จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
พลังงานคลื่นทะเล (Ocean Tidal Energy) หมายถึง พลังงานของคลื่นผิวมหาสมุทร และการจับพลังงานเหล่านั้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้า การแยกเกลือออกจากน้ำ และการสูบน้ำ พลังงานคลื่นเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดรูปแบบหนึ่ง การผลิตไฟฟ้าจากคลื่นยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่แพร่หลาย และยังไม่มีการสร้างฟาร์มคลื่นในเชิงพาณิชย์
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเลสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด
1.โรงไฟฟ้าจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันของน้ำทะเล ผิวหน้าของน้ำทะเลจะสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ทำให้มีอุณหภูมิสูง สูงกว่าน้ำทะเลที่อยู่ลึกลงไป น้ำทะเลที่อยู่ผิวหน้าจะถูกดูดเข้าในชุดทำให้กลายเป็นไอ ได้ไอน้ำที่มีแรงดันต่ำไหลเข้าไปขับดันเครื่องกังหันไอน้ำซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็จะหมุนจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมา ในประเทศสก็อตแลนด์ได้มีการใช้โรงไฟฟ้าประเภทนี้มาเป็น 15 ปี ซึ่งที่ผ่านมา Pelamis 6 เครื่องได้ถูกนำมาใช้งานจริงกลางทะเลร่วม 10,000 ชั่วโมง โดยแต่ละเครื่องนั้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 750 กิโลวัตต์ (kW) โดยผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับศูนย์วิจัยพลังงานทางทะเลแห่งทวีปยุโรป (European Marine Energy Center: EMEC) บริเวณอ่าวทางตะวันตกของ Orkney
รูปโรงไฟฟ้าจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันของน้ำทะเล Pelamis Wave Power
2.โรงไฟฟ้าจากคลื่นทะเล ประสิทธิภาพของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการกระทำคลื่นในทะเลซึ่งในปัจจุบันมีการออกแบบการใช้พลังงานจากคลื่นในหลายๆแบบ ยกตัวอย่างเช่น เครื่อง Oyster เครื่องจักรพลังงานคลื่นของบริษัท Aquamarine Power ใช้การออกแบบที่เรียบง่าย ในลักษณะที่เป็นปั๊มน้ำพลังงานคลื่น โดยมีโครงสร้างคล้ายใบพายขนาดใหญ่ ตั้งในความลึกน้ำระดับ 10 – 15 เมตร หรือราว 500 เมตรนอกชายฝั่ง เมื่อใบพายเคลื่อนที่ด้วยแรงคลื่น ก็จะอัดแรงดันใส่น้ำให้ไหลไปตามท่อใต้ทะเล เพื่อให้น้ำไปเข้าระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำตามปกติ เป็นการออกแบบที่ย้ายความยุ่งยากจากกลางทะเลไปสู่ชายฝั่ง ที่ง่ายต่อการบำรุงรักษามากกว่า ปัจจุบัน Oyster รุ่น 800 อยู่กลางทะเลมาแล้วราว 2 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่ายาวนานที่สุดของเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าจากคลื่น โดยเลือกที่จะวางไว้ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมค่อนข้างโหดร้ายและรุนแรงอย่างอ่าวในสก็อตแลนด์
รูปโรงไฟฟ้าจากคลื่นทะเล Oyster
3.โรงไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงของน้ำทะเล คลื่นไม่ใช่พลังงานเดียวในทะเลแต่แรงโน้มถ่วงที่เกิดจากพระอาทิตย์และพระจันทร์ยังทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงอีกด้วย ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นวันละสองครั้ง การเคลื่อนไหวในแนวราบของทะเลนับว่าเป็นพลังงานที่สามารถคาดการณ์และคำนวณได้ไม่ยาก จึงกลายเป็นที่จับตามองของหลายบริษัท ล่าสุด เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา บริษัท MeyGen ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งกังหันใต้น้ำ บริเวณ Pentland Firth หรือบริเวณที่ลำคลองเชื่อมต่อกับทะเล ประเทศสก็อตแลนด์ และจากการศึกษาล่าสุดโดยวิศวกรจากมหาวิทยาลัย Oxford และ Edinburgh พบว่า หากนำกังหันไปติดตั้งในบริเวณปากแม่น้ำขนาดใหญ่ จะทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้คิดเป็นร้อยละ 43 ของความต้องการไฟฟ้าในสก็อตแลนด์ หรือราว 1.9 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งโครงการของบริษัท Meygen จะเป็นโครงการไฟฟ้ากังหันน้ำโครงการแรกที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อการค้า
รูปโรงไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงของทะเล
ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเล
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเล
- โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเลมีความสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้ในเวลาอันรวดเร็ว
- ชิ้นส่วนของของเครื่องกลพลังงานน้ำส่วนใหญ่ จะมีความคงทน มีอายุการใช้งานกว่าเครื่องจักรอย่างอื่น
- สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จำนวนมหาศาลเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด/ไม่มีวันสิ้นสุด สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การผลิตพลังงานจากคลื่นมีความคุ้มทุนเมื่อสถานที่ที่จะติดตั้งโครงสร้างดังกล่าวมีความเหมาะสม
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเล
- จำนวนเงินที่จะนำมาลงทุนต้องมากมายมหาศาล
- ให้พลังงานที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของคลื่น และแรงลมที่พัดผ่านต้องอาศัยพื้นที่กว้างใหญ่มาก
- สิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากพลังงานคลื่นทะเลมีราคาสูง สถานที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งโครงสร้างการผลิตพลังงานหาได้ยากมาก อีกทั้ง เทคโนโลยีในการผลิตพลังงานคลื่นทะเลนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com/โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทะเล
ความคิดเห็น