เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543
- 1.ลักษณะทั่วไปของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันของ “เครื่องหมาย” ซึ่งได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ - 2.ประเภทของเครื่องหมาย
กฎหมายให้ความคุ้มครองเครื่องหมายทั้งหมด 4 ประเภท คือ- 2.1 เครื่องหมายการค้า
หมายถึง เครื่องหมาย หรือยี่ห้อ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจาสินค้าของบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่นสินค้ายานพาหนะ - 2.2 เครื่องหมายบริการ
หมายถึง เครื่องหมาย หรือยี่ห้อ หรือตราที่ใช้กับบริการเพื่อแสดงว่าริการที่ที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างไปจากบริการของบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่นบริการธนาคาร - 2.3 เครื่องหมายรับรอง
หมายถึง เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้รับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าของบุคคลอื่น หรือใช้รับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะของบริการของบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่นเครื่องหมายรับรองเกี่ยวกับคุณภาพอาหาร - 2.4 เครื่องหมายร่วม
หมายถึง เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ในบริษัทเดียวกันหรือใช้ในองค์การเดียวกัน ตัวอย่างเช่นกลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทยกลุ่มบริษัทในเครือปตท
- 2.1 เครื่องหมายการค้า
- 3.การได้มาซึ่งความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ก็ต่อเมื่อนำเครื่องหมายการค้านั้นมายื่นขอรับความคุ้มครองและได้รับการจดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น - 4.เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์อย่างไร
อาจมองประโยชน์ได้ 2 ส่วน คือ- 4.1 ส่วนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้ามีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าให้กับผู้เป็นเจ้าของที่ใช้เครื่องหมายการค้าในกิจการของตนตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับชื่อเสียงในทางการค้า หรือที่เรียกว่า “กู๊ดวิลล์” (goodwill) แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และจำแนกความแตกต่างระหว่างสินค้าของตนกับของคู่แข่งได้ - 4.2 ส่วนของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำและแยกแยะสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้ตรงตามความต้องการและทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า หากสินค้านั้นมีความบกพร่องก็สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ - 5. สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า
แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ- 5.1 เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น แต่จะฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือเรียกค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีลวงขาย - 5.2 เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
เจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้และกรณีที่มีบุคคลอื่นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค้าเสียหาย หรือฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของตนได้ นอกจากนั้นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังสามารถโอนสิทธิหรือรับมรดกหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้เช่นกัน
- 5.1 เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
- 6.การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ก่อนการยื่นขอจดทะเบียนเจ้าของเครื่องหมายการค้าควรขอตรวจค้นข้อมูลเบื้องต้นในฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อนที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตน เพื่อตรวจค้นดูว่ามีเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าที่จะยื่นขอจดทะเบียนหรือไม่ เพราะหากมมีเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายหันกับเครื่องหมายการค้าที่จะยื่นขอจดทะเบียนได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็จะไม่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนได้ การขอตรวจค้นข้อมูลดังกล่าวสามารถขอตรวจค้นได้ทางอินเตอร์เน็ตหรือที่ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์โดยมีค่าธรรมเนียมชั่วโมงละ 100 บาท - 7.ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะจดทะเบียนได้ ต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 3 ประการ ดังนี้- 7.1 มีลักษณะบ่งเฉพาะ
หมายถึง เครื่องหมายการค้านั้นต้องเป็นเครื่องหมายที่ถูกทำให้มีลักษณะพิเศษ โดดเด่นเฉพาะตัว แต่ต้องไม่สื่อความหมายโดยตรงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เช่น คำที่ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีความหมายตามพจนานุกรม ลายมือชื่อ หรือภาพของเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นต้น - 7.2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
หมายถึง เครื่องหมายการค้านั้นต้องไม่มีหรือไม่ประกอบไปด้วยลักษณะต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้ เช่น ต้องไม่เป็นเครื่องหมายอันเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ธงประจำชาติ เครื่องหมายของหน่วยงานระหว่างประเทศ เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียง เป็นต้น - 7.3 ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น
หมายถึง เครื่องหมายการค้าที่จะจดทะเบียนได้ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้ผู้บริโภคสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการนั้น
- 7.1 มีลักษณะบ่งเฉพาะ
- 8.อายุความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและสามารถขอชำระค่าธรรมเนียมเพื่อต่ออายุความคุ้มครองออกไปได้ทุกๆ 10 ปี (เท่ากับว่ามีความคุ้มครองไม่สิ้นสุดหากเจ้าของชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุไปโดยตลอด) - 9.เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
- 9.1 แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ( แบบ ก.01)
จำนวน 6 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 5 ชุด) ให้กรอกข้อความในคำขอเป็นภาษาไทยให้ครบถ้วนโดยให้พิมพ์ดีดหรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ติดรูปเครื่องหมาย ที่ต้องการจดทะเบียน (ขนาด 5 x 5 ซ.ม.) และลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทน - 9.2 รูปเครื่องหมายการค้า
ที่เหมือนกับรูปที่ติดในคำขอจดทะเบียนจำนวน 5 รูป - 9.3 บัตรประจำตัวเจ้าของ
แบ่งเป็น กรณีบุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ กรณีนิติบุคคล ใช้ต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับนายทะเบียนรับรองและออกให้ไม่เกิน 6 เดือน - 9.4 สำเนาหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ อาจใช้แบบพิมพ์ ก. 18 และถ้าต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นภาษาไทยพร้อมรับรองความถูกต้อง
- 9.1 แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ( แบบ ก.01)
- 10. วิธีการและสถานที่ยื่นคำขอ
การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสามารถกระทำได้ 3 วิธี คือ- 10.1 ยื่นคำขอด้วยตนเองต่อนายทะเบียน
พร้อมชำระค่าธรรมเนียม ณ ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์หรือยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ - 10.2 ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญาพร้อมชำระค่าธรรมเนียมโดยธนาณัติสั่งจ่าย “ กรมทรัพย์สินทางปัญญา” - 10.3 ยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ต
พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามวิธีการที่กำหนดไว้ในเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th
- 10.1 ยื่นคำขอด้วยตนเองต่อนายทะเบียน
- 11. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะคิดตามจำนวนรายการสินค้าหรือบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้เป็นอย่างๆโดยแบ่งเป็น- 11.1 ค่าธรรมเนียมคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ผู้ขอต้องชำระค่าธรรมเนียมรายการสินค้าอย่างละ 500 บาท โดยชำระพร้อมการยื่นคำขอจดทะเบียน - 11.2 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เป็นการคิดค่าธรรมเนียมภายหลังจากนายทะเบียนได้พิจารณาคำขอจดทะเบียนแล้ว โดยนายทะเบียนจะแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมเมื่อครบกำหนดการประกาศโฆษณาและไมมีผู้ใดคัดค้านการจดทะเบียน ซึ่งผู้ขอต้องชำระค่าธรรมเนียมรายการสินค้าอย่างละ 300 บาท ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- 11.1 ค่าธรรมเนียมคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอ้างอิงจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ - 4.1 ส่วนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
- ที่มา : http://www.trueinnovationcenter.com/ip_trademark.php
ความคิดเห็น