ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor motor)

จำนวนผู้เยี่ยมชม

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor motor)
               คาปาซิสตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิเตอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20  แรงม้าถึง 10  แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ
        ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์โครงสร้างของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เหมือนกับแบบสปลิทเฟส เกือบทุกอย่าง คือ
     1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
     2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
     3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush ) หรือตลับลูกปืน ( Ball bearing ) สำหรับรองรับเพลา
     4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser
1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน

 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง( Bush )
หรือตลับลูกปืน( Ball bearing )  สำหรับรองรับเพลา

     
4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)
    ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ
1. แบบกระดาษหรือPaper capasitor
2. แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor
3. แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor

     ชนิดของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

     คาปาซิเตอร์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

     1. คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )
     2. คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )
     3. คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

     หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

         ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

     1. คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )

          การทำงานของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ เหมือนกับแบบสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่เนื่องด้วยขดลวดชุดสตาร์ทต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์ ทำให้กระแสที่ไหลเข้าในขดลวดสตาร์ทถึงจุดสูงสุดก่อนขดลวดชุดรัน จึงทำให้กระแสในขดลวดสตาร์ทนำหน้าขดลวดชุดรันซึ่งนำหน้ามากกว่าแบบสปิทเฟสมอเตอร์ คาปาซิเตอร์มอเตอร์จึงมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงมาก สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ หลังจากสตาร์ทแล้วมอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบถึง  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุด สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีจากศูนย์กลาง จะตัดคาปาซิเตอร์ออกจากวงจร ดังแสดงในรูปวงจรการทำงาน



รูปแสดงการทำงานวงจรคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์

     2. คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) 
     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มี สวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทำให้ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงาน ดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ำมันหรือกระดาษฉาบโลหะ
     แต่สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดและเนื่องจากขดลวดชุดสตาร์ทใช้งานตลอดเวลา การออกแบบจึงต้องให้กระแสผ่านขดลวดน้อยกว่าแบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท โดยการลดค่าของคาปาซิสเตอร์ลง ดังนั้นแรงบิดจึงลดลงกว่าแบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ทแต่ยังสูงกว่าแบบสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิเตอร์รันมอเตอร ์

     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )
     
ลัก ษณะโครงสร้างของคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว คือคาปาซิเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง หรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้มีค่าแตกต่างกัน
     มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน ได้มีการออกแบบมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงขึ้นโดยคาปาซิสเตอร์รันต่อขนานกับคาปาซิเตอร์สตาร์ท เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนไปได้ความเร็วรอบ  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุด ส่วนคาปาซิเตอร์รันต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลาจึงทำให้มอเตอร์ที่มีกำลังสตาร์ทสูงและกำลังหมุนดีด้วยดังแสดงรูปวงจรการทำงาน
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและคาปาซิเตอร์รัน

     การกลับทางหมุน 

         การกลับทางหมุน ของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ สามารถทำได้โดย การกลับขดลวดชุดสตาร์ท เช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์

ที่มา : http://202.129.59.73/tn/motor10-52/motor7.htm

ความคิดเห็น