ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

R - L - C ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

โหลดทางไฟฟ้าจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. โหลดที่เป็นความต้านทาน ( R )
2. โหลดที่เป็นตัวเหนี่ยวนำหรือขดลวด  ( L )
3. โหลดที่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า ( C )

ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ โหลดทั้ง 3 ชนิดจะแสดงผลกับวงจร ไม่เหมือนในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ที่จะมีเฉพาะโหลดที่เป็นความต้านทานเท่านั้นที่จะมีผลต่อวงจร เพราะหากเรานำโหลดที่เป็นขดลวดไปต่อในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะเหมือนเรานำสายไฟธรรมดาไปต่อวงจรนั่นเอง และหากเรานำโหลดที่เป็นตัวเก็บประจุไปต่อในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ก็จะเหมือนเราไม่ได้ต่ออะไรอยู่ในวงจรเลย

ตัวอย่างภาพวงจรด้านบน หากเราเปลี่ยนแหล่งจ่ายเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) 

    จากวงจรด้านบน เมื่อเราจ่ายแรงดันเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ เปรียบเสมือนวงจรขาดนั่นเอง ในวงจรนี้จะไม่มีกระแสไหล


            จากวงจรด้านบน เมื่อเราจ่ายแรงดันเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง จะเกิดวงจรช๊อตที่ตัวเหนี่ยวนำ เนื่องจากในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ตัวเหนี่ยวนำจะมีค่าความต้านทานเป็นศูนย์นั่นเอง

           สรุปหากมีการนำค่าตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุไปต่อในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงจะทำให้มีผล คือ ตัวเหนี่ยวนำจะมีค่าความต้านทานเป็นศูนย์ (วงจรปิด) และตัวเก็บประจุจะมีความต้านทานเป็นอนันต์ (วงจรเปิด) จะเหลือเฉพาะความต้านทานไฟฟ้าเท่านั้นที่มีผลต่อวงจร
           ดังนั้นในวงจรที่จ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับวงจร หรือวงจรไฟฟ้ากระแสตรง หากเรานำตัวเก็บประจุไปต่อในวงจรจะทำให้วงจรนั้นขาดไม่มีกระแสไหล หากเรานำตัวเหนี่ยวนำไปต่อในวงจรจะทำให้วงจรนั้นช๊อต เสมือนเรานำสายไฟไปต่อนั่นเอง
          ผลต่อวงจร การต่อตัวเหนี่ยวนำในวงจรขนาน จะทำให้วงจรช๊อต
                        การต่อตัวเก็บประจุในวงจรขนาน จะเหมือนไม่ได้ต่ออะไรเลย
                        การต่อตัวเหนี่ยวนำในวงจรอนุกรม จะเหมือนต่อสายไฟ กระแสผ่านไปได้
                        การต่อตัวเก็บประจุในวงจรอนุกรม จะทำให้วงจรขาดไม่มีกระแสไหล
ตัวอย่างวงจร 


                จากวงจรด้านบน เป็นวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะมีผลทำให้ตัวเหนี่ยวนำช๊อต ตัวเก็บประจุจะเปิดวงจร ทำให้ได้วงจรใหม่ตามภาพด้านล่าง

 จะเหลือเพียงความต้านทาน 1 ตัวต่ออยู่ในวงจร



ความคิดเห็น