จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
โดยทั่วไปแล้วโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบอากาศอัดในกระบวนการผลิตหลายกระบวนการ
เช่น การใช้ลมขับกระบอกสูบเครื่องพิมพ์ผ้า การพ่นสีรถยนต์ เป็นต้น เพราะลมเป็นพลังงานสะอาดและไม่มีอันตราย
ระบบอากาศอัดเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก เนื่องจากต้องการความดันของอากาศอัดสูงและต้นทุนการผลิตอากาศอัดจะยิ่งสูงขึ้นหากมีการรั่วไหลในระบบ
การทำงานของเครื่องอัดอากาศเริ่มจากดูดอากาศเข้าทางท่อลมเข้า (Air Intake) เพื่อส่งเข้าไปยังเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) บริเวณทางเข้าเครื่องอัดอากาศจะติดตั้งเครื่องกรองอากาศ
(Filter) กรองสิ่งเจือปนต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง เศษใบไม้ที่อาจลอยมากับอากาศ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเครื่องอัดอากาศ อากาศที่ผ่านเครื่องอัดอากาศแล้ว
จะเก็บไว้ในถังเก็บอากาศ ซึ่งมีความดันสูงและมีอุณหภูมิสูง แต่อุณหภูมิจะลดต่ำลงด้วยอุปกรณ์ระบายความร้อนหลังจากอัด
(After cooler) ก่อนนำไปใช้งานต่อไป
อากาศที่มีความดันสูงจะถูกส่งผ่านจากท่อจ่ายอากาศหลัก
(Supply Line) และแยกไปใช้งานตามจุดต่าง ๆ ผ่านท่อแยก
(Branch) แต่ก่อนที่อากาศจะเข้าไปยังเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
กระบอกสูบ หรือพู่กันลม ต้องมีการดักและกรองสิ่งที่ปนมากับอากาศ ซึ่งได้แก่ ฝุ่นละออง
สิ่งสกปรกจากภายในท่อ และน้ำมันหล่อลื่นเสียก่อน โดยใช้อุปกรณ์กรองละอองน้ำและฝุ่น
(Filter)
ระบบอากาศอัดมีส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมด
3 ส่วน ดังต่อไปนี้
1. ส่วนการสร้างอากาศอัด (Air Compressor Section)
ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเครื่องอัดอากาศ
(Compressor) เครื่องกรองอากาศและระงับเสียงบริเวณทางเข้า
(Silencer/Filter) อุปกรณ์ระบายความร้อนหลังการอัด
(Aftercooler) และถังเก็บอากาศ (Air Receiver)
2. ส่วนการจ่ายอากาศอัด (Distribution Section)
ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย
ท่อจ่ายลมหลัก (Supply Line) ท่อแยก (Branch) อุปกรณ์กรองฝุ่นและความชื้น (Filter) อุปกรณ์จ่ายน้ำมันหล่อลื่น
(Lubricator) และอุปกรณ์ควบคุมระดับความดันลม (Regulator)
รูปที่
2
แสดงส่วนการจ่ายอากาศ
3. ส่วนการใช้อากาศอัด
ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย
อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ลมในการใช้งาน เช่น กระบอกสูบ
(Air Cylinder) เครื่องเป่าลม (Blower) เครื่องเจาะถนนแบบกระแทก
เป็นต้น
รูปที่
3
แสดงตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้อากาศอัดในการทำงาน
ที่มา : คู่มือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
(โรงงาน) พ.ศ.
2553
ความคิดเห็น