ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การประยุกต์ใช้กฎของโอห์มร่วมกับกำลังไฟฟ้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
          
          กฎของโอห์มเป็นความสัมพันธ์ของ
                 E คือ แรงดันไฟฟ้า
                 I คือ กระแสไฟฟ้า
                R คือ ความต้านทานไฟฟ้า
          กำลังไฟฟ้าเป็นความสัมพันธ์ของ
                  P คือ กำลังไฟฟ้า
                 E คือ แรงดันไฟฟ้า
                 I คือ กระแสไฟฟ้า
             จะเห็นว่ามีค่าที่สัมพันธ์กันอยู่ 2 ค่า คือ E และ I  ซึ่งเราสามารถที่จะประยุกต์นำกฎของโอห์ม และกำลังไฟฟ้ามาประยุกต์รวม โดยการแทนค่าสิ่งที่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นสูตรใหม่ขึ้นมา โดยเมื่อรวมกันแล้วจะได้ตัวแปร 4 ตัว คือ
                E คือ แรงดันไฟฟ้า
                 I คือ กระแสไฟฟ้า
                R คือ ความต้านทานไฟฟ้า
                P คือ กำลังไฟฟ้า
             จากกฎของโอห์มเราสามารถเขียนสูตรได้ 3 สูตร  คือ
                                                 I = E / R
                                    E = IR
                                    R = E / I
             จากกฎของกำลังไฟฟ้าเราสามารถเขียนสูตรได้ 3 สูตร  คือ
                                           P = EI
                                E = P / I
                                     I = P / E


      เราสามารถเขียนให้สูตรทั้ง 6 อยู่ในวงกลมความสัมพันธ์ของกฎทั้งสองได้ดังนี้


  จากกฎกำลัง          P = EI
  จากกฎของโอห์ม     E = IR
  หากเรานำ ค่าของ IR จากกฎของโอห์ม ซึ่งมีค่าเท่ากับ E  ไปแทนค่า E  ในกฎกำลัง  จะได้
                          P = IRI
                             = I2R   
   \ จะได้สูตรกำลังอีกสูตรว่า    P = I2R   
         จากสูตรกำลังใหม่ ย้ายข้างหาความต้านทานไฟฟ้า จะได้
                           R  = P  /  I2   
                                ย้ายข้างหากระแสไฟฟ้า จะได้
                           I2  = P  /  R    
                                    I  = ÖP / R

  จากกฎกำลัง          P = EI
  จากกฎของโอห์ม     I = E / R
  หากเรานำ ค่าของ E / R  จากกฎของโอห์ม ซึ่งมีค่าเท่ากับ I ไปแทนค่า I  ในกฎกำลัง  จะได้
                          P = E x E / R
                             = E2 / R   
   \ จะได้สูตรกำลังอีกสูตรว่า    P = E2 / R   
         จากสูตรกำลังใหม่ ย้ายข้างหาความต้านทานไฟฟ้า จะได้
                                         R  = E2 / P
                                ย้ายข้างหาแรงดันไฟฟ้า จะได้
                                        E2  =  P R
                                         E  = Ö P R


นำสูตรที่ได้อีกทั้งหมด 6 สูตร เขียนใส่รวมลงในวงกลมความสัมพันธ์ของกฎทั้งสองได้ดังนี้



                จากความสัมพันธ์ของกฎของโอห์ม และกำลังไฟฟ้า เราก็จะได้สูตรรวมทั้งหมด 12 สูตร ตามวงกลมความสัมพันธ์กฎของโอห์ม และกำลังไฟฟ้า ดังภาพด้านบน ซึ่งเราจะสามารถใช้ในการหาค่าต่าง ๆ ทั้ง 4 ค่า  โดยหากเราทราบค่าตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งเพียง 2 ตัว ก็จะสามารถหาค่าตัวแปรที่เหลืออีก 2 ตัวได้ตามสูตรทันที


ตัวอย่างที่ 1  จากวงจรไฟฟ้าด้านล่างจงหากำลังไฟฟ้าของวงจร


วิธีทำ กรณีเราทำตามลำดับขั้น โดยการใช้กฎของโอห์ม และกำลังไฟฟ้า
ลำดับแรก เราต้องหาค่ากระแสไฟฟ้าก่อน โดยใช้กฎของโอห์ม
จะได้     I = E / R
             = 10 ÷ 100
             = 0.1 A
ลำดับถัดไป เราจึงหากำลังไฟฟ้าโดยใช้กฎของกำลัง
จะได้    P = EI
             = 10 x 0.1
             = 1 W

          จะเห็นว่าเราต้องทำถึง 2 ขั้นตอนจึงจะได้คำตอบ
หากเรานำความสัมพันธ์ของกฎทั้งสองมาใช้ จะได้คำตอบภายในขั้นตอนเดียว
จะได้  P = E2 / R
           = 102 ÷ 100
           = 100 ÷ 100
           =  1  W


ตัวอย่างที่ 2  จากวงจรไฟฟ้าด้านล่างจงหากำลังไฟฟ้าของวงจร


วิธีทำ กรณีเราทำตามลำดับขั้น โดยการใช้กฎของโอห์ม และกำลังไฟฟ้า
ลำดับแรก เราต้องหาค่าแรงดันไฟฟ้าก่อน โดยใช้กฎของโอห์ม
จะได้     E = IR
             = 2 x 100
             = 200 V
ลำดับถัดไป เราจึงหากำลังไฟฟ้าโดยใช้กฎของกำลัง
จะได้    P = EI
             = 200 x 2
             = 400 W

            จะเห็นว่าเราต้องทำถึง 2 ขั้นตอนจึงจะได้คำตอบ
หากเรานำความสัมพันธ์ของกฎทั้งสองมาใช้ จะได้คำตอบภายในขั้นตอนเดียว
จะได้  P = I2R
           = 22 x 100
           = 4 x 100
           =  400  W


ความคิดเห็น