ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้โปรแกรม CADe SIMU

                โปรแกรม CADe SIMU เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจำลองการทำงานของการควบคุมมอเตอร์ โดยการใช้โปรแกรมสามารถทำได้  ดังนี้ 

               1. ดาวน์โหลดโปรแกรม  และแตกไฟล์ 

                  โดยคลิ๊กขวาเม้าท์ บนไฟล์ที่โหลดมา และเลือก WinRAR และ แตกไฟล์ที่นี่


               - หากไฟล์ที่โหลดมา Icon ไม่เป็นรูปเข็มขัดรัดหนังสือ 3 เล่ม แสดงว่าคอมพิวเตอร์ของท่านยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมไว้ ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Winrar หรือ Winzip มาติดตั้งก่อนจะแตกไฟล์ออกมาใช้ได้
                 ดาวน์โหลดไฟล์ Winrar 
              

               2. จะได้ไฟล์เดอร์ CADe_SIMU ให้เข้าไปในโฟลเดอร์ที่ได้มา

             3. ให้เรียกใช้โปรแกรมได้เลยที่ ไฟล์โปรแกรม  CADe_SIMU 


             4. หากโปรแกรมเรียกหา Password ให้พิมพ์ 4962 เพื่อเปิดโปรแกรม 


            5. เรียกใช้สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้งาน ดังนี้

                5.1 แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า เลือก Power Feedings บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือกไอค่อนรูปแบบต่างๆ ของแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า บนไอค่อนแถวที่ 3


               5.2 ฟิวส์ป้องกันแบบต่างๆ  เลือก Fuse, Disconnect บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือกไอค่อนรูปแบบต่างๆ ของฟิวส์ บนไอค่อนแถวที่ 3


           5.3 แมกเนติกคอนแทคเตอร์  เลือก Contectors, Switches บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก แมกเนติกคอนแทคเตอร์ 3 ขั้ว บนไอค่อนแถวที่ 3


        5.4 โอเวอร์โหลด เลือก Automatic, Magnetothomic บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก Thermal Relay บนไอค่อนแถวที่ 3


       5.5 มอเตอร์ เลือก Motors บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก มอเตอร์ชนิดต่างๆ บนไอค่อนแถวที่ 3



       5.6 คอนแทคของโอเวอร์โหลด  เลือก Drive button บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก NO-NC Auxiliary heat relay บนไอค่อนแถวที่ 3 แบบ 4 ขั้ว หรือ  COM Auxiliary heat relay แบบ 3 ขั้ว ตามต้องการ


      5.7 สวิตซ์ปุ่มกด  เลือก Drive button บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก NO-NC Auxiliary heat relay บนไอค่อนแถวที่ 3 แบบ 4 ขั้ว หรือ  COM Auxiliary heat relay แบบ 3 ขั้ว ตามต้องการ


       5.8 คอยล์รีเลย์ เลือก Coils and Signals บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก รีเลย์แบบต่างๆ  บนไอค่อนแถวที่ 3  ตามต้องการ


     
      5.9 หลอดสัญญาณ เลือก Coils and Signals บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือกหลอดสัญญาณ  บนไอค่อนแถวที่ 3 


            การต่อสายวงจร

            เมื่อเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้ได้แล้ว ให้นำมาจัดเรียงตามลำดับ จากนั้นจึงต่อวงจรให้ครบวงจร  ดังนี้

        1. การต่อสายในวงจรกำลัง จะเป็นระบบ 3 เฟส ให้เลือก Cables and Connections บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือกลักษณะการต่อสายรูปแบบต่างๆ  บนไอค่อนแถวที่ 3 จากนั้นนำมาคลิ๊กที่จุดเริ่มต้นการต่อค้างไว้และลากไปถึงจุดต่อที่ต้องการแล้วปล่อย และทำแบบเดิมไปจนครบวงจร



        2. การต่อสายในวงจรควบคุม จะเป็นระบบ 1 เฟส ให้เลือก Cables and Connections บนไอค่อนแถวที่ 2 และเลือก phase wire  หรือ Neutral wire
              โดย   phase wire จะลากต่อวงจร ตั้งแต่สาย Line ไปจนถึงอุปกรณ์ตัวสุดท้ายของวงจรทุกแถว
                       Neutral wire จะลากต่อวงจรที่ออกจากอุปกรณ์ตัวสุดท้าย มาเชื่อมต่อที่สาย Neutral



             การทดสอบวงจร

            เมื่อต่อวงจรเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ที่เป็นตัวเดียวกันที่ต่ออยู่ตามส่วนต่างๆ ของวงจร ให้มีชื่อเดียวกัน เพื่อวงจรจะได้รู้ว่าตัวใดเป็นอุปกรณ์ของตัวเดียวกัน

            จากนั้นให้ทำการทดสอบการทำงานของวงจรว่าใช้งานได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของการออกแบบในการควบคุมหรือไม่  ดังนี้


            วิธีบันทึกไฟล์
                   - คลิ๊กเลือก File และ Save หรือ Save as 
                   - ในหน้าต่างที่บันทึก ช่อง File name ให้ใส่ชื่อไฟล์ และตามด้วย .cad  ( ไฟล์ที่เราบันทึกครั้งแรกจะไม่มีนามสกุล ก่อนบันทึกอย่าลืม ใส่จุด และตามด้วย cad ) 
                   - การเรียกใช้ครั้งต่อไป ให้คลิ๊กเปิด ( Open ) และเลือกไฟล์ที่เราบันทึกเก็บไว้ ทำงานต่อได้

           วิธีพิมพ์งานจากไฟล์
                   - คลิ๊กเลือก File และ Print
                   - 
  

ความคิดเห็น