ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้



ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์การตั้งไว้

ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กร

วิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์การ

1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
4. การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ

การที่องค์การจะไปสู่คุณภาพนั้น จำเป็นต้องปรับองค์การ โดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธี คือ

1. การลดต้นทุน
2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

นิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้

1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. การมุ่งที่กระบวนการ
5. การศึกษาและฝึกอบรม
6. ประกันคุณภาพ
7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม

กลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอดังนี้

1. วงจร PDCA
2. ระบบ 5 ส หรือ 5 S
3. กลุ่มระบบ QQC (Quality Contrl Circle:QCC)
4. ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering)
5. ระบบ TQM (Total Quality Management)

องค์การและการจัดการองค์การ
ความหมายขององค์การ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้นิยามความหมายของ “องค์การ” ไว้ว่าองค์การเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์การบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์การบริหารธุรกิจลักษณะขององค์การ

องค์การโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ   คือ

1. องค์การทางสังคม
2. องค์การทางราชการ
3. องค์การเอกชน

โครงสร้างขององค์การ เป็นการมององค์การในลักษณะที่เต็มที่ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นระเบียบ เพื่อการจัดการและบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความสำเร็จขององค์การ

โครงสร้างขององค์การจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้ มีเป้าหมายวัตถุประสงค์ มีภาระหน้าที่ มีการแบ่งงานกันทำ มีสายการบังคับบัญชา มีช่วงการควบคุม มีความเอกภาพ

ประเภทขององค์การ 
องค์การจะมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งในด้านองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ ฉะนั้นในการแบ่งประเภทขององค์การ จึงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 



เป้าหมายขององค์การ
เป้าหมายขององค์การ เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์การ โดยคอยกำหนดแนวทางการปฏิบัติ เมื่อองค์การมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้มีความเข้าใจในการทำงาน 


1. เป้าหมายทางเศรษฐกิจหรือกำไร
2. เป้าหมายเกี่ยวกับการให้บริการ
3. เป้าหมายด้านสังคม

การจัดการองค์การ ความสำคัญของการจัดการองค์กร

องค์การเป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่เต็มความสามารถ จึงจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบหมายให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัด จึงเห็นว่าการจัดองค์การมีความจำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ดังนี้

ประโยชน์ต่อองค์การ
ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน

หลักการจัดองค์การ เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่งานของบุคคลากร และปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ขององค์การ หลักการจัดองค์การครั้งนี้จะเน้นไปที่ระบบราชการ โดยมีหลักสำคัญดังนี้

การกำหนดหน้าที่การงานการแบ่งงานสายการบังคับบัญชาอำนาจการบังคับบัญชาช่องการควบคุมแผนภูมิองค์กรสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการขัดองค์กรนักวิชาการได้กล่าวถึงหลักการจัดองค์กรไว้หลายประการ แต่โดยสรุปได้ดังนี้

1. องค์การมีเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานในการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อให้เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกองค์กรทราบ ซึ่งจะทำให้การบริหารองค์กรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
2. องค์การต้องจัดให้มีศูนย์กลางในการอำนวยการที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและอำนวยการโดยตรง
3. องค์การจะต้องระบุหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนให้ชัดเจน มีการแบ่งแยกหน้าที่ตามความเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถ
4. องค์การต้องจัดระบบการทำงานอย่างเหมาะสม มีเทคนิคในการควบคุมงาน และการประสานงานในองค์กร
5. องค์การต้องมีระบบการสื่อสารที่ดี มีหลักอำนวยการ การวินิจฉัยสั่งการที่ดี

ขั้นตอนการจัดองค์การ การจัดองค์กรมีประสิทธิภาพนั้น เออร์เนสต์ เดล ได้เสนอแนะไว้เบื้องต้น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดรายละเอียดของงาน
2. การแบ่งงานให้แต่ละคนในองค์กรได้รับผิดชอบตามความเหมาะสม
3. การประสานงาน

พฤติกรรมในองค์การ
องค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์กร 3 ระดับ คือ




ความพึงพอใจในการทำงาน เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมาก ทั้งจากนักจิตวิทยา นักวิชาการ และนักบริหารงาน ผู้ปฎิบัติที่มีความพึงพอใจในการทำงาน ย่อมปฏิบัติงานได้ประสบผลสำเร็จมากกว่าผู้ที่ไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ในการบริหารงานจำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะความพึงพอใจในการทำงาน เป็นกระบวนทางจิตวิทยาที่ไม่สามารถมองเห็นและสังเกตได้ เพียงอาศัยการคาดคะเนและสังเกตพฤติกรรมเท่านั้น

ความพึงพอใจในการทำงาน หมายถึง สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และเจตคติของบุคคลที่มีต่องานที่เขาปฏิบัติอยู่ โดยแสดงออกมาเป็นความสนใจ กระตือรือร้น เต็มใจและสนุก ร่าเริง เป็นต้น เมื่อผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ เขาก็จะมีความพยายาม อุตสาหะ มีความสุขในการทำงาน และความมุ่งมั่นจนงานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ความสำคัญของความพึงพอใจในการทำงาน ผู้บริหารงานควรให้ความสนใจต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบเป้าหมาย นโยบาย มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนและพัฒนา ได้รับการยอมรับและมีความเป็นกันเอง สิ่งเหล่านี้เป็นแนวการบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงาน จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกที่ดีและมีความพึงพอใจในการทำงาน 

องค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานการทำงานเพื่อให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงานนั้น มีองค์ประกอบมากมายที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความพึงพอใจ องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ที่มีผลต่อความพึงพอใจ มีดังต่อไปนี้

งาน คือ พนักงานมีความชอบ ความถนัด และความสนใจในงานนั้น
ค่าจ้าง คือ ค่าจ้างแรงงานในอัตราที่เหมาะสม
โอกาสที่ได้เลื่อนตำแหน่ง คือ ผู้บริหารจะต้องมีวิธีการที่ดีในการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานเพื่อความยุติธรรม
การยอมรับ คือ ทั้งผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน หากมีการยอมรับในบทบาท ย่อมทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทำงาน
สภาพการทำงาน คือ สภาพโดยทั่วไปของสถานที่ทำงาน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบ กว้างขวางโอ่โถง เป็นต้น 
สวัสดิการ คือ สิ่งที่พนักงานได้รับตอบแทนจากการปฏิบัติงาน นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก เป็นต้น
หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา คือ ลักษณะของหัวหน้างานเป็นแบบใด มีทักษะการบริหารงานมากน้อยเพียงใด รู้จักหลักจิตวิทยา หลักมนุษยสัมพันธ์  และเมื่อมีปัญหา หัวหน้าสามารถที่จะแก้ปัญหาหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานได้เพียงใด หากหัวหน้าดี ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความพึงพอใจ
เพื่อนร่วมงาน คือ หากมีเพื่อนร่วมงานที่ดีในองค์กร การทำงานไปกันได้ ย่อมส่งผลทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานมากขึ้น
องค์กรและการจัดการ คือ หากองค์กรมีวิธีการจัดการ จัดระบบการบริหารดี ย่อมสร้างความพึงพอใจในงานได้เช่นกัน ฉะนั้น การสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

วิธีการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลมี 3 วิธีการ คือ


การสำรวจเพื่อการวินิจฉัยงาน Hackman และ Oldman ได้เสนอแนะว่า การมีภาวะทางจิตวิทยาที่สำคัญและจำเป็นในการที่ทำให้บุคคลมีแรงจูงใจจะทำงานอยู่ 2 สภาวะ คือ

สถานภาพทางจิตวิทยา มีผลทำให้บุคคลมีแรงจูงใจที่จะทำงาน จะประกอบด้วย

- ประสบการณ์ด้านการมีความหมายของงาน
- ประสบการณ์ด้านความรับผิดชอบของงาน
- การรู้ผลการกระทำคุณลักษณะเฉพาะของงาน จะประกอบด้วย
- ทักษะของงาน
- ลักษณะเฉพาะของงาน
- ความสำคัญของงาน
- ความเป็นอิสระ
- ข้อมูลป้อนกลับ

งานวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงาน มีการศึกษาวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้มากมาย จากการศึกษาผลการวินิจต่าง ๆ ซึ่งสรุปและวิเคราะห์ผลการศึกษาวินิจเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

แรงจูงใจภายในของบุคคล เช่น ความทะเยอทะยาน ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น เป็นต้น

ความเป็นอิสระ และการให้การยอมรับในบทบาทหน้าที่การบังคับบัญชา และการบริหารแบบประชาธิปไตยบรรยากาศการทำงานขององค์กร และสภาพแวดล้อมการทำงาน

การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร

การรู้จักตนเองความรู้สึกนึกคิดและภาพการมองที่แตกต่างกัน ระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้น เปรียบเหมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่ส่องภาพที่เป็นความจริงของตนเอง การยอมรับคำวิจารณ์ความคิดเห็นของบุคคลอื่นอย่างมีเหตุผล ทำให้เราสามารถทำการบ้านให้กับตัวเอง และรู้จักตัวเองได้อย่างถูกต้อง เช่น เรามีจุดอ่อนที่โกรธง่าย อารมณ์ขุ่นมัว พูดจามะนาวไม่มีน้ำ ใบหน้าไม่สร้างความสัมพันธ์ พูดคำด่าคำ การแสดงเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ จำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับปรุงเปลี่ยนบุคลิกภาพใหม่ ดังนั้น 


องค์ประกอบของการเรียนรู้ตนเองการรู้จักตนเอง เป็นการพิจารณาภาพที่เป็นจริงจากกระจกเงา สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพที่แท้จริง

การรู้จักตนเองในทุกสถานการณ์ ทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ จิตใจ คำพูด การแสดงออก ได้เหมาะสม ในการสร้างความสัมพันธ์ถาวร องค์ประกอบการเรียนการปรับบุคลิกภาพเพื่อพัฒนาตนเองมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกันในสังคม จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้

การอยู่ร่วมกันต้องปรับบุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกคนก็จะอยู่อย่างมีความสุข

 การปรับบุคลิกภาพเพื่อพัฒนาตนเอง ประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้การปรับปรุงเพื่อพัฒนาตนเองมนุษย์เราเกิดมายอมรับว่ามีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีสถานการณ์ต่าง ๆ มากระทบ จึงทำให้เกิดพฤติกรรมออกมาต่าง ๆ หากพฤติกรรเป็นสิ่งไม่ดี ไม่เหมาะสมเราก็สามารถปรับปรุงพัฒนาตนเองได้ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยหลักการแล้ว หากจะปรับปรุงเพื่อระสิทธิภาพของงาน จะต้องมีขั้นตอนสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง 4 ขั้นตอนดังนี้

1. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องพัฒนาตนเอง
2. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาตนเอง
3. วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของตนเอง
4. เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบระเบียบ

กลยุทธ์ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้การพัฒนาตนเองประสบผลสำเร็จ จึงขอเสนอหลักการเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาตนเองไปถึงจุดที่ควรจะเป็น และพยายามหาวิธีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยบุคคลจะต้องเรียนรู้ตัวเราให้ดีก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจกับสิ่งที่เรารู้ จากตัวบุคคลจากสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เราสามารถมองเห็นข้อบกพร่อง แล้วจึงยึดหลักเพื่อปฏิบัติตนเอง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินชีวิตดังนี้การเป็นผู้มีจิตใจสงบการเป็นผู้มีจิตใจเบิกบานความเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบากเป็นผู้ตรงต่อเวลา ความเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองความเป็นผู้ละเอียดรอบคอบการเป็นคนขยันขันแข็งความเป็นผู้เชื่อถือของผู้อื่นการสร้างทีมงานความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับปัจจัยการทำงานเป็นทีม ภารกิจสำเร็จของนักบริหารจัดการคือ การพยายามทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของทีมงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ของทีมงานให้ชัดจน และการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรนักบริหารจะต้องไม่ลืมความสัมพันธ์ลักษณะระหว่างคุณลักษณะของการทำงานเป็น กับความสำเร็จงานบนพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้

1. การสร้างทีมงาน (Team-Building) คือ การสร้างทีมงาน

2. การทำงานเป็นทีม(Team- Wok) คือ วัตถุประสงค์ในการสร้างทีมงานลักษณะงานที่ต้องการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องจัดระบบในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารกระบวนการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นลักษณะงานประจำ และการบริการที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ เราจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา ในอันที่จะเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และยังต้องอาศัยความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ดังนั้น การตระหนักถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกัน การสร้างทีมงานจึงมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่สมาชิกทีมงานเดียวกัน ด้วยการเห็นคุณค่าของคน และยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคลการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิผลมากขึ้น เมื่อสมาชิกทีมได้เสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญมากขึ้นประสิทธิภาพการทำงานจะเพิ่มขึ้น เมื่อการแสดงความคิดเห็นในลักษณะข้อมูลป้อนกลับขอทีมงานถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นคนเราจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เมื่อมีการเปิดเผยและจริงใจต่อกัน โดยเฉพาะตอนที่มีปัญหาเพื่อให้การสนับสนุนด้านพัฒนาบุคลิกภาพ รู้จักเปิดหน้าต่างการเรียนรู้ โดยรับฟังความคิดเห็นข่าวสารเพื่อการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นการช่วยลดการขัดแย่งระหว่างบุคคลเนื่องจากสมาชิกของทีมงานได้เรียนรู้ถงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมกขึ้นส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกของทีม และเป็นการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานลักษณะของทีมงานที่ดีทีมงานที่ดี จะมีความสมดุลที่เหมาะสมองทักษะความสามารถ รวมทั้งความพอใจทุกคนสามารถแสดงออกด้วยความซื่อสัตย์และเปิดเผย การสนทนาเกี่ยวกับงานจะเหมือนกันทั้งภายในและภายนอก องค์กรมีการเผชิญหน้าและเปิดเผย และใช้สื่อกลางสำหรับการเรียนรู้ และเมื่อเผชิญกับสถานการที่ยากลำบาก ดังนั้น 

การสร้างทีมงานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมงานดีมีคุณภาพเพิ่มผลผลิตของตนลดความขัดแย้งในองค์กรรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองปลูกฝังความรับผิดชอบสร้างมิตรสัมพันธ์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์

บุคลิกภาพแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพบุคลิกภาพ

มาจากคำบาลี 2 คำ คือ บุคลิก กับ ภาวะหรือภาพ เมื่อนำมารวมกันหรือสมาสกันเป็น บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะไม่ตรงกัน นอกจากนี้ นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะด้วยกัน เช่น

บุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพันธุกรรม และประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล

บุคลิกภาพ คือ ลักษณะรวมของบุคคล และวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัวตามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม

บุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคน ทั้งภายในและภายนอก(จิตใจและร่างกาย) ซึ่งบุคลิกภาพนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนด ตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรม และความนึกคิดของบุคคลนั้น

สรุป บุคลิกภาพ คือ ลักษณะพิเศษเฉพาะของบุคคลแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ

บุคลิกภาพประกอบด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติ องค์ประกอบของบุคลิกภาพ บุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. ลักษณะท่าทาง
2. ลักษณะทางใจ
3. ลักษณะทางสังคม
4. ลักษณะทางอารมณ์

ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีบุคลิกภาพที่ดี มักจะเป็นคนที่มีพื้นฐานด้านสุขภาพจิตดี ทำให้มีการปรับตัวที่ดี และส่งผลถึงการมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย

ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี จะมี คุณลักษณะและความสามารถทางจิตที่สำคัญ 6 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริงอย่างถูกต้อง
2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์
5. ความรักและการต้องการทางเพศ
6. ความสามารถในการพัฒนาตน

การพัฒนาบุคลิกภาพ คำว่า บุคลิกภาพ มาจากคำว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งไม่เหมือนกัน ดังนั้น บุคลิกภาพเราจึงหมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราแต่ละคน ซึ่งไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร บุคลิกภาพเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่มีใครสามารถเลียนแบบบุคลิกภาพผู้อื่นได้เหมือนทุกอย่าง ทุกประการ และบุคลิกภาพสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ประเภทของบุคลิกภาพที่ควรปรับปรุง

บุคลิกภาพของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. บุคลิกภาพภายนอก
2. บุคลิกภาพภายใน

บุคลิกภาพภายนอก หมายถึง สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด หรือ สัมผัสได้ การปรับปรุงแก้ไขก็ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย และวัดผลได้ทันที ได้แก่รูปร่างหน้าตาการปรับปรุงการแต่งกาย การปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร การปรับปรุงการพูดการปรับปรุงการฟัง

บุคลิกภาพภายใน หมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็น และ สัมผัสยาก ต้องมีโอกาสทำงานร่วมกัน หรืออยู่ด้วยกันนานๆ บุคลิกภาพภายในจึงจะแสดงออกมา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน และวัดผลลำบาก

บุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ความกระตือรือร้นความซื่อสัตย์ความสุภาพความร่าเริงและความร่วมมือความแนบเนียนความยับยั้งชั่งใจความจริงใจจินตนาการ

กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงาน

ความหมายของกลยุทธ์ในองค์กร หมายถึง การที่องค์กรได้แสดงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการบริหารที่องค์กรไปเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีกลุ่มต่าง ๆ ตัวบุคคล องค์กรอื่นและสถาบันประเภทอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในองค์กรและนอกองค์กร

การบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ

ประการแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

ประการที่สอง ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า องค์กรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร โดยพิจารณาในแง่ของการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ

ตามความหมายของพฤติกรรมองค์กรการจัดชุดของทรัพยากรที่จะใช้งานในองค์กร ในการจัดชุดทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหาร องค์กรจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างกันออกไป โดยทรัพยากรต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาพลิกแพลงและจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความเหมาะสม เช่น อาจจะจัดเพื่อมุ่งให้เกิดการสนใจต่อผลิตภัณฑ์ หรือจัดเพื่อทุ่มเทมุ่งสู่ตลาดใดตลาดหนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ หรืออาจจะจัดขึ้นเพื่อทุ่มเทไปกับเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ หรืออาจจะนำมาใช้กระจายไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาให้ครบทุกด้านกลยุทธ์ในฐานะเป็นเครื่องมือสำหรับใช้จัดให้สภาพแวดล้อมสอดคล้องกับทรัพยากร การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับความต้องการจะของบริษัทและธุรกิจที่บริษัทจะดำเนินนั้นเอง

จากที่กล่าวมา ถ้าหากนำมากำหนดเป็นกรอบการคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์แล้ว จะปรากฏตามรูปแบบต่างๆ องค์กรจะมีการพิจารณาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อที่ดูถึงข้อจำกัดต่างๆ ความต้องการและโอกาสต่างๆ ที่มีอยู่ การตรวจสอบสภาพแวดล้อมนี้ ในบางครั้งอาจจะมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและจัดทำเป็นระบบกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ ปัญหาหนักอกของผู้บริหารที่เผชิญอยู่ ก็คือ ปัญหาประสิทธิภาพทางการบริหาร โดยเฉพะในด้านที่เกี่ยวกับ ผลผลิต ที่ตกต่ำกว่าเดิม กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ คือ การมีประสิทธิผล ที่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ดี และสามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆ ได้ และการมีประสิทธิภาพ ที่สามารถทำสำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้น โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย ลักษณะของกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพที่จะทำให้การบริหารสามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างดีในทุกสถานการณ์


บรรยากาศในองค์กร จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้
ความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความมั่นคงของบุคลากรทุกระดับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการให้การสนับสนุนความเปิดเผยในการสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างการรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
นักวิชาการหลายท่านได้เสนอบรรยากาศขององค์กรที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ที่นำไปสู่การลงความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศขององค์กร

บรรยากาศในองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกันสูง ย่อมส่งผลถึงการมีบรรยากาศในการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ผลงานดีขึ้น โดยที่บุคลากรไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน และปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี

การสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร และการพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งพอสรุปได้ คือ
องค์กรควรจะกำหนดแผนระยะยาว ซึ่งในแผนนั้นจะต้องมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง
 องค์กรจะต้องกำหนดความต้องการด้านกำลังคนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อบุคลากรคนปัจจุบันจะได้เตรียมตัว หรืออาจแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อความก้าวหน้าในการทำงานของเขา
องค์กรควรทำการสำรวจบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อจะได้รู้ว่าปัจจุบันมีกำลังคนลักษณะและคุณสมบัติอย่างไร
องค์กรควรคำนึงถึงกำลังคนที่มีปัจจุบัน กับความต้องการกำลังคนขององค์กรในกิจการงานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อจะได้จัดคนให้เหมาะสมกับงานหรือหน้าที่
องค์กรควรจะกำหนดโครงการฝึกอบรมตามความต้องการ เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน หรือปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือการสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมตามความจำเป็นขององค์กร
องค์กรควรจะสื่อสารบอกกล่าวให้บุคลากรรู้ถึงความต้องการกำลังคนประเภทต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรได้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเสมอ
องค์กรควรจัดรับสมัคร สัมภาษณ์ คัดเลือก และตระเตรียมบุคลากรให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ทำงาน จัดทำคำบรรยายลักษณะงานไว้อย่างชัดเจน วางแผนงานให้เหมาะสมตามสภาพกำลังคนที่มีอยู่ และที่รับเข้ามาใหม่
องค์กรควรมีระบบตรวจสอบการสื่อภายใน เพื่อรักษาบรรยากาศขององค์กร

การสื่อสารในองค์กร

ความหมายของการสื่อสารในองค์กร

การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์ กระบวนการสื่อสารการสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย

แหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไป
ผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสาร
ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กรสื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมาก
2. ประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่างๆ เป็นต้น
3. ประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรม

รูปแบบของการสื่อสาร

การสื่อสารโดยทั่วๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้

- การสื่อสารภายในตัวบุคคล
- การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้การสื่อสารภายในองค์กร
- การสื่อสารมวลชน

ลักษณะการสื่อสารในองค์กร

โดยทั่วๆ ไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น

2. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงาน ภายในองค์กร

3. การสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กรจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กรการสื่อสารในองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงาน และสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

ฉะนั้น พอจะสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้นเพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กรเพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานด้วยกันมีความเข้าใจกันเทคนิคการสื่อสารในองค์กร เทคนิคในการสื่อสาร จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เทคนิคการสื่อสารจากระดับบนสู่ล่าง ได้แก่ การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาลงสู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคการสื่อสารจากระดับล่างสู่บน ได้แก่ การศึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ติดต่อขึ้นตามคำสั่ง ตามลำดับขั้น จนถึงผู้บังคับบัญชา
3. เทคนิคการสื่อสารระดับเดียวกัน เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคคลในระดับเดียวกัน

รูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร

ในการจัดเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกัน สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

- แบบลูกโซ่ (Chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอ
- แบบวงล้อหรือดาว (Wheel or Star) เป็นเครือข่ายของการประสานงานแบบเผด็จการ
- แบบวงกลม (Circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำ
- แบบว่าว (Kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อ
- แบบทุกช่องทาง (All Channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

หลักสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่ดี เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีข่าวสารตรงกันและรวดเร็ว จึงสมควรยึดหลัก 7 C คือ

1. ความเชื่อถือได้
2. ความเหมาะสม
3. มีเนื้อหาสาระ
4. ความสม่ำเสมอและความต่อเนื่อง
5. ช่องทางข่าวสาร
6. ความสามารถของผู้รับสาร
7. ความชัดเจนแจ่มแจ้งของข่าวสาร

ฉะนั้น จากหลักการ 7 C นี้คงจะช่วยให้การจัดระบบติดต่อสื่อสาร เกิดผลของการสื่อสารที่ดีเกิดขึ้นในองค์กรได้ ซึ่งหากมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการจัดการบริหารงานที่ดีไปด้วย มนุษย์สัมพันธ์กับการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารให้เกิดความรวดเร็วและเที่ยงตรง ในยุคปัจจุบันในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร มีความก้าวหน้ารวดเร็วทันสมัยทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งนี้มาช่วยพัฒนางานหากระบบการสื่อสารในองค์กรมีประสิทธิภายังช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีให้เกิดในหมู่คณะพนักงานและผู้บริหารด้วย ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถสรุปได้ ดังนี้

รู้กระบวนการและขั้นตอนการสื่อสาร บุคคลในสถานที่

ประกอบการต้องรู้กระบวนการและขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร ดังนี้

- ความตั้งใจที่จะสื่อสาร
- มีความเข้าใจในสาระการสื่อสาร
- มีการยอมรับในข่าวสาร
- ปฏิบัติตามข่าวสารใช้สื่อและภาษาธรรมดา

ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของผู้ส่งและผู้รับการสื่อสารต้องพยายามเข้าใจกิริยาท่าทางการพัฒนาประสิทธิภาพการฟังที่ดีสื่อและเครื่องมือในการสื่อสารต้องดีและเอื้ออำนวยควรมีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดี

ลักษณะของการสั่งการที่ดี

การสั่งการที่ดีต้องเป็นคำสั่งที่สามารถปฏิบัติได้ ผู้รับคำสั่งจะต้องมีอำนาจ เวลา และอุปกรณ์ในการดำเนินงานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ดังนั้น การสั่งการที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

- เป็นเรื่องที่ผู้รับคำสั่งสนใจ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรง
- คำสั่งต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
- คำสั่งต้องเหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติได้คำสั่งต้องแน่นอน
- ควรเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความผิดพลาด

ความหมายของการควบคุมงาน

การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้และได้มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วแนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามและมาตรฐานที่กำหนดไว้

ความมุ่งหมายของการตรวจสอบปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบดูว่างานที่ได้รับมอบหมายไปปฏิบัติดำเนินไปตามแผนงานและมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่เพื่อตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานว่าดำเนินไปตามหลักการที่ดีหรือไม่เพียงใดเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานว่าดีเพียงใดเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีอุปสรรคหรือปัญหาประการใด เมื่อใด เพียงใดเพื่อแนะนำปรับปรุงแก้ไข เมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา

ที่มา : http://community.jobdynamo.com:81/การเพิ่มประสิทธิภาพในอ