ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรกลับทางหมุนหลังจากหยุดมอเตอร์ (Reversing after stop)

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
                   
                   ลักษณะการกลับทางหมุนหลังจากหยุดมอเตอร์ หมายถึง วงจรจะกลับทางหมุนมอเตอร์ได้ เมื่อทำการหยุดมอเตอร์ก่อนเท่านั้น
                   การเริ่มเดินมอเตอร์จะเริ่มเดินให้หมุนขวาหรือซ้ายก่อนก็ได้ (ขึ้นอยู่กับการต่อวงจรเข้ากับระบบไฟที่จ่ายให้กับวงจรกำลัง) หลังจากนั้นจะสามารถกลับทางหมุนของมอเตอร์โดยการกดสวิตช์ S2 หรือ S3
                    การกำหนดให้มอเตอร์หมุนซ้ายหรือขวา เมื่อกดสวิตช์ S2 หรือ S3 ตรงตามวงจรควบคุมด้านล่าง ขึ้นอยู่กับการต่อวงจรเข้ากับระบบไฟที่จ่ายให้กับวงจรกำลัง

                   และเมื่อต้องการหยุดมอเตอร์ก็สามารถทำได้โดยการกดสวิตช์ S1 (OFF)

วงจรกำลัง                                                            วงจรควบคุม


ลักษณะการทำงานของวงจร
                   1)  คอนแทกเตอร์ K1 ทำหน้าที่ต่อให้มอเตอร์หมุนขวา และคอนแทกเตอร์ K2 ทำหน้าที่ต่อให้มอเตอร์หมุนซ้าย
                  2)  เริ่มเดินมอเตอร์ให้หมุนซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้โดยการกดสวิตช์ S2  ( มอเตอร์จะหมุนซ้ายหรือขวาก่อน ขึ้นอยู่กับการต่อเฟสเข้าในครั้งแรก )
                  3) ในขณะที่มอเตอร์กำลังหมุนอยู่  หากเรากดสวิตซ์ S3 เพื่อกลับทางหมุนมอเตอร์ ก็ไม่สามารถทำการกลับทางหมุนได้ เนื่องจาก K1 ปกติปิด ในแถวที่ 3 จะเปิดวงจรเมื่อ K1 ทำงาน  ทำให้กระแสไม่สามารถผ่านมายังคอล์ย K2 ได้ และคอนแทคของสวิตซ์ S3 ก็ไม่สามารถตัดกระแสที่ไหลให้วงจรหยุดทำงานได้  เนื่องจาก คอนแทคแบบปกติเปิดของ K1 ต่อวงจรให้กระแสไหลผ่านคร่อม S3 ไป

          ดังนั้นหากต้องการกลับทางหมุนของมอเตอร์ จะต้องทำให้มอเตอร์หยุดหมุนเสียก่อนโดยการกดสวิตช์ S1
และกด S3 เพื่อให้มอเตอร์กลับทางหมุน

                  3)  ถ้ากดสวิตช์ปุ่มกด S2 และ S3 พร้อมกันจะไม่มีคอนแทกเตอร์ตัวใดทำงาน และคอนแทกเตอร์ K1 และ K2 ไม่สามารถทำงานพร้อมกันได้ เนื่องจากมี interlock contact K1 และ K2 ต่อไว้ก่อนเข้าคอล์ยแม่เหล็กของ   K1 และ K2 เพื่อเป็นการป้องกันการลัดวงจร
                  4)  เมื่อเกิดการโอเวอร์โหลดขึ้น โอเวอร์โหลดรีเลย์ F3 แบบมีรีเซ็ทด้วยมือ จะทำหน้าที่ตัดวงจรควบคุมออกไป


อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อวงจร
                  1.ฟิวส์กำลัง หรือเบรกเกอร์ 3 เฟส         ( F1 )                    จำนวน   1  ชุด
                  2. แมกเนติกคอนแทกเตอร์                    ( K1,K2 )              จำนวน   2  ตัว
                  3. โอเวอร์โหลด                                     (  F3 )                    จำนวน   1  ตัว
                  4. มอเตอร์  3 เฟส                                  ( M )                      จำนวน   1  ตัว
                  5. ฟิวส์ควบคุม หรือเบรกเกอร์ 3 เฟส    ( F2 )                     จำนวน   1  ตัว
                  6. สวิตซ์ปุ่มกด                                       ( S1, S2, S3 )         จำนวน   3  ตัว 
                  7. หลอดสัญญาณ                                   ( H1, H2, H3 )       จำนวน   3  หลอด

ที่มา : http://motor.lpc.rmutl.ac.th/module11/after.html

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
มีอุปกรณ์​อะไรบ้างครับ