ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

จำนวนผู้เยี่ยมชม

               เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าด้วย โซล่าเซลล์ มีวิธีการผลิต การใช้งาน วัตถุประสงค์ การเชื่อมต่อ ฯลฯ ที่ค่อนข้างหลากหลาย  จึงขออธิบายในภาพรวม การผลิตไฟฟ้าด้วย โซล่าเซลล์ เป็น 3 ประเภทหลัก  ดังนี้

              1. ระบบ อ๊อฟกริด (Off Grid) หรือ แบบอิสระ ( Stand Alone )


              คือระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึง ไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆเข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง
                    1.1 แบบต่อใช้งานโดยไม่ใช้แบตเตอรี่
               กล่าวคือเมื่อได้กระแสไฟฟ้าจากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) แล้ว ก็ต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อใช้งานเลย ดังนั้นก็จะใช้ได้เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น และไม่มีการเก็บประจุไฟฟ้ามาใช้งาน ทั้งนี้การนำมาต่อใช้งานก็อาจแยกตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน ได้เป็น 2 ชนิด


                         1.1.1 อุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ AC

                   เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current ) แต่ไฟฟ้าที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ( Direct Current ) ดังนั้น ก่อนนำไปใช้งานจึงต้องนำมาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสียก่อน โดยนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้ก็จะมีการสูญเสียจากการแปลงฯ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลงไป

                        1.1.2 อุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ DC


                     นำกระแสไฟฟ้า DC ที่ได้จาก แผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) มาต่อใช้งานกับอุปกรณ์ของเราใช้งานเลย โดยไม่ต้อง ต่อผ่าน Inverter ซึ่งวิธีการนี้ข้อดีคือการนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากมีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าต่ำมาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ ที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ไฟ AC ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ให้เหมะสม เช่น มอเตอร์ปั๊มน้ำที่ใช้ไฟ DC , มอเตอร์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ไฟ DC เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ก็จะได้ต้นทุนที่ต่ำและประหยัดสุด (เพราะไม่ต้องใช้ อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) และ แบตเตอรี่ ที่ราคาค่อนข้างสูง และอายุการใช้งานสั้น หากบำรุงรักษาไม่ดี)
           ***ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ไฟ DC บางอย่าง ก็ไม่สามารถต่อกับไฟ DC ที่ได้จากแผง Solar Cell ได้โดยตรง ต้องต่อผ่าน Inverterก่อน เนื่องจากต้องปรับแรงดัน หรือค่าแฟคเตอร์อื่นๆให้เหมาะสมกับ อุปกรณ์นั้นๆ ก่อน


               1.2 แบบต่อใช้งานโดยใช้แบตเตอรี่
             วิธีนี้คือการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ มาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน ซึ่งก็สามารถเลือกว่าจะนำจ่ายไฟ ให้กับอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟ AC หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ไฟ DC ทั้งนี้ข้อดีของการที่มีแบตเตอรี่คือสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ใช้งานได้กรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ โดยอาจแยกตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน ได้เป็น 2 ชนิด

                    1.2.1 นำกระแสไฟที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) มาชาร์จแบตเตอรี่ แล้วนำไฟจากแบตเตอรี่ แปลงเป็นไฟ AC ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ AC

                  เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current ) แต่ไฟฟ้าที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ( Direct Current ) ดังนั้น ก่อนนำไปใช้งานจึงต้องนำมาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสียก่อน โดยนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้ก็จะมีการสูญเสียจากการแปลงฯ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลงไป


                            1.2.2 นำกระแสไฟที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) มาชาร์จแบตเตอรี่ แล้วนำไฟจากแบตเตอรี่ ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ DC

                   ซึ่งวิธีการนี้ข้อดี การนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากมีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าต่ำมาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ ที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ไฟ AC ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ให้เหมะสม เช่น หลอดไฟ LED แบบ DC ,มอเตอร์ , ปั๊มน้ำ เป็นต้น
       2. ระบบ ออนกริด ( On Grid )  แบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ( Grid Connected )

              เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยข้อดีคือสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับ การไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า หากผลิตไม่พอใช้อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทน

                  2.1 แบบผลิตเพื่อจำหน่ายไฟ ให้การไฟฟ้าฯ

                การติดตั้งแบบนี้ก็เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต้องมีการติดตั้งมิเตอร์แยกจาก มิเตอร์ที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ ทั้งนี้การรับซื้อไฟต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนจำหน่ายไฟเมื่อใดและมีค่าสมทบค่าไฟฟ้าอีกเท่าใด (เรียกว่าค่าแอดเดอร์) 
                2.2 แบบผลิตเพื่อใช้เองและลดค่าไฟฟ้า

              การติดตั้งแบบนี้ เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ผลิตเองจากโซล่าเซลล์ ตัวอุปกรณ์ Grid Tie Inverter ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ก็จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะทำให้ลดค่าไฟฟ้าลงได้และไม่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังไฟไม่พอ เพราะดึงจากการไฟฟ้ามาชดเชย แต่การติดตั้งแบบนี้ต้องได้รับการอนุญาตจาก การไฟฟ้าฯก่อน แต่ข้อเสียของระบบนี้คือช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือเวลากลางคืน ก็จะไม่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาซึ่งช่วงนี้ก็จะต้องตึงพลังงานไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ

             2.3 ระบบออนกริด (On Grid) แบบ เน็ตมิเตอร์ริ่ง ( Net Metering )

              ระบบนี้น่าจะเวิร์คสุดแล้ว เนื่องจากเพราะว่า หากเราติดตั้งระบบออนกริด แล้วช่วงตอนกลางวันเราไม่ได้อยู่บ้าน ไม่มีการใช้ไฟฟ้า ก็ทำให้เราติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เสียเปล่า ไม่ได้ประโยชน์ เหมือนผลิตไฟฟ้าได้แล้วทิ้งไป
              หากเป็นระบบเน็ตมิเตอริ่ง ช่วงเวลากลางวันเราไม่อยู่บ้านเมื่อระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ก็จะไหลเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า  โดยตัวมิเตอร์ก็จะเก็บข้อมูลไว้ว่าเราผลิตได้กี่หน่วย แล้วพอตอนกลางคืนเรากลับบ้าน มาใช้ไฟฟ้า มิเตอร์ ก็จะหัก ลบ กับที่เราผลิตได้เมื่อตอนกลางวัน และสุดท้ายก็สรุปในแต่ละเดือนเราจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าไหร่ ***แต่เดี๊ยวก่อน ระบบนี้ในเมืองไทยยังไม่มีการนำมาใช้ แต่แว่วๆว่า กระทรวงพลังงาน ได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบนี้มาใช้  สำหรับในต่างประเทศ ก็เริ่มมีการนำระบบเน็ตมิเตอริ่ง มาใช้บ้างแล้ว***

            3. ระบบ ไฮบริดส์ ( Hybrid ) หรือแบบผสม

              ระบบทำงานได้ทั้ง Off Grid และ On Grid โดยจะเปลี่ยนสถานะเป็นแหล่งจ่ายไฟได้เองอัติโนมัติ และสามารถใช้ไฟได้หาก มีการดับไฟจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ซึ่งแบบไฮบริดส์ นี้ก็จะมาแก้ไขจุดด้อยของ ข้อ 2.2 กล่าวคือ ก็จะมีการเพิ่ม Hybrid Inverter และอุปกรณ์แบตเตอรี่เข้ามาด้วยเพื่อทำการเก็บประจุไว้ใช้งานในกรณ์ที่ไม่มีแสงอาทิตย์


              อ้างอิงที่มา : https://www.solarhub.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=310:solarcell-overview&catid=106:solar-components&Itemid=998


ความคิดเห็น