ไมโครโฟน Microphone
หรือ เรียกกันแบบย่อว่า ไมค์ (Mic.) คือ อุปกรณ์ แปลงพลังคลื่นเสียง ให้กลายเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีจุดกำเนิดจากการคิดวิธีส่งสัญญาณโทรศัพท์
ไมโครโฟนได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านการสื่อสาร, การบันทึกเสียง, ระบบคาราโอเกะ, เครื่องช่วยฟัง, อุตสาหกรรมภาพยนต์, การแสดงสดและการบันทึกเสียง หรืองานของวิศวกรด้านเสียง(Audio Engineering), โทรโข่ง, งานกระจายเสียงและแพร่ภาพทางวิทยุและโทรทัศน์ , งานมัลติมีเดีย บน คอมพิวเตอร์, การรับคำสั่งเสียงในอุปกรณ์ IT, การส่งสัญญาณเสียงบนสื่ออินเทอร์เน็ต (VoIP) หรือ งานเสียงที่อยู่นอกเหนือการได้ยิน เช่น การตรวจสอบด้วยอุลตร้าซาวด์ หรือ การตรวจจับการสั่นสะเทือน
ไมโครโฟนมีการออกแบบหลากหลายตามการใช้งาน โดยส่วนใหญ่ที่ใช้งานในปัจจุบัน จะเป็นแบบทำงานด้วยการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า หรือไดนามิค ไมโครโฟน (Dynamic microphone)แบบการเปลี่ยนแปลงค่าประจุไฟฟ้า หรือ คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน (Condenser microphone) นอกจากนั้นยังมีแบบ Piezoelectric generation หรือ light modulation
โดยทุกแบบล้วนมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสัญญาณเสียง ตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า (electrical voltage signal) จากการสั่นสะเทือนเชิงกล (Machanical vibration) ซึ่งมาจากพลังเสียงที่ไมค์ได้รับเข้าไปนั่นเอง
ไมโครโฟน Microphone
ไมโครโฟนคืออะไร
ความหมายของไมโครโฟน
ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า การออกแบบไมโครโฟนที่ดี
จะต้องสามารถเปลี่ยนพลังเสียงได้ดี ตลอดย่านความถี่เสียง ซึ่งมีความจำกัดมาก
จึงมีเทคโนโลยีหลายอย่างเกิดขึ้น เพื่อให้ได้สัญญาณเสียงที่ดีเหมือนต้นกำเนิดเสียง
ดังนั้น จึงมีไมโครโฟนหลายชนิดที่มีคุณลักษณะไม่เหมือนกัน
ชนิดของไมโครโฟน
ไมโครโฟนแบ่งตามชนิดของการใช้วัสดุอุปกรณ์นำมาสร้างได้ 5 ชนิด คือ
1.
ไมค์ไดนามิค ( Dynamic Microphon )
มีโครงสร้างประกอบด้วย ดังนี้
- แม่เหล็กถาวร
( magnet
)
- ไดอะแฟรม (
Diaphragm
)
- ขดลวด ( Coil )
หลักการทำงาน ดังนี้ คือ เมื่อเสียงมากระทบที่แผ่นไดอะแฟรมบางๆ
จะเกิดการสั่นขึ้นผลจากการสั่นเพียงเล็กน้อยทำให้ขดลวดเขย่า
เกิดการเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กทำให้ขดลวดเกิดกระแสไฟฟ้า ( Current ) ขึ้นตามผลการสั่นของไดอะแฟรม
แต่สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนเป็นขนาดความแรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จึงต้องมีการขยายขึ้นเป็นพิเศษที่เครื่องขยายเสียง
โดยวงจรขยายสัญญาณไมโครโฟนเท่านั้น เรียกว่า ปรีไมโครโฟน ( Pre Microphone
) ไมโครโฟนชนิดนี้ มีอิมพิแดนซ์ 600 โอห์มมีความไวในทิศทางด้านหน้าและในรัศมีสั้นๆ
ประมาณ 4 เซนติเมตร จนบางทีเรียกว่าไมค์ร้อง
เหมาะสำหรับการแสดงการขับร้อง
2.
ไมค์คอนเดนเซอร์ ( Condensor Microphone )
- มีโครงสร้างประกอบด้วย
ดังนี้
- แบตเตอรี่
( Battery )
- ไดอะแฟรม (
Diaphragm
)
- Back plate
- วงจรขยายสัญญาณ
( Amplifier
)
คอนเดนเซอร์ไมโครโฟนนี้ต้องมีไฟฟ้า DC เลี้ยงจึงจะทำงาน
แรงดันตั้งแต่ 1.5 ถึง 48 โวลท์
ไมค์คอนเดนเซอร์ใช้หลักการค่าความจุของคาปาซิเตอร์เปลี่ยนแปลงโดยเมื่อมีเสียงปะทะที่ไดอะแฟรม
จึงจะทำให้เกิดการสั่นไหว
ทำให้มีการขยับตัวของระยะห่างชองแผ่นเพลทที่เป็นไดอะแฟรมกับแผ่นเพลทแผ่นหลัง ( Back
Plate ) ทำให้ค่าความจุมีการเปลี่ยนแปลงตามแรงปะทะจากคลื่นเสียง
ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าของเสียงนั้นส่งมาที่ Amplifier ทำการขยายสัญญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แรงส่งออกไปตามสายนำสัญญาณ
ดังนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้จึงมีความไวมาก มีอิมพิแดนซ์ต่ำมาก
เมื่อยังไม่มีการออกแบบพิเศษ ความถี่ตอบสนองได้ดีที่ความถี่ปานกลางขึ้นไป
และทิศทางการรับ รอบทิศทาง
3.
ไมค์คริสตอล ( Crystal microphone )
มีโครงสร้างประกอบด้วย ดังนี้
- Diaphragm รับเสียง
- แร่ Crystal กำเนิดไฟฟ้า
- แผ่น Back plate รองรับปรกบด้านหลัง
- สายต่อนำกระแสไฟฟ้าสัญญาณเสียง
ไมโครโฟนชนิดนี้มีแร่คริสตอลเป็นตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้า
โดยจะรับแรงสั่นจากคลื่นอากาศของเสียงทางไดอะแฟรม ไฟฟ้าที่ได้แรงดันสูงกว่า
ไมโครโฟนชนิดอื่นๆ จึงมีค่าอิมพิแดนซ์สูงถึง 10 กิโลโอห์ม เป็นชนิดที่นิยมใช้กับ
เครื่องขยายเสียง รุ่นหลอด เมื่อยังไม่มีการออกแบบพิเศษความตอบสนองได้ดีที่ความถี่เสียงกลาง
ปัจจุบันไม่ปรากฎเห็น ในการใช้งานทั่วไป
4.
ไมค์คาร์บอน ( Carbon Microphone )
ไมค์คาร์บอน เป็นไมโครโฟนสมัยแรกแห่งวงการเครื่องเสียง
อาศัยหลักการความต้านทานของคาร์บอนเปลี่ยนค่าได้ คือ
เมื่อคาร์บอนมีความหนาแน่นมากจะมีความต้านทานน้อย ทำให้กระแสไหลมาก
และถ้าความหนาแน่นน้อย จะเกิดความต้านทานมาก ทำให้กระแสไหลน้อย
เมื่อนำมายึดติดกับไดอะแฟรม จะทำให้เกิดการสั่นไหวเมื่อมีคลื่นอากาศเสียง ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามคลื่นเสียง
ถ้ามีการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป จะทำให้ได้สัญญาณเสียงออกมา
เป็นกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามความต้านทาน คุณภาพเสียงที่ได้จะอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ
ปัจจุบันไม่พบเห็นในการใช้งาน
5.
ไมค์เซอร์รามิค ( Ceramic Microphone )
ปัจจุบันไม่พบเห็นใช้งานแล้ว
มีลักษณะเหมือนกับคาร์บอนแต่วัสดุที่ใช้ต่างกัน คือ โครงสร้างประกอบด้วย ดังนี้
- Diaphragm รับเสียง
- Ceramic กำเนิดไฟฟ้า
- แผ่น Back plate รองรับประกบด้านหลัง
- สายต่อนำกระแสไฟฟ้าสัญญาณเสียง
ที่มา : http://www.audiocity2u.com/Knowledge-ความรู้ทั่วไป-ด้านเครื่องเสียง/ไมโครโฟน-Microphone.html
ความคิดเห็น