ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split-phase motor)

จำนวนผู้เยี่ยมชม

              มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสปลิทเฟสมอเตอร์ มีขนาดแรงม้าขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้า จะมีขนาดไม่เกินแรงม้า บางทีนิยมเรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้ว่าอินดักชั่นมอเตอร์ (Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งานมากในตู้เย็น เครื่องสูบนํ้าขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้น

ส่วนประกอบที่สำคัญของสปลิทเฟสมอเตอร์มีดังนี้
โรเตอร์ (Rotor)
             โรเตอร์ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ (Laminated) อัดซ้อนกันเป็นแกน และมีเพลาร้อยทะลุเหล็กบางๆเพื่อยึดให้แน่น รอบโรเตอร์นี้จะมีร่องไปตามทางยาว ในร่องจะมีทองแดงหรืออลูมิเนียมเส้นโตๆ ฝังอยู่โดยรอบ ปลายของทองแดงหรืออลูมิเนียมจะเชื่อมติดอยู่กับวงแหวนทองแดงหรืออลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอกจึงเรียกชื่อว่าโรเตอร์แบบกรงกระรอก (Squirrelcage rotor)

สเตเตอร์ (Stator) 
            หรือเรียกว่าโครงสร้างสนามแม่เหล็ก ซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆ และมีร่องสำเร็จไว้ใส่ขดลวด เรียกว่าช่องสลอต (slot) อัดเป็นปึกแผ่น อยู่ภายในกรอบโครง (Frame) ซึ่งเฟรมนั้น จะทำมาจากเหล็กหล่อ (Cast iron) หรือเหล็กเหนียว (Steel) ที่สเตเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2 ชุด คือ

            1. ขดรันหรือขดเมน (Running Winding หรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมาก ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ 
            2. ขดสตาร์ต (Starting winding) พันด้วยลวดเส้นเล็ก และจำนวนรอบน้อยกว่าขดรัน ขดลวดสตาร์ท จะต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง แล้วจึงนำไปต่อขนานกับขดรัน ขดสตาร์ทมีไว้เพื่อเริ่มหมุนมอเตอร์ตอนสตาร์ท

ฝาครอบหัวท้ายมอเตอร์
               ส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียว ทั้งสองข้างจะถูกยึดด้วยสลักเกลียวให้แน่นและยังมีแบริ่งแบบตลับลูกปืน (Bal bearing) สำหรับรอง เพลาในการหมุนของโรเตอร์ให้ตรงแนวศูนย์กลางไม่เกิดการเสียดสีกับสเตเตอร์ และที่ฝาปิดอีกด้านหนึ่งจะมีส่วนประกอบของสวิทช์แรงเหวี่ยหนีศูนย์กลางส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสที่อยู่กับที่ติดอยู่


สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centricfugal switch)

            สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางนี้ทำหน้าที่ตัดวงจรสตาร์ทหรือบางที่เรียกว่าสวิทช์ตัดวงจรสตาร์ท

            สวิตช์แรงเหวี่ยงนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2 ส่วนดังนี้
            ส่วนที่อยู่กับที่ (Stationary part) จะประกอบติดอยู่กับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ซึ่งเป็นส่วนของหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวอยู่ อัน

             และส่วนที่หมุน (Rotating part) ส่วนนี้จะติดอยู่กับเพลาของโรเตอร์

            การทำงานของสวิทช์หนีศูนย์กลางเมื่อความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ 75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วพิกัดของมอเตอร์ จะทำให้ส่วนที่ติดอยู่กับแกนเพลาของโรเตอร์ผลักดันส่วนที่ติดตั้งอยู่กับฝาของมอเตอร์ทำให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกันตัดวงจรขดสตาร์อย่างอัตโนมัติ

หลักการทำงานของสปลิทเฟสมอเตอร์

               การทำงานอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง โดยที่ขดรันและขดสตาร์ทที่วางทำมุมกัน 90 องศาทางไฟฟ้าเพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุน (Rotating magneticfield) ไปเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลในขดลวดกรงกระรอก (Squirrelcagewinding) กระแสส่วนนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นไปผลักกับสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์ เกิดเป็นแรงบิดที่โรเตอร์ให้หมุนไปเมื่อโรเตอร์หมุนด้วยความเร็ว75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วพิกัด สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจะตัดขดลวดสตาร์ทออกจากวงจร ดังนั้นขดลวดสตาร์ทจะทำงานเฉพาะตอนสตาร์ทเท่านั้น ส่วนขดรันจะทำงานตลอดตั้งแต่เริ่มเดินมอเตอร์จนหยุดหมุน เมื่อจะนำมอเตอร์นี้ไปใช้งานต้องให้หมุนตัวเปล่าก่อนแล้วจึงจะต่อโหลด เพราะมอเตอร์ชนิดนี้จะมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ

การกลับทิศทางการหมุนมอเตอร์

               เมื่อมอเตอร์หมุนไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ถ้าต้องการกลับทิศทางการหมุน ให้หมุนซ้ายหรือหมุนขวาสามารถทำได้โดยกลับทิศทางกระแสไฟฟ้าที่เข้าที่ขดรันหรือขดสตาร์ทก็ได้  (กลับสายที่ขดรันหรือขดสตาร์ทก็ได้)



ความคิดเห็น