ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรความต้านทานสตาร์-เดลต้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
                
              การต่อความต้านทานแบบสตาร์-เดลต้า หมายถึงกลุ่มของความต้านทานจำนวน 3 ตัวที่ต่อกันอยู่ในลักษณะรูปแบบสตาร์ และแบบเดลต้า ซึ่งทำให้มองภาพของวงจรไม่อยู่ในลักษณะของวงจรอนุกรม หรือขนาน จึงทำให้ไม่สามารถรวมค่าความต้านทานได้ จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนวงจรที่อยู่ในลักษณะสตาร์ให้เป็นเดลต้า หรือเปลี่ยนจากลักษณะเดลต้าให้เป็นสตาร์ ก็จะสามารถทำให้มองวงจรเป็นวงจรแบบอนุกรม หรือขนานได้ โดยที่ค่าความต้านทานที่จุดเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง ทำให้คุณสมบัติของวงจรไม่เปลี่ยนแปลงไป
              ดังนั้นเมื่อเราเปลี่ยนวงจรจากสตาร์เป็นเดลต้า หรือเปลี่ยนจากลักษณะเดลต้าให้เป็นสตาร์ จึงสามารถหาความต้านทานรวมของวงจรได้ และสามารถหาค่าอื่นๆ ของวงจรได้ต่อไป

               ลักษณะการต่อของวงจรสตาร์ และเดลต้าแสดงตามภาพด้านล่าง



ความต้านทานแบบสตาร์

ความต้านทานแบบเดลต้า 

                วงจรลักษณะสตาร์ และเดลต้า จะมีอยู่ในวงจรบริดจ์แบบไม่สมดุล ที่ประกอบด้วยความต้านทาน 5 ตัว แต่จะมีกลุ่มความต้านทาน จำนวน 3 ตัวที่ต่ออยู่ในลักษณะสตาร์ และเดลต้า ซึ่งเราสามารถที่จะแปลงความต้านทานจากสตาร์เป็นเดลต้า หรือเดลต้าเป็นสตาร์ก็ได้ ก็จะทำให้สามารถหาค่าความต้านทานรวมของวงจรได้ ดังภาพด้านล่าง
             จากวงจรด้านบน หากเราเลือกที่จะแปลงกลุ่มของวงจร Delta 1 (กลุ่มสีส้ม) ก็จะได้วงจรใหม่ตามภาพด้านล่าง
             เมื่อแปลงความต้านทานเรียบร้อยก็จะสามารถหาความต้านทานรวมของวงจรได้ ดังนี้
                   Rt = RA + ((RB + R2) // (RC + R4))
             เมื่อได้  ก็สามารถหาค่าอื่นๆ ต่อไป 


ความคิดเห็น

mr x กล่าวว่า
ขอตัวอย่างวิธีทำได้ไหมครับ