จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
ความดันของอากาศอัด
(1) การใช้ความดันของอากาศอัด
ปกติระบบนิวเมติกส์จะใช้ความดันอากาศไม่เกิน 5 บาร์ โรงงานส่วนใหญ่ผลิตอากาศที่ความดัน
7 บาร์แล้วส่งไปตามท่อ แล้วลดความดันที่ตรงจุดใช้งานตามความต้องการของอุปกรณ์
การออกแบบลักษณะนี้ประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานไม่ดี เนื่องจากต้องลดความดันมากที่จุดใช้งาน
การออกแบบท่ออากาศส่วนใหญ่การสูญเสียความดันต้องไม่เกิน 5 % ถ้าระบบต้องการความดันไม่เกิน
5 บาร์ อาจต้องผลิตอากาศที่ 5.6 บาร์ เมื่อเกิดการลดความดันในท่อ
5 % จะเหลือความดันที่ปลายท่อ 5.3 บาร์ ซึ่งเพียงพอกับการใช้งาน
(2) ในกรณีที่ความดันของอากาศ
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ เช่น กลุ่มหนึ่งใช้ความดัน 6 บาร์ อีกกลุ่มหนึ่งใช้ความดัน 3 บาร์ ทั้งสองกลุ่มมีปริมาณการใช้อากาศใกล้เคียงกัน
โรงงานส่วนใหญ่มักจะผลิตอากาศที่ความดัน 7 บาร์ แล้วลดความดันลงให้เหมาะกับจุดที่ใช้งาน
ซึ่งกลุ่มที่ใช้ความดัน 3 บาร์ จะสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก การใช้งานลักษณะนี้ควรผลิตอากาศแยกระบบโดยระบบแรกผลิตที่ความดัน
7 บาร์ เพื่อความต้องการความดัน 6 บาร์ และอีกระบบผลิตที่ความดัน
3.5 – 4 บาร์ เพื่อใช้กับความต้องการ 3 บาร์ จะทำให้ลดพลังงานลง
33% เมื่อแบ่งเป็นสองระบบแล้วอาจจะต่อท่อและลดความดันระหว่างระบบทั้งสองเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
(3) ในกรณีที่ความดันของอากาศ
แบ่งเป็น 2 ระดับ แต่ในระดับสูงมีจำนวนใช้ที่น้อยกว่า เช่น โรงงานแห่งหนึ่งใช้ความดันที่
6 บาร์ และ 10 บาร์ แต่ความดันที่ 10 บาร์ มีความต้องการใช้อยู่ระหว่าง 10 -15% ของการใช้ทั้งหมด
ลักษณะนี้อาจจะผลิตอากาศที่ความดัน 7 บาร์ แล้วติดตั้ง
Booster เพื่ออัดอากาศจากความดัน 7 บาร์ เป็น
11 บาร์ เพื่อป้อนให้กับอุปกรณ์ที่ต้องการความดัน 10 บาร์ การจัดการลักษณะนี้จะช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างมาก
ที่มา : คู่มือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
(โรงงาน) พ.ศ.
2553
ความคิดเห็น