ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้                  

                     มอเตอร์ 3 เฟส สามารถกลับทางหมุนได้โดย การกลับเฟสของสายไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จำนวน 2 สาย โดยสามารถที่จะกลับเฟสของสายคู่ใดก็ได้ ที่จ่ายให้กับมอเตอร์

ภาพที่ 1 แสดงการกลับทางหมุนของมอเตอร์ 3 เฟส

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การกลับทางหมุนโดยใช้สวิตช์เช่น ดรัมสวิตช์ (Drum Switch) หรือโรตารี่แคมสวิตช์ (Rotary Camp SWitch) 
        การกลับทางหมุนโดยใช้สวิตช์ เช่น โรตารี่แคมสวิตช์จะเป็นสวิตช์หมุน 3 ตำแหน่ง คือ I – O - II (Clockwise-Counter Cockwise) หรือ F – O - R (Forward-Stop-Reverse) หรือ L- O – R (Left-Stop-Right)
                          การกลับทางหมุนแบบนี้จะใช้กับมอเตอร์ขนาดเล็ก ที่กินกระแสไม่มากนัก

ภาพที่ 2 แสดงดรัมสวิตซ์ที่ใช้ในการควบคุมการกลับทางหมุนของมอเตอร์ 3 เฟส

2. การกลับทางหมุนโดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมต่างๆ เช่น แมคเนติกคอนแทคเตอร์
          การใช้แมคเนติกคอนแทคเตอร์ จะใช้แมคเนติกคอนแทคเตอร์เพิ่มขึ้นอีก 1 ตัว โดยตัวที่ 2 จะสลับสายเฟสให้แตกต่างจากแมคเนติกตัวแรก โดย K2 จะสลับเฟสจาก 1 ไป 3 และ จาก 3 ไป 1 ส่วนเฟส 2 อยู่ที่เดิม ตามหลักการกลับทางหมุนของมอเตอร์ 3 เฟส จะกลับทางหมุนได้เมื่อสลับสายเฟสคู่ใดคู่หนึ่งเพื่อจ่ายให้กับมอเตอร์ และออกแบบอย่างไรก็ได้ตามต้องการให้วงจรควบคุม  ควบคุมให้แมคเนติกทำงานเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น ห้ามแมคเนติกทำงานพร้อมกันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดไฟช๊อตที่เฟสทันที 

         
วงจรการต่อ
      2.1 วงจรกำลัง คือวงจรที่ต่อระบบไฟฟ้าจ่ายให้กับมอเตอร์ ซึ่งจะมีการต่อเพียงรูปแบบเดียว ตามวงจร

ภาพที่ 3 แสดงวงจรกำลัง ของการกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส
 
                        2.2 วงจรควบคุม คือวงจรที่เราใช้สำหรับควบคุมให้วงจรกำลังทำงาน ตามความต้องการของเรา ซึ่งจะสามารถออกแบบได้แตกต่างกันไป ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น
             2.2.1 วงจรกลับทางหมุนชั่วขณะ (Reversing by Jogging )  จะมีลักษณะการทำงาน หมุนซ้ายหรือขวา ได้ขณะที่ผู้ใช้กดสวิตซ์หมุนขวา หรือซ้ายอยู่เท่านั้น 
ภาพที่ 3 แสดงวงจรควบคุมการกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส

แบบกลับทางหมุนชั่วขณะ  (Reversing by Jogging ) 


              2.2.2 วงจรกลับทางหมุนหลังจากหยุด ( Reversing After Stop ) 
                ลักษณะการกลับทางหมุน จะสามารถทำได้เมื่อกดสวิตซ์ให้มอเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่หยุดทำงานก่อน จึงจะสามารถกดสวิตซ์อีกตัวหนึ่งให้หมุนไปอีกทางหนึ่งได้

ภาพที่ 4 แสดงวงจรควบคุมการกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส 
แบบกลับทางหมุนหลังจากหยุด ( Reversing After Stop ) 

  2.2.3 วงจรกลับทางหมุนแบบทันทีทันใด ( Plugging Reversing 
                ลักษณะการกลับทางหมุน จะสามารถทำได้ทันทีขณะที่มอเตอร์กำลังหมุนอยู่สามารถกดสวิตซ์ให้มอเตอร์หมุนไปอีกทางหนึ่งได้โดยวงจรจะตัดไฟที่จ่ายขณะนั้น และกลับไปจ่ายไฟให้มอเตอร์หมุนไปอีกทางหนึ่งได้ทันทีโดยไม่ต้องกดสวิตซ์หยุดมอเตอร์ก่อน
ภาพที่ 5 แสดงวงจรควบคุมการกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส
แบบกลับทางหมุนทันทีทันใด ( Plugging Reversing 

ความคิดเห็น