การทำงานของวงจร
เมื่อจ่ายไฟให้กับวงจร
- วงจรกำลังจะมีไฟมารอที่ คอนแทคหลักของแมคเนติกส์คอนแทค (K1) ซึ่งเป็นแบบปกติเปิด
- วงจรควบคุม จะมีไฟมารอที่ คอนแทคปกติเปิดของ S2 ไม่สามารถไหลผ่านมายังคอยล์ของ K1 เพื่อทำให้ K1 ทำงานได้ ขณะนี้มอเตอร์จึงไม่สมารถทำงานได้
การควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน
การเปิดมอเตอร์
- กดสวิตซ์ S2 คอนแทคปกติเปิดของ S2 จะปิด กระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่าน S2 ได้ และไหลผ่าน คอยล์ของ K1 ทำให้ K1 ทำงานได้ มีผลทำให้
ในวงจรกำลัง
- คอนแทคหลักของแมคเนติกส์คอนแทค (K1) ซึ่งเป็นแบบปกติเปิด จะปิด กระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านคอนแทคหลักของ K1 ผ่าน โอเวอร์โหลด เข้าสู่มอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุนได้
ในวงจรควบคุม
- คอนแทคช่วยแบบปกติเปิด K1 ในแถวที่ 2 จะปิด ทำให้กระแสยังสามารถไหลผ่านมาเลี้ยงคอยล์ของแมกเนติกส์คอนแทค K1 ทำให้ แมกเนติกส์คอนแทค K1 สามารถทำงานได้ตลอดแม้เราจะปล่อยสวิตซ์ S2 ก็ตาม
- คอนแทคช่วยแบบปกติเปิด K1 ในแถวที่ 3 จะปิด ทำให้กระแสสามารถไหลผ่านหลอดสัญญาณ H1 แสดงการทำงานของมอเตอร์
การปิดมอเตอร์
- กดสวิตซ์ S1 คอนแทคปกติปิดของ S1 จะเปิด ทำให้กระแสไฟฟ้าถูกตัด ไม่สามารถจ่ายเข้าสู่คอยล์ของแมคเนติกส์คอนแทค (K1) ทำให้แมคเนติกส์คอนแทค (K1) หยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจะถูกตัด ทำให้มอเตอร์หยุดการทำงาน
การป้องกันมอเตอร์
เมื่อเกิดการโอเวอร์โหลดที่มอเตอร์ (กดปุม TRIP) จะทำให้โอเวอร์โหลด F3 ทำงาน ทำให้คอนแทคของ F3 ในวงจรควบคุมทำงานตัดกระแสไฟฟ้าที่วงจรควบคุม ทำให้วงจรควบคุมหยุดการทำงาน ทำให้
- ที่วงจรกำลัง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเมนคอนแทคของ K1 จะถูกตัด ทำให้มอเตอร์หยุดหมุน
- ที่วงจรควบคุม กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านคอนแทคปกติเปิดของ F3 ผ่านเข้าสู่หลอดสัญญาณ H2 ทำให้หลอดสัญญาณ H2 ติด แสดงให้รู้ว่ามอเตอร์หยุดหมุนเนื่องจากเกิดการโอเวอร์โหลดที่ตัวมอเตอร์ ให้ทำการตรวจเช็คมอเตอร์
เมื่อตรวจสอบมอเตอร์เรียบร้อย ให้ กดปุ่ม RESET วงจรจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ที่มา : http://motor.lpc.rmutl.ac.th/module10/direct_start2.html
ความคิดเห็น