1. การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ละทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนานนำกระบวนการใหม่ที่ทันสมัยตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ เพื่อที่จะสร้างสินค้าหรือบริการที่ให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค
2. พิจารณาหลักการพื้นฐาน (Fundamental) อีกครั้ง และออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ (Business process) อีกครั้ง ชนิดที่เรียกว่า อย่างถอนรากถอนโคน (Radical redesign) เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่อย่างเห็นได้ชัด (Dramatic) มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ด้านต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว โดยรีเอ็นจิเนียริ่งจะเน้นเรื่องกระบวนการ (Process orientation) ความปรารถนาที่แรงกล้า (Ambition) การไม่ยึดติดกับกฎข้อบังคับเดิม (Rule breaking) และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
3. รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคนหรือเป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจการขึ้นมาใหม่ เพื่อฉกฉวยข้อได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี หลักการของรีเอ็นจิเนียริ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อกลยุทธ์หลักขององค์การธุรกิจนั้นทั้งในด้านการตลาด การผลิต การบริการ และ อื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งได้ข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน
จากความหมายข้างต้น การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์การ และดำเนินการทุกด้านทั้งการตลาด การผลิต การบุคลากร การบริการ และกับทุกระบบที่สามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ ดังนั้นการรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การจึงไม่ใช่การปรับปรุงเครื่องมือสมัยใหม่ (Retool) เพียงอย่างเดียวแต่จะต้องมีการคิดใหม่ (Rethink) การออกแบบใหม่(Redesign) และการปรับปรุงเครื่องมือสมัยใหม่ (Retool)
การเลือกกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่งนั้น ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 3 ประการ คือ
(1) กระบวนการใดมีปัญหาหนักมากที่สุด
(2)กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด
(3)ความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสำเร็จในการรีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้
1.ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าอยากให้ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอะไรและแบบใดในอนาคตแล้วพยายามมองหาวิธีการที่จะสร้างผลกำหรจากธุรกิจนี้ เช่น การปรับกลยุทธ์มาเน้นการผลิตและการบริการที่สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่ง่ขัน โดยเป็นองค์การที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และสามารถเพิ่มคุณค่าในสินค้าและบริการได้การปฏิบัติการไปในลักษณะใด
2.ต้องอาศัยการริเริ่มและการบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงานในบริษัท ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนต่อเนื่องกันระหว่างแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นผู้บริหารที่มีอำนาจเพียงพอเท่านั้นจึงจะสามารถดูแลตรวจสอบกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงาน
3.สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน บางครั้งการรีเอ็นจิเนียริ่งอาจไม่บรรลุผลสำเร็จ เพราะสาเหตุมาจากแรงกดดันด้านการเมืองภายในบริษัท ดังนั้นผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศให้งานต่าง ๆ มีความเร่งเวน ผลักดันงานให้มีความต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ
4.การออกแบบกระบวนการจากภายนอก ประเด็นสำคัญของการรีเอ็นจิเนียริ่งอีกประการหนึ่งก็คือกระดาษเปล่าเพียง 1 แผ่น ที่ใช้สำหรับเขียนขั้นตอนการทำงานแบบใหม่ ก่อนที่จะเริ่มปรับปรุงงานนั้นควรจะตั้งคำถามในลักษณะที่ว่าลูกค้าต้องการอะไร แทนที่จะถามคำถามในลักษณะเดิมที่ว่าเราอยากจะขายอะไร นอกจากนี้การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัทควรมีความสอดคล้องกัน โดยพนักงานในแต่ละหน่วยจะตกลงร่วมกัน แต่ไม่ได้หมายความว้าต้องพึ่งพิงกับลักษณะโครงสร้างบริษัทที่มีในปัจจุบัน กล่าวคือ จะต้องออกแบบจากมุมมองของลูกค้าก่อนแล้วจึงมาพิจารณาว่าองค์การควรจะมีการดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้นั้นจะต้องใช้การสำรวจและวิจัยหลายรูปแบบ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนักกับการศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ของงานที่มีในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ทิ้งระบบเก่าทันที เพราะระบบเก่าอาจนำมาใช้พิจารณาจุดที่สำคัญของงานได้บ้างในบางขั้นตอน
5.การดำเนินการกับที่ปรึกษา บ่อยครั้งที่พบว่าที่ปรึกษาทางธุรกิจขององค์การอาจทำอะไรที่ผิวเผินที่ปรึกษาเหล่านี้เข้ามาสำรวจ สัมภาษณ์พนักงาน แล้ววิเคราะห์ผลจากตัวเลข นำเสนอข้อคิดเห็นในสิ่งที่ค้นพบต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ คือ เริ่มตั้งแต่การออกแบบบาน การนำแผนไปปฏิบัติ และให้การฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การเพื่อถ่ายทอดหลักการเหล่านั้นให้ไปถึงระดับล่าง
6.ทำการผนวกกิจกรรมของระดับบนลงสู่ระดับล่างกับกิจกรรมของระดับล่างขั้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกันถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเน้นหนักเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งจะขัดแย้งกับแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ(Total Quality Management TQM) หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมอื่น ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ การรีเอ็นจิเนียริ่งไม่สามารถเริ่มต้นได้จากระดับล่าง เพราะอาจจะมีการขัดขวางจากกลุ่มคนหรือหน่วยงานภายในองค์การ แต่การบริหารจากระดับบนสู่ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องของระบบ TQM (ระบบงานที่มีการปรับปรุงงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องโดยให้ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีส่วนร่วม) จึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง ขณะเดียวกันวิธีการทำงานเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน
อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในองค์การก็คือ เมื่อทำการรีเอ็นจิเนียริ่งแล้วจะมีการเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงาน ซึ่งมีตัวแปรสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัฒนธรรมขององค์การ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถทำได้ โดยผู้บ่ริหารอยากจะเปลี่ยนแปลงแต่ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ประเด็นหลักจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการแบบเก่าหรือวิธีการแบบใหม่ แต่อยู่ที่ช่วงเวลาการถ่ายโอนวิธีการทำงานแบบเก่ากับแบบใหม่นั้นหมายความว่า เมื่อมีการร่างการออกแบบผังงานใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่แท้จริงมาลงมือปฏิบัติในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ การรีเอ็นจิเนียริ่งจึงจะเกิดประสิทธิภาพได้เต็มที่ กล่าวโดยสรุปก็คือการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบเก่า (ทำการปฏิวัติ) ให้เป็นแบบใหม่โดยอาศัยกำลังภายในองค์การหรือหน่วยงานเดิมที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ทั้งนี้การสร้างวิธีดำเนินงานขึ้นมาใหม่จะต้องอาศัยความสามารถในการหยั่งรู้ ตลอดจนวิจารณญาณที่ลึกซึ้งของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง
การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบเก่าให้เป็นแบบใหม่ โดยอาศัยกำลังภายในองค์การหรือหน่วยงานเดิมที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ทั้งนี้การสร้างวิธีดำเนินงานขึ้นมาใหม่จะต้องอาศัยความสามารถในการหยั่งรู้ ตลอดจนวิจารณญาณที่ลึกซึ้งของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง
การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมี 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ
ขั้นที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน
ขั้นที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของกระบวนการปัจจุบัน เพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น
ขั้นที่ 4 ออกแบบกระบวนการใหม่
ขั้นที่ 5 การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
พื้นฐานของการรีเอ็นจิเนียริ่งที่ประสบผลสำเร็จต้องมีสมรรถนะ 7 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งให้สอดคล้องกับวิธีการที่ลึกซึ้งและเป็นระบบ
2. ความร่วมมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับหน้าที่งานธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด
3. ความสามารถในการประเมิน วางแผน และนำการเปลี่ยนแปลงไปปฏิบัติในลักษณะต่อเนื่อง
4. ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งหมดจากการเปลี่ยนแปลงที่เสนอขึ้นมา
5. ความสามารถในการวางรูปแบบและจำลองการเปลี่ยนแปลงที่เสนอขึ้นมา
6. ความสามารถในการใช้รูปแบบเหล่านี้ในลักษณะต่อเนื่อง
7. ความสามารถในการรวมตัวแปรทางการบริหารทั้งหมดของบริษัทเข้าด้วยกัน
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yaovarit&month=07-2013&date=22&group=2&gblog=19#<META HTTP-EQUIV="Expiress" CONTENT=" Tue, 24 Aug 1999 22:55:00 GMT">