบขนานและมีความต้านทานเท่ากัน จะสามารถรวมกันได้เป็น

           Rt1 = R4 // R5
                = 20 ÷ 2
                = 10  W

           สามารถเขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้


                เมื่อได้วงจรใหม่ เราก็มองวงจรต่อไปอีก จะเห็นว่า R3 และ Rt1 ต่อกันแบบอนุกรม เราก็ใช้สูตรวงจรอนุกรมหาความต้านทานรวมของทั้งสองตัวอีก ได้ดังนี้    
           Rt2 = R3 + Rt1
                = 5 + 10
                = 15  W

           สามารถเขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้


              เมื่อได้วงจรใหม่ เราก็มองวงจรต่อไปอีก จะเห็นว่า R2 และ Rt2 ต่อกันแบบขนาน เราก็ใช้สูตรวงจรขนาน โดยใช้สูตรลัดกรณีความต้านทานเท่ากันใช้หาความต้านทานรวมของทั้งสองตัวอีก ได้ดังนี้    
           Rt3 = R2 // Rt2
                = 15 ÷ 2
                = 7.5  W

           สามารถเขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้

         เมื่อได้วงจรใหม่ เราก็มองวงจรต่อไปอีก จะเห็นว่า R1 และ Rt3 ต่อกันแบบอนุกรม เราก็ใช้สูตรวงจรอนุกรมหาความต้านทานรวมของทั้งสองตัวอีก ได้ดังนี้    
           Rt = R1 + Rt3
                = 10 + 7.5
                = 17.5  W

           สามารถเขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้


              เมื่อเหลือความต้านทานตัวสุดท้ายก็คือความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจรนั่นเอง ซึ่งในวงจรนี้ ความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจรคือ 17.5 W

             สำหรับผู้ที่มีความชำนาญที่ฝึกฝนมามากๆ ที่มองวงจรเข้าใจ อาจไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนและเปลี่ยนวงจรไปทีละขั้นตอน สามารถหาความต้านทานรวมได้ในขั้นตอนเดียวดังนี้
             จากวงจร

            Rt = R1 + ( R2 // (R3 + (R4 // R5)))
               = 10 + (15 // (5 + (20 // 20)))
               = 10 + (15 // (5 + (20 ÷ 2)))
               = 10 + (15 // (5 + 10))
              = 10 + (15 // 15)
              = 10 + (15 ÷ 2)
              = 10 + 7.5
              = 17.5 W

ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าความต้านทานรวม 

หมายเหตุ  หากส่วนใดตัวต้านทานต่อกันแบบอนุกรม  จะใช้เครื่องหมาย +  (ให้นำความต่านทานมาบวกกันได้เลย)
                   หากส่วนใดตัวต้านทานต่อกันแบบขนาน  จะใช้เครื่องหมาย //  (ให้นำความต้านทานรวมกันแบบขนาน)
                   การคำนวณค่า ให้คำนวณในวงเล็บก่อน ตามลำดับ 

            2. กระแสไฟฟ้าทั้งหมดของวงจร ( It )
             เมื่อเราหาความต้านทานรวมของวงจรได้แล้ว เราก็จะสามารถหากระแสไฟฟ้าทั้งหมดของวงจรได้ดังนี้
            It = E / Rt
               = 25 ÷ 17.5
               = 1.43 A

          3. หากระแสและแรงดันที่ตกคร่อมส่วนต่างๆ
          เมื่อเรารู้ค่ากระแสที่ไหลทั้งหมดแล้ว เราก็จะสามารถหากระแสะที่ไหลผ่านส่วนต่างๆ และแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานแต่ละตัวได้ต่อไป โดยการย้อนกลับจากแหล่งจ่ายไปท้ายวงจร ดังนี้


     กระแสที่ไหลผ่าน R1 จะมีค่าเท่ากับ It  
 \    IR1 = 1.43 A

   แรงดันตกคร่อม  R1  จะมีค่าเท่ากับ
        VR1 = IR1R1
              = 1.43 x 10
              = 14.3 V

    แรงดันตกคร่อม  R2  และ  Rt2 ซึ่งต่อขนานกันจะมีค่ากัน ซึ่งจะเท่ากับแรงดันที่จ่ายลบด้วยแรงดัน ที่ตกคร่อมที่  R1
         VR2 = E - VR1
                 = 25 -14.3
                 = 10.7  V

ดังนั้นกระแสที่ไหลผ่าน R2 จะมีค่าเท่ากับ
IR2 = VR2 / R2
    = 10.7 ÷ 15
    =  0.715 A

               หรือหาได้จาก กระแสทั้งหมด เมื่อผ่าน R1  จะแยกออกไปเป็นสองทาง คือ R2 และ Rt2 ซึ่งมีความต้านทานเท่ากัน ดังนั้นกระแสจะแยกไปเท่ากัน
\ IR2 =  IRt2  = It / 2
         = 1.43 ÷ 2

         =  0.715 A

แรงดันตกคร่อม R2 จะมีค่าเท่ากับ
        VR2  = IR2R2
              = 0.715 x 15

              = 10.7 V


กระแสที่ไหลผ่าน R3 จะมีค่าเท่ากับ
IR3 =  It - IR2
      = 1.43 - 0.715
      =  0.715 A

หรือ กระแสที่ไหลผ่าน R3 จะมีค่าเท่ากับ IRt2
\ IR3 = IRt2
         =  0.715 A

 แรงดันตกคร่อม R3 จะมีค่าเท่ากับ
        VR3 = IR3R3
              = 0.715 x 5
              = 3.575 V

             หากระแสที่ไหลผ่าน R4 และ R5
 จากวงจร    R4 และ R5 มีค่าเท่ากัน กระแสที่ไหลผ่านมาจาก  R3 จึงแยกไหลไปเท่ากัน  
\ IR4 = IR5 = IR3 / 2
         = 0.715 ÷ 2
         = 0.3575  A


                                         ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่ากระแส 


            หาแรงดันที่ตกคร่อม  R4 และ R5  เนื่องความต้านทานทั้งสองต่อกันแบบขนาน จึงได้รับแรงดันเท่ากัน ซึ่งมีค่าเท่ากับแรงดันที่ตกคร่อม R2 ลบด้วยแรงดันที่ตกคร่อม R3 
\ VR4 = VR5  = VR2 - VR3  
          = 10.7 – 3.575
          = 7.125  V

หรือหาได้จากสูตร
     VR4 = IR4R4          
ั้นตอน สามารถหาความต้านทานรวมได้เลยดังนี้้านทานรวมทั้งหมดของวงจรคือ 17.5 ิดคำนว           = 0.3575 x 20
          = 7.15  V

     VR5 = IR5R5               
ั้นตอน สามารถหาความต้านทานรวมได้เลยดังนี้้านทานรวมทั้งหมดของวงจรคือ 17.5 ิดคำนว           = 0.3575 x 20
          = 7.15  V



                           ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าแรงดันคร่อมจุดต่างๆ

หมายเหตุ  ค่าที่ได้จากการคำนวณอาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากตัวเลขบางตัวเป็นค่าประมาณจากการหารไม่ลงตัว

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ขอขอบคุณมากเลยครับ
อธิบายได้ละเอียดมากครับ