ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้


โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ


       โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ  ได้มาจากแหล่งน้ำพุร้อนใต้พิภพที่มีอุณหภูมิสูงจนสามารถที่จะนำมาทำการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพจะมีการเจาะหลุมที่มีน้ำร้อนอุณหภูมิสูงเพื่อผลิตน้ำร้อน น้ำร้อนจะถูกปั๊มน้ำดูดเข้าถังต้มไอแล้วส่งเข้าไปขับดันเครื่องกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเครื่องกังหันไอน้ำก็จะหมุนไปด้วยผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้งาน ในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ เพื่อผลิตไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวคือ โรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
chiangmai

รูปโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง


โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถแบ่งได้ 4 ระบบดังนี้
1.Dry Steam Power Plant
เป็นระบบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพระบบแรก สร้างขึ้นในประเทศอิตาลี การทำงานนั้นจะอาศัยการต่อท่อจากแหล่งน้ำร้อน แล้วรับเอาเฉพาะไอน้ำเข้าสู่โรงไฟฟ้าโดยตรง ดังแสดงในรูป

Dryรูปโครงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบ Dry Steam Power Plant

2.Binary Steam Power Plant
หัวใจของโรงไฟฟ้าระบบนี้ คือ “การส่งผ่านความร้อน” โดยมีพระเอกคนสำคัญคือ Heat exchanger น้ำร้อนจะถูกส่งผ่านท่อเข้าสู่ heat exchanger ทำให้ระบบน้ำหมุนเวียนในโรงไฟฟ้าได้รับความร้อน เมื่อน้ำร้อนขึ้น ไอน้ำจะถูกส่งผ่านไปดันกังหัน… จากนั้นไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นน้ำเย็น แล้วถูกนำไปหมุนเวียนใช้เป็นน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่ง เป็นอย่างนี้เรื่อยไปdry2

รูปโครงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบ Binary Steam Power Plant

3.Flashed Steam Power Plant
โรงไฟฟ้าระบบนี้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยระบบนี้จะรับเอาน้ำร้อนขึ้นมาพักไว้ในถังก่อน แล้วจึงนำไอน้ำที่ได้ไปหมุนกังหันอีกทีหนึ่งdry3

รูปโครงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบ Flashed Steam Power Plant

4.Hybrid Steam Power Plant
โรงไฟฟ้าระบบนี้ เป็นการผสมผสานระหว่างสองเทคโนโลยีโรงฟ้าฟ้า คือ Binary Steam Power Plant และ Flashed Steam Power plant ร่วมกัน  สำหรับประเทศไทย แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมักจะพบอยู่ในลักษณะของ “น้ำพุร้อน” โดยบริเวณที่มีโอกาสพบแหล่งพลังงานชนิดนี้ คือ บริเวณ “แนวรอยเลื่อนมีพลัง” ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ , ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่ง แนวรอยเลื่อนมีพลัง คือ บริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 10,000 ครั้ง ในรอบหนึ่งปี ซึ่งความรุนแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับการสั่นสะเทือนในแต่ละครั้งไปDry4

รูปแสดงตำแหน่งแนวรอยเลื่อนมีพลัง(เส้นสีแดง)

ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
1.เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
2.เป็นพลังงานหมุนเวียนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
3.เป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเสียต้นทุนน้อยกว่าในการผลิตพลังงาน
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
1.แหล่งพลังงานบางแหล่งอยู่ลึกเกินกว่าที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้
2.แหล่งพลังงานบางแหล่งมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้
3.พลังงานความร้อนใต้พิภพจะมีเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น
ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com 

ความคิดเห็น