วงจรความต้านทานแบบบริดจ์ หมายถึงกลุ่มของความต้านทานจำนวน 5 ตัวที่ต่อกันอยู่ในลักษณะ นำความต้านทาน 2 ตัวต่ออนุกรมกัน 2 ชุด แล้วนำมาต่อขนานกัน จากนั้นนำความต้านทานตัวที่ 5 (ความต้านทานบริดจ์) มาต่อเชื่อมระหว่างกลางความต้านทานทั้ง 2 ชุด ดังภาพด้านล่าง
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะวงจรบริดจ์
วงจรบริดจ์
แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. วงจรบริดจ์สมดุล
2. วงจรบริดจ์ไม่สมดุล
ความต้านทานตัวที่
5 อาจจะไม่มีผลต่อวงจร หมายถึงสามารถถอดออกได้โดยไม่มีผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของวงจร
เมื่อที่จุด A และ B มีแรงดันเท่ากันก็จะไม่มีกระแสไหลผ่านความต้านทานตัวที่
5 จึงเปรียบเสมือนในวงจรมีความต้านทานต่อกันเพียง 4 ตัว คือ R1
, R2 , R3 และ
R4 เท่านั้น ลักษณะนี้เราเรียกว่า วงจรบริดจ์สมดุล
วงจรบริดจ์จะสมดุลได้ก็ต่อเมื่อ
แต่ถ้าที่จุด
A และ B มีแรงดันไม่เท่ากันก็จะมีกระแสไหลผ่านความต้านทานตัวที่
5 ความต้านทานที่ต่อเข้าด้วยกันทั้ง 5 ตัว จะมีผลกับวงจร ลักษณะนี้เราเรียกว่า วงจรบริดจ์ไม่สมดุลวงจรบริดจ์ไม่สมดุลจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ
ตัวอย่างจากภาพวงจรด้านบน
เรานำค่าไปแทนในสูตรของวงจรบริดจ์ จะได้
0.5 = 0.5
ค่าที่ได้ทั้งสองด้านมีค่าเท่ากัน แสดงว่าวงจรนี้เป็นวงจรบริดจ์สมดุล
ดังนั้นเราสามารถถอด R5 ออกจากวงจรได้โดยไม่มีผลกับวงจรนั่นเอง จะทำให้ได้วงจรใหม่ดังภาพด้านล่าง
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะวงจรบริดจ์สมดุลที่สามารถตัดความต้านทานบริดจ์ออกได้
ซึ่งเมื่อเรา ถอด R5 ออกจากวงจร จะทำให้เรามองเห็นภาพของวงจร
มีการต่อในลักษณะอนุกรมและขนานได้ ทำให้สามารถหาค่าความต้านทานรวมของวงจรได้
จากภาพ เราสามารถหาความต้านทานรวมได้
ดังนี้
Rt = (R1
+ R2) // (R3 + R4)
= (10 + 20) // (30 + 60)
= (30) // (90)
= (30 x 90) / (30 + 90)
= 2700 / 120
= 22.5 W
เปรียบเทียบความต้านทานโดยเราไม่ถอด R5 ออกจากวงจร แต่ใช้วิธีการเปลี่ยนความต้านทานจากแบบ เดลต้า เป็น สตาร์ แทน
จากวงจรบริดจ์ ด้านบน เปลี่ยนความต้านทาน R1 , R3 , R5 จาก วงจรเดลต้า เป็นสตาร์ จะได้วงจรใหม่ ดังนี้
RA = (10 x 30) / 80 = 300 / 80 = 3.75 W
RB = (10 x 40) / 80 = 400 / 80 = 5 W
RC = (40 x 30) / 80 = 1,200 / 80 = 15 W
จากภาพ เราสามารถหาความต้านทานรวมได้ ดังนี้
จึงแสดงว่าหากวงจรเป็นบริดจ์สมดุล เราสามารถถอด R5 ออกจากวงจร โดยไม่มีผลต่อคุณสมบัติของวงจรนั่นเอง
เมื่อเราหาความต้านทานรวมของวงจรได้
เราก็จะสามารถหาคุณสมบัติอื่นๆ ของวงจรได้ทั้งหมดเปรียบเทียบความต้านทานโดยเราไม่ถอด R5 ออกจากวงจร แต่ใช้วิธีการเปลี่ยนความต้านทานจากแบบ เดลต้า เป็น สตาร์ แทน
จากวงจรบริดจ์ ด้านบน เปลี่ยนความต้านทาน R1 , R3 , R5 จาก วงจรเดลต้า เป็นสตาร์ จะได้วงจรใหม่ ดังนี้
RA = (10 x 30) / 80 = 300 / 80 = 3.75 W
RB = (10 x 40) / 80 = 400 / 80 = 5 W
RC = (40 x 30) / 80 = 1,200 / 80 = 15 W
ภาพที่ 3 แสดงวงจรบริดจ์ที่แปลงความต้านทานชุดเดลต้า 3 ตัวบน เป็นสตาร์
Rt = RA + ((RB + R2) // (RC + R4))
= 3.75 + ((5 + 20) // (15 + 60))
= 3.75 + ((25) // (75))
= 3.75 + ((25 x 75) / (25 + 75))
= 3.75 + ( 1,875 / 100 )
= 3.75 + 18.75
= 3.75 + 18.75
= 22.5 W
จะเห็นว่าผลของความต้านทานรวมของวงจร เมื่อตัด R5 ออกจากวงจร และ ความต้านทานรวมของวงจร เมื่อเปลี่ยนความต้านทาน R1 , R3 , R5 จากวงจรเดลต้า เป็นสตาร์ จะมีคำตอบเท่ากัน จึงแสดงว่าหากวงจรเป็นบริดจ์สมดุล เราสามารถถอด R5 ออกจากวงจร โดยไม่มีผลต่อคุณสมบัติของวงจรนั่นเอง
แต่หากวงจรเป็นวงจรบริดจ์ไม่สมดุล
เราก็จะไม่สามารถหาค่าความต้านทานรวมของวงจรได้ ดังตัวอย่าง
ภาพที่ 4 แสดงวงจรบริดจ์แบบไม่สมดุล
จากภาพวงจรด้านบน
เรานำค่าความต้านทานแทนค่าลงในสูตรของวงจรบริดจ์ จะได้
ผลลัพธ์ ค่าทั้งสองด้านไม่เท่ากัน
แสดงว่าวงจรเป็นวงจรบริดจ์ไม่สมดุล แสดงว่าที่จุด
A และ B มีค่าแรงดันไม่เท่ากัน
ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทาน R5 เราจึงไม่สามารถถอดความต้านทาน R5 ออกจากวงจรได้ เพราะจะทำให้คุณสมบัติของวงจรเปลี่ยนไป
ทำให้เราไม่สามารถหาความต้านทานรวมได้ เนื่องจากวงจรไม่มีลักษณะเป็นอนุกรม
หรือขนาน นั่นเอง
หากวงจรอยู่ในลักษณะบริดจ์ไม่สมดุล
เราจะสามารถหาค่าความต้านทานรวมได้
โดยใช้การแปลงค่าความต้านทานจากแบบสตาร์เป็นเดลต้า หรือแบบเดลต้าเป็นสตาร์ก่อน
จึงจะสามารถหาค่าความต้านทานรวมได้
ความคิดเห็น