พื้นที่อันตราย
(hazardous area) หมายถึง
สถานที่หรือบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดการลุกไหม้ หรือจุดระเบิด
อันเนื่องมาจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้แก่บริเวณที่มีไอระเหย
แก๊ส ฝุ่นละอองจำนวนมาก ๆ หรือเส้นใยที่ติดไฟได้อาทิเช่น
คลังน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น
องค์ประกอบ ที่ทำให้เกิด การระเบิดหรือประกายไฟ คืออุณหภูมิ ความร้อนรวมถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสถานที่อันตรายต่าง ๆ ที่ง่ายต่อการ ลุกไหม้ดังกล่าว จะต้องใช้อุปกรณ์และระบบการติดตั้งที่ีเหมาะสมจึงจะสามารถป้อง กันอุบัติภัยต่าง ๆ ได้ ตามมาตรฐานของ National Electric Code ได้นิยามไว้ดังนี้
องค์ประกอบ ที่ทำให้เกิด การระเบิดหรือประกายไฟ คืออุณหภูมิ ความร้อนรวมถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสถานที่อันตรายต่าง ๆ ที่ง่ายต่อการ ลุกไหม้ดังกล่าว จะต้องใช้อุปกรณ์และระบบการติดตั้งที่ีเหมาะสมจึงจะสามารถป้อง กันอุบัติภัยต่าง ๆ ได้ ตามมาตรฐานของ National Electric Code ได้นิยามไว้ดังนี้
Explosion – proof หมายถึงการป้องกันการจุดระเบิดในสภาวะที่เกิดการแตกตัวของแก๊สหรือการระเหย เป็นไอหรือผลกระทบ ของอุณหภูมิที่เกิดจากภายนอกและสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
Dust – ignition – proof หมายถึง การป้องกันในสภาวะที่ฝุ่นละอองมีจำนวนมากการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันจะช่วยไม่ ให้เกิดการอาร์กหรือประกายไฟ อันเป็นสาเหตุของการระเบิด
ตามมาตรฐาน NEC (National Electrical code) ได้แบ่งสถานที่อันตรายออกเป็น 3 ประเภทคือ
สถานที่อันตรายประเภทที่ 1 หมายถึง บริเวณที่มีแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟอยู่ตลอดเวลา
และควรหลีกเลี่ยงการติด ตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
สถานที่อันตรายประเภทที่ 2 หมายถึง บริเวณที่มีฝุ่นละอองชิ้นเล็กๆ ซึ่งสามารถลุกติดไฟได้ง่าย
สถานที่อันตรายประเภทที่ 3 หมายถึง บริเวณที่มีเส้นใยหรือปุยนุ่นปะปนอยู่ทั่วไป
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดลองมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด ประกายไฟ หรือมีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง
ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟในบ้าน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประกายไฟเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในสภาวะบรรยากาศปกติ จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ในสภาวะที่มีไอระเหยที่ติดไฟได้อยู่ ประกายไฟอาจจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะถูกนำไปติดตั้งใช้ในโรงงานเคมีหรือโรงงานถลุงแร่จะต้องถูกออกแบบมาให้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืออะไรก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟอันจะทำให้ไอระเหยติดไฟได้ที่อาจจะปรากฏในบริเวณนั้นเกิดการระเบิดขึ้นได้
มีแนวทางแก้ปัญหาในการติดตั้งทางไฟฟ้าเหล่านี้มากมาย แต่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะด้วยการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าออกนอกบริเวณอันตราย หรือการลดความอันตรายของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการใช้ระบบระบายอากาศ Intrinsic safety คือเทคนิกในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดระดับกำลังของไฟฟ้าและมีพลังงานสะสมต่ำ อันจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิดต่ำลง การปิดคลุมอุปกรณ์สามารถอัดอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในระบบแล้วปิดตาย ซึ่งอุปกรณ์จะถูกตัดออกจากระบบเมื่อระบบจ่ายอากาศไม่ทำงาน
ความคิดเห็น