ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การต่อหม้อแปลง 1 เฟส ในระบบ 3 เฟส

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

                ปกติในการต่อหม้อแปลงกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เราจะใช้หม้อแปลง 3 เฟสมาต่อ แต่กรณีที่ไม่มีหม้อแปลง 3 เฟส เราสามารถนำหม้อแปลง 1 เฟส 3 ตัว มาต่อเข้ากับระบบได้
              แต่ก่อนการนำหม้อแปลง 1 เฟสมาต่อเข้ากับระบบ 3 เฟส เราจะต้องทำการหาขั้วของหม้อแปลงก่อน จึงจะนำมาต่อได้ถูกต้อง

              ซึ่งการนำหม้อแปลง 1 เฟส มาต่อเป็นหม้อแปลง 3 เฟส จะต่อได้ 2 แบบ คือ
              1. แบบสตาร์ หรือ วาย ( Y )
                 คือการนำต้นของขดลวดหม้อแปลงแต่ละตัว ต่อเข้ากับสายไฟของระบบไฟฟ้า และนำปลายของขดลวดหม้อแปลงแต่ละตัวมารวมกัน และต่อเข้ากับสายนิวตรอล (N) ดังรูป
                 




              2. แบบเดลต้า 
                 คือการนำปลายของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 1 ต่อกับต้นของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 2 นำปลายของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 2 ต่อกับต้นของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 3 และนำปลายของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 3 เวียนกลับมาต่อกับต้นของขดลวดหม้อแปลงตัวที่ 1 เราจะได้จุดต่อระหว่างหม้อแปลงทั้ง 3 ตัว 3 จุดต่อเข้ากับสายไฟของระบบไฟฟ้า ดังรูป




             ดังนั้นการนำหม้อแปลง 1 เฟส มาต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อให้หม้อแปลง แปลงไฟออกมาเป็นระบบ 3 เฟส จึงต้องต่อด้านไฟเข้ากับระบบไฟที่จ่ายให้หม้อแปลง และต่อด้านไฟออกไปใช้งานจึงสามารถต่อได้ 5 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการแปลงไฟออกมาได้แตกต่างกัน ดังนี้

การต่อแบบวาย – วาย (Y – Y)
      การต่อแบบวาย - วาย จะใช้หม้อแปลงชนิด 1 เฟส T1, T2 และ T3 ต่อขนานเพื่อให้ทำงานเป็นหม้อแปลงชนิด 3 เฟส ขั้ว H1 ของหม้อแปลงแต่ละตัว จะต่อเข้ากับสายเฟส A, B และ C ด้านไฟเข้า และขั้ว X1 ของหม้อแปลงด้านไฟออกแต่ละตัว จะต่อกับ L1, L2 และ L3 ตามลำดับ  ส่วนปลาย H2 ของขดปฐมภูมิ (ด้านไฟเข้า) และปลาย X2 ของขดทุติยภูมิ (ด้านไฟออก) จะต่อเข้ากับจุดต่อร่วมระบบวายหรือสายนิวตรอล N ของขดลวดแต่ละด้าน





การต่อแบบวาย – เดลต้า
      การต่อแบบวาย – เดลต้า การต่อหม้อแปลงด้านไฟเข้าจะต่อเข้ากับระบบโดยต่อต้นของขดลวด H1 ของหม้อแปลงแต่ละตัว เข้ากับสายเฟส A, B และ C ตามลำดับ ส่วนที่เหลือคือขั้ว H2 ของหม้อแปลงแต่ละตัว จะรวมกันต่อเข้ากับสายนิวตรอล N  และสำหรับขดลวดด้านทุติยภูมิ (ด้านไฟออก) จะนำปลาย X2 ของหม้อแปลงตัวที่ 1 ต่อเข้ากับขั้ว X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 2 นำปลาย X2 ของหม้อแปลงตัวที่ 2 ต่อเข้ากับขั้ว X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 3 และปลาย X2 ของหม้อแปลงตัวที่ 3 ต่อเข้ากับขั้ว X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 1 ส่วนไฟออกไปที่ L1, L2 และ L3 ให้นำไปต่อที่ ขั้ว X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 1 , 2 และ 3 ตามลำดับ 



การต่อแบบเดลต้า – วาย
          ในรูปด้านล่าง เป็นการต่อหม้อแปลงแบบเดลต้า - วาย โดยด้านไฟเข้าแรงสูงของหม้อแปลงจะต่อแบบเดลต้า และด้านแรงต่ำหรือไฟออกจะต่อแบบวาย หรือสตาร์
          โดยขดลวดด้านปฐมภูมิ จุดที่ต่อระหว่างหม้อแปลงแต่ละตัว (H2 จะต่อกับ H1 ของอีกตัว) จะต่อเข้ากับสายเฟส A, B และ C ตามลำดับ  และสำหรับขดลวดด้านทุติยภูมิ ต้นของขดลวดหม้อแปลงที่แสดงเครื่องหมาย x1 จะต่อเข้ากับสายเฟส L1, L2 และ L3 ตามลำดับ ส่วนปลายของขดลวดที่แสดงเครื่องหมาย x2 ของหม้อแปลงทั้ง 3 ตัวจะต่อรวมกัน และต่อเข้ากับสายนิวตรอล N



การต่อแบบเดลต้า – เดลต้า
      การต่อแบบเดลต้า - เดลต้า ปลายขดลวดด้านปฐมภูมิที่แสดงเครื่องหมายจุดสีดำ H1 จะต่อเข้ากับสายเฟส A, B และ C ตามลำดับ ส่วนปลาย H2 หม้อแปลงตัวที่ 1 จะต่อเข้ากับ H1 ของหม้อแปลงตัวที่ 2  ปลาย H2 หม้อแปลงตัวที่ 2 จะต่อเข้ากับ H1 ของหม้อแปลงตัวที่ 3 และปลาย H2 หม้อแปลงตัวที่ 3 จะต่อเข้ากับ H1 ของหม้อแปลงตัวที่ 1  ตามลำดับ และสำหรับขดลวดด้านทุติยภูมิ (ด้านไฟออก) ปลายขดลวด X1 ที่แสดงเครื่องหมายจุดสีดำจะต่อเข้ากับสายเฟส L1, L2 และ L3 ตามลำดับ ส่วนปลายที่เหลือ X2 หม้อแปลงตัวที่ 1 จะต่อเข้ากับ X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 2  ปลาย X2 หม้อแปลงตัวที่ 2 จะต่อเข้ากับ X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 3 และปลาย X2 หม้อแปลงตัวที่ 3 จะต่อเข้ากับ X1 ของหม้อแปลงตัวที่ 1 ตามลำดับ


การต่อแบบโอเพ่น เดลต้า – โอเพ่น เดลต้า (Open Delta – Open Delta)
      ในการต่อขดลวดหม้อแปลงแบบเดลต้า หากเกิดความเสียหายในขณะใช้งานจนขดลวดขดหนึ่งขดใดขาดไป หม้อแปลงนี้ก็ยังคงทำงานได้โดยใช้ขดลวดเพียง 2 ชุด แต่จะจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับโหลดได้น้อยลง ดังนั้นจึงควรลดโหลดเพื่อไม่ทำให้หม้อแปลงรับภาระหนักเกินกำลัง
       ในการต่อขดลวดหม้อแปลง 2 ชุดให้ทำงานเป็นหม้อแปลงชนิด 3 เฟส เราเรียกว่า การต่อแบบโอเพ่น เดลต้า หรือแบบวี (Open Delta : V) ในการต่อแบบโอเพ่น เดลต้า จะใช้หม้อแปลงชนิด 1 เฟส T1 และ T2 ต่อขนานเพื่อให้ทำงานเป็นหม้อแปลงชนิด 3 เฟส ปลายขดลวดด้านปฐมภูมิ ที่แสดงเครื่องหมายจุดสีดำจะต่อเข้ากับสายเฟส B  ส่วนปลายที่เหลือจะต่อเข้ากับสายเฟส A และ C ตามลำดับ และสำหรับปลายขดลวดด้านทุติยภูมิ ที่แสดงเครื่องหมายจุดสีดำจะต่อเข้ากับสายเฟส L2  ส่วนปลายที่เหลือจะต่อเข้ากับสายเฟส L1 และ L3 ตามลำดับ





ที่มา : http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=428&Itemid=0&limit=1&limitstart=7