เครื่องทำความร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ (Water Heater Using Waste heat From A/C)
การใช้น้ำร้อนเริ่มแพร่หลายและมีความจำเป็นสำหรับภาคอุตสาหกรรมภาคธุรกิจ
อาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ตลอดจนภาคที่อยู่อาศัย
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำร้อนค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้พลังงานอื่น
ๆ เพราะต้องใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ อาทิ ก๊าซ น้ำมัน ถ่ายหิน ไอน้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น
ตามชนิดหรือประเภทของเครื่องทำน้ำร้อนนั้น ๆ
สำหรับทำความร้อนให้แก่น้ำจนมีอุณหภูมิได้ตามความต้องการ
ปัจจุบันเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ไฟฟ้า (Electric
Water Heater) เป็นที่นิยมใช้มาก เนื่องจากสะดวก ติดตั้งง่าย
ราคาถูก แต่มีการใช้กำลังไฟฟ้าสูง มีทั้งชนิดน้ำผ่านร้อนและชนิดมีถุงเก็บน้ำร้อน
เป็นเหตุให้ค่าใช้จ่ายในการทำน้ำร้อนสูงนั้นก็คือต้นทุนสูงขึ้นนั่นเองอีกทั้งยังสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะหมดลงและมีผลกระทบต่อสภาพ
สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยเหตุผลนี้เอง
การศึกษาค้นคว้าในการหาแหล่งพลังงานที่จะใช้สำหรับผลิต น้ำร้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ (Waste Heater Using Waste Heat From A/X)
ลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบ
ลักษณะของเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
ลักษณะของเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศชนิดน้ำผ่านร้อน
2. เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศชนิดมีถุงเก็บน้ำร้อน
ลักษณะการทำงาน
เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศเครื่องทำน้ำร้อนชนิดนี้จะทำงานร่วมกับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศขนาดทำความเย็นตั้งแต่ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled Condenser) แบบวัฏจักรอัดไอที่มีคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์อัดไอสารทำความเย็นโดยสารทำความเย็นจะนำความร้อนจากห้องที่ต้องการทำความเย็นและความร้อนจากการทำงานของระบบ ที่ไประบายทิ้งที่ชุดความแน่น (Condenser) ดังนั้นความร้อนที่ระบายทิ้งที่ชุดความแน่นนี้เอง จะติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ที่มีการระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยนำน้ำที่ต้องการทำความร้อนผ่านเข้าไประบายและแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ น้ำที่ผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบและประสิทธิภาพ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเองการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ (Waste Heat Recovery) จากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศจะได้น้ำร้อนโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานแต่อย่างใด
2. เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศชนิดมีถุงเก็บน้ำร้อน
ลักษณะการทำงาน
เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศเครื่องทำน้ำร้อนชนิดนี้จะทำงานร่วมกับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศขนาดทำความเย็นตั้งแต่ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled Condenser) แบบวัฏจักรอัดไอที่มีคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์อัดไอสารทำความเย็นโดยสารทำความเย็นจะนำความร้อนจากห้องที่ต้องการทำความเย็นและความร้อนจากการทำงานของระบบ ที่ไประบายทิ้งที่ชุดความแน่น (Condenser) ดังนั้นความร้อนที่ระบายทิ้งที่ชุดความแน่นนี้เอง จะติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ที่มีการระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยนำน้ำที่ต้องการทำความร้อนผ่านเข้าไประบายและแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ น้ำที่ผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบและประสิทธิภาพ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเองการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ (Waste Heat Recovery) จากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศจะได้น้ำร้อนโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานแต่อย่างใด
ในขณะเดียวกันการติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ที่มีการระบายความร้อนด้วยน้ำจะทำให้ระบบมีการระบายความร้อนได้ดี
มีประสิทธิภาพของเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศดีขึ้น เนื่องจากเป็นการลดความดันที่ชุดควบแน่นลง
ทำให้ลดภาระของคอมเพรสเซอร์ลง
เป็นการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศได้อีกประมาณ 5-10 %
ภาพแสดงระบบเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้ง
จากเครื่องทำความเย็นหรือปรับอากาศชนิดน้ำผ่านร้อน
ภาพแสดงระบบเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้ง
จากเครื่องทำความเย็นหรือปรับอากาศชนิดมีถังเก็บร้อน
จากเครื่องทำความเย็นหรือปรับอากาศชนิดมีถังเก็บร้อน
ประสิทธิภาพและคุณสมบัติพิเศษ
1. เครื่อง
ทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่ติตดั้งระบบเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ
สามารถให้ความเย็นได้เต็มประสิทธิภาพเป็นปกติ
ดังเช่นเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับทั่วไป หรือมากกว่า
เนื่องจากน้ำจะช่วยระบาย ความร้อนให้กับสารทำความเย็นได้ดีกว่าอากาศในขณะอากาศร้อน
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำร้อนสำหรับอุปโภค-บริโภคที่อุณหภูมิต่าง ๆ ตั้งแต่ 40-80 องศาเซลเซียสเนื่องจากได้น้ำร้อนฟรี
3. ลดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศลงกว่าปกติประมาณ 5-10 % ในขณะที่ความเพรสเซอร์ทำงานอยู่และจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยกว่าปกติ เนื่องจากการะบายความร้อนจากน้ำที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียส จะคล้ายกับการทำงานของเครื่องปรับอากาศในฤดูหนาว หรืออุณหภูมิภายนอกต่ำ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยลง ซึ่งจะประหยัดค่ากระแสไฟฟ้าอีก 30-40 % เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่ว ๆ ไป
4. การลงทุนด้วยระบบนี้ใกล้เคียงกับการลงทุนระบบทำน้ำร้อนแบบอื่น ๆ แต่สามารถประหยัดพลังงานเพราะใช้พลังงานที่เคยปล่อยทิ้งกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเท่ากับเป้ฯการลดค่าใช้จ่ายการทำน้ำร้อนลง 100 %
5. ง่ายต่อการบำรุงรักษา ตรวจเช็ค และมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่สามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษาพร้อมกับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ
6. ระบบเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ ไม่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าซ๊อต หรือรั่ว ลัดวงจร จึงไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้น้ำร้อน
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำร้อนสำหรับอุปโภค-บริโภคที่อุณหภูมิต่าง ๆ ตั้งแต่ 40-80 องศาเซลเซียสเนื่องจากได้น้ำร้อนฟรี
3. ลดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศลงกว่าปกติประมาณ 5-10 % ในขณะที่ความเพรสเซอร์ทำงานอยู่และจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยกว่าปกติ เนื่องจากการะบายความร้อนจากน้ำที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียส จะคล้ายกับการทำงานของเครื่องปรับอากาศในฤดูหนาว หรืออุณหภูมิภายนอกต่ำ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยลง ซึ่งจะประหยัดค่ากระแสไฟฟ้าอีก 30-40 % เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่ว ๆ ไป
4. การลงทุนด้วยระบบนี้ใกล้เคียงกับการลงทุนระบบทำน้ำร้อนแบบอื่น ๆ แต่สามารถประหยัดพลังงานเพราะใช้พลังงานที่เคยปล่อยทิ้งกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเท่ากับเป้ฯการลดค่าใช้จ่ายการทำน้ำร้อนลง 100 %
5. ง่ายต่อการบำรุงรักษา ตรวจเช็ค และมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่สามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษาพร้อมกับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ
6. ระบบเครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ ไม่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าซ๊อต หรือรั่ว ลัดวงจร จึงไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้น้ำร้อน
7. ลดการใช้พลังงาน
ลดากรใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดมลภาวะที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
สรุป
เนื่องจากระบบน้ำร้อนประเภทนี้
ต้องทำงานร่วมกับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศการพิจารณาเลือกใช้จะต้องมีการใช้งานเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศรวมทั้งมีความจำเป็นจะต้องใช้น้ำร้อนด้วยจึงจะให้ผลการประหยัดพลังงานและใช้ระยะเวลาคุ้มทุนน้อย
แขนงธุรกิจที่เหมาะสมกับการระบบน้ำร้อนมีดังนี้
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม
รีสอร์
- ภัตตาคาร เบเกอรี ฟาสต์ฟูด (เพื่อล้าง ภาชนะ)
- อุตสาหกรรมอาหาร
- ร้านเสริมความงามทั่วไป
- ที่พักอาศัยที่ใช้เครื่องปรับอากาศและใช้น้ำร้อน
- ฯลฯ
ที่มา : http://www2.dede.go.th/bhrd/old/dataenergy/DocEnergy/energy%20saving%20technogy14.htm
ความคิดเห็น