ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรความต้านทานแบบขนาน


Besucherstatistiken
               
               การต่อความต้านทานแบบขนานประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป สามารถต่อได้โดยการนำต้นของความต้านทานทุกตัวมารวมกันเป็น 1 จุด  และนำปลายของความต้านทานทุกตัวมารวมกันอีก 1 จุด  จากนั้นนำจุดต่อทั้งสองจุดไปต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า ตามภาพด้านล่าง
               ในการต่อความต้านทานแบบขนาน เราจะสามารถหาค่าต่างๆ  ในวงจรได้ ดังนี้

        1. ความต้านทานรวม ( Rt )
            ความต้านทานรวมของวงจรขนานจะมีค่าลดลงไปจากเดิม เมื่อเรานำความต้านทานมาต่อขนานเพิ่มไปในวงจร ดังนั้นหากเราต่อความต้านทานเพิ่มเข้าไปในวงจรแบบขนานจะยิ่งทำให้ค่าความต้านทานรวมมีค่าลดลงไปเรื่อยๆ โดยความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าน้อยกว่าตัวต้านทานที่มีค่าน้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
            ซึ่งจะสามารถหาความต้านทานรวมแบบขนาน ได้  ดังนี้ (วงจรตามภาพด้านบน)
1.1   เปลี่ยนค่าความต้านทานของทุกตัว เป็นค่าความนำ 
      ความนำคือส่วนกลับของความต้านทาน มีหน่วยเป็นซิเมนส์  แทนค่าด้วย S
      ความนำใช้สัญลักษณ์แทนด้วย  G 
      ดังนั้นจะได้ ความนำของตัวต้านทานแต่ละตัว ดังนี้ 
G1 = 1 / R1 = 1 / 10  = 0.1 S
G2 = 1 / R2 = 1 / 20  = 0.05 S
G3 = 1 / R3 = 1 / 30  = 0.033 S
G4 = 1 / R4 = 1 / 40  = 0.025 S
             1.2 นำค่าความนำไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกกัน เป็นความนำรวมทั้งหมด  จะได้
Gt = G1 + G2 + G3 + G4
    = 0.1 + 0.05 + 0.033 + 0.025
    = 0.208 S
             1.3 เปลี่ยนค่าความนำไฟฟ้าทั้งหมด กลับไปเป็นค่าความต้านทานทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง (ความต้านทานคือส่วนกลับของความนำ) ก็จะได้ความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจรความต้านทานแบบขนาน ดังนี้
                  Rt = 1 / Gt    = 1 / 0.208  = 4.8 W

ข้อสังเกต  ความต้านทานรวมของวงจรขนาน จะต้องมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร จากตัวอย่าง ความต้านทานตัวที่มีค่าน้อยที่สุดในวงจร คือ  10 W  ความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจร คือ  4.8 

              หรือเขียนเป็นสูตร ได้ว่า (ที่มาของสูตร จาก ข้อ 1.1 - 1.3)
 เมื่อ  Rt = ค่าความต้านทานรวมของวงจรทั้งหมด
       R1 = ค่าความต้านทานตัวที่ 1
       R2 = ค่าความต้านทานตัวที่ 2
       R3 = ค่าความต้านทานตัวที่ 3
       Rn = ค่าความต้านทานตัวสุดท้าย
จากวงจรด้านบน คำนวณตามสูตรได้ ดังนี้


   หรือหาด้วยวิธีการ หา ค.ร.น. ของตัวหาร

                                 ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าความต้านทานรวม 

             นอกจากนี้ในวงจรขนาน ยังสามารถหาความต้านทานรวม ในกรณีต่าง ๆ ที่ง่ายกว่าการหาตามสูตรมาตรฐานด้านบน อีก 2 กรณี คือ

                กรณีที่ 1 ความต้านทานที่ต่อขนานกันทุกตัวมีความต้านทานเท่ากัน หาได้จากสูตร
                   Rt = R / n
เมื่อ  Rt = ค่าความต้านทานรวมของวงจรทั้งหมด
       R = ค่าความต้านทานตัวใดตัวหนึ่ง (เพราะทุกตัวมีความต้านทานเท่ากัน)
       n = จำนวนตัวต้านทานที่ต่อขนานกันในวงจรนั้น

ตัวอย่าง  จากวงจรด้านด้านล่าง จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจร

          จากวงจร ตัวต้านทานต่อขนานกัน 4 ตัว  ทุกตัวมีค่าเท่ากัน คือ  40 W
 จึงสามารถใช้สูตร   Rt = R / n  ได้
 โดย    R = 40 W
            n = 4
  แทนค่าลงในสูตร จะได้
       Rt = 40 / 4  = 10 W         ตอบ

ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าความต้านทานรวม
                          

             กรณีที่ 2  ความต้านทานที่ต่อขนานกันมีจำนวน 2 ตัว แต่มีค่าไม่เท่ากัน (ถ้าเท่ากันใช้สูตรกรณีที่ 1 ได้) หาได้จากสูตร
เมื่อ  Rt = ค่าความต้านทานรวมของวงจรทั้งหมด
       R1 = ค่าความต้านทานตัวที่ 1
       R2 = ค่าความต้านทานตัวที่ 2

ตัวอย่าง  จากวงจรด้านด้านล่าง จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจร 
จากวงจร 
        R1 = 10 W
        R2 = 30 W
จากสูตร
แทนค่าลงในสูตร จะได้

ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าความต้านทานรวม


                การหาค่าความต้านทานกรณีที่ตัวต้านทานต่อแบบขนานกันหลายรูปแบบ เราสามารถประยุกต์ใช้สูตรกรณีต่างๆ ร่วมกันได้  เช่น 

                ความต้านทานต่อขนานกัน 10 ตัว ตัวที่ 1 - 9 มีขนาด 90 W ส่วนตัวที่ 10 มีขนาด 20 W จงหาความต้านทานรวม

               เราสามารถหาความต้านทานรวมของ ตัวที่ 1 - 9 ที่มีความต้านทานเท่ากันต่อขนานกันก่อน โดยใช้สูตร
             Rt = R / n  
                 = 90 / 9  
                 = 10  W
               จากนั้น นำค่าความต้านทานรวม ตัวที่ 1 - 9 ไปรวมกับตัวที่ 10 โดยใช้สูตรความต้านทาน 2 ตัวค่าไม่เท่ากันต่อขนานกัน คือ
         
                   = (10 x 20) / (10 + 20) 
                   = 200 / 30
                   = 6.67  W

ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่าความต้านทานรวม


2. แรงดันไฟฟ้าของวงจร ( E )
                    แรงดันไฟฟ้าของวงจรความต้านทานแบบขนานที่จ่ายให้กับความต้านทานแต่ละตัว จะมีค่าเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวงจร เนื่องจากความต้านทานทุกตัวจะต่อคร่อมอยู่กับแรงดัน จึงทำให้แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานเท่ากับแหล่งจ่ายนั่นเอง
               หรือเขียนเป็นสูตรได้ว่า

                              E t = V1 = V2 = V3 =…= Vn
เมื่อ
                 E t = แรงดันทั้งหมดที่จ่ายให้วงจรอนุกรม
                 V1 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 1
                 V2 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 2
                 V3 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 3
                 Vn = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวสุดท้าย

3. กระแสไฟฟ้าของวงจร ( I )
                    กระแสไฟฟ้าของวงจรความต้านทานแบบขนาน จะแยกไหลไปตามความต้านทานต่าง ๆ ที่ต่ออยู่ในวงจร กระแสที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความต้านทาน โดยถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสจะไหลได้มาก หากความต้านทานมากกระแสจะไหลได้น้อย
              ค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานตัวใด จะเท่ากับแรงดันที่จ่ายให้วงจร (เนื่องจากวงจรขนานความต้านทานแต่ละตัวจะได้รับแรงดันเท่ากับแหล่งจ่ายทุกตัว) หารด้วยความต้านทานของตัวนั้น

              หรือเขียนเป็นสูตรได้ว่า 
เมื่อ  I n = กระแสไหลผ่านความต้านทานตัวที่เราต้องการทราบค่า
          E = แรงดันที่จ่ายให้กับวงจร
       R n = ค่าความต้านทานตัวที่เราต้องการทราบค่ากระแส

                   ส่วนกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ไหลในวงจร จะมีค่าเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัว เขียนเป็นสูตรได้ ดังนี้

                 I t =  I 1  + I 2  + I 3  +...+ I n

                              เมื่อ
                 I t = กระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ไหลในวงจร
                 I 1 = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานตัวที่ 1
                 I 2 = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานตัวที่ 2
                 I 3 = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานตัวที่ 3
                 I n = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานตัวสุดท้าย

ตัวอย่าง  จากวงจรด้านล่าง จงหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัว และกระแสทั้งหมด

               
วิธีทำ     หาค่ากระแสที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวในวงจรขนาน หาได้จากสูตร
ดังนั้น หาค่ากระแสที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัว ได้ตามสูตรดังนี้

                   I 1 =   E / R1   
                        =  100 / 10  
                        =  10 A

                   I 2 =   E / R2   
                        =  100 / 20  
                        =  5 A

                   I 3 =   E / R3   
                        =  100 / 30 
                        =  3.33 A

                   I 4 =   E / R4   
                        =  100 / 40  
                        =  2.5 A

                 หาค่ากระแสทั้งหมดได้ ตามสูตรดังนี้

                   I t =  I 1  + I 2  + I 3  + I 4
                       = 10 + 5 + 3.33 + 2.5
                       = 20.83 A         ตอบ 


                                    ภาพจากการใช้ โปรแกรม Circuit Wizard ทดลองวัดค่ากระแสไฟฟ้าส่วนต่างๆ 


             หรือ กระแสที่ไหลในวงจรขนานทั้งหมด เราอาจหาค่าได้จากสูตร


             จากวงจรด้านบน เราหาความต้านทานรวมของวงจรได้เท่ากับ 4.8 W
แทนค่าลงในสูตร จะได้

              I t =  100 / 4.8  
                  =  20.83 A         ตอบ 

             จะเห็นว่าทั้ง 2 วิธี คำตอบออกมามีค่าเท่ากัน

             จากตัวอย่างจะเห็นว่าเราสามารถหาความต้านทานรวมของวงจรได้จากการหาค่ากระแสไฟฟ้าก่อน และหาค่าความต้านทานรวมเป็นลำดับถัดไป ได้จากสูตร 
             
      Rt = E / I t
           = 100 / 20.83
           =  4.8    W           ตอบ




        

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ต่อขนาน4ตัว120มาจากไหนพี่งง
ครูตุ้ง กล่าวว่า
120 มาจากการหาค่า ครน. ของการบวกเลขที่เป็นเศษส่วนครับ
หาความรู้เพิ่่มเติมได้จาก http://elearnkrutung.blogspot.com/2016/10/blog-post_53.html
ครูตุ้ง กล่าวว่า
สำหรับผู้ที่หา ครน.ไม่คล่อง อาจหาในรูปของความนำ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความต้านทาน ตามขั้นตอนที่ 1.1 - 1.3 ครับ
not you กล่าวว่า
ขอบคุณคุณครูตุ้งครับ