ดีเทอร์มิเนนท์ คือวิธีการหาค่าตัวแปรแบบหนึ่งในหลายๆวิธี โดยการนำค่าต่างๆ ในสมการที่ต้องการหาค่าตัวแปร มาจัดวางให้อยู่ในรูปแบบของเมทริกซ์และทำการหาค่าด้วยวิธีการตามขั้นตอน
เมทริกซ์ คือกลุ่มของจำนวน ใดๆ เขียนเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือจัตุรัส
กล่าวคือเรียงเป็นแถวในแนวนอน และเรียงเป็นแถวในแนวตั้ง
เรามักเขียนเมทริกซ์เป็นตารางที่ไม่มีเส้นแบ่งและเขียนวงเล็บคร่อมตารางไว้ (ไม่ว่าจะเป็นวงเล็บโค้งหรือวงเล็บเหลี่ยม) เช่น
เราเรียกแถวในแนวนอนของเมทริกซ์ว่า แถว เรียกแถวในแนวตั้งของเมทริกซ์ว่า หลัก และเรียกจำนวนแต่ละจำนวนในเมทริกซ์ว่า สมาชิก ของเมทริกซ์ การกล่าวถึงสมาชิกของเมทริกซ์ จะต้องระบุตำแหน่งให้ถูกต้อง
เช่น จากตัวอย่างข้างบน
สมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 2 หลักที่ 3 คือเลข 4
สมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 2 หลักที่ 2 คือเลข 15
สมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 3 หลักที่ 1 คือเลข 5
ตัวอย่างที่
1 หาค่าตัวแปร 2 ตัวแปร มีวิธีการทำ ดังนี้
จากสมการ 5I1 + 4I2
= 9…………………①
10I1 + 5I2
= 6………………..②
จงหาค่าของตัวแปร
I1 และ I2
วิธีทำ
นำสมการมาเขียนให้อยู่ในรูปของเมทริกซ์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 ประกอบด้วยค่าคงที่ของตัวแปรจากสมการ (ใช้สำหรับหาค่าดีเทอร์มิแนนท์)
ชุดที่ 2 ประกอบด้วยตัวแปรที่ต้องการหาค่าในสมการ
ชุดที่ 3 ประกอบด้วยค่าคงที่ของค่าด้านขวามือของสมการ
โดยสมการแรกจะเขียนในแถวที่
1 และสมการที่ 2 เขียนในแถวที่ 2 หากมี 3 สมการ ก็ให้เขียนเรียงลงไปในแถวต่อไป จากสมการตามตัวอย่างที่
1 สามารถเขียนได้ ดังนี้
เมื่อนำสมการมาเขียนให้อยู่ในฟอร์มของเมทริกซ์แล้ว
ต่อไปก็ให้ทำการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์ ดังนี้
1.
หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ โดยใช้ตัวเลขส่วนที่ 1
โดยนำตัวเลขหลักที่
1 มาคูณไขว้กับเลขหลักที่ 2 โดย คูณลง ค่าจะเป็น + คูณขึ้น ค่าจะเป็นลบ และนำผลคูณของทั้ง 2 ชุด
มารวมกัน
ดังนั้น หากเราให้ D แทน ดีเทอร์มิแนนท์ จะได้
D = (5 x 5) – (10 x 4)
= 25 – 40
= -15
2. หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ของ I1 โดยใช้ตัวเลขชุดที่ 3 ไปแทนหลักที่ 1
ของดีเทอร์มิแนนท์ และใช้วิธีการเดียวกับการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์
ดังนั้น
หากเราให้ DI1
แทน
ดีเทอร์มิแนนท์ของ I1 จะได้
DI1 = (9 x 5) – (6 x 4)
= 45 – 24
= 21
3. หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ของ I2 โดยใช้ตัวเลขชุดที่ 3 ไปแทนหลักที่ 2 ของดีเทอร์มิแนนท์ และใช้วิธีการเดียวกับการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์
ดังนั้น หากเราให้ DI2 แทน ดีเทอร์มิแนนท์ของ I2
จะได้
DI2 = (5 x 6) – (10 x 9)
= 30 – 90
= -60
4. จากนั้น
ก็สามา
รถหาค่า I1 และ I2 ได้ดังนี้
รถหาค่า I1 และ I2 ได้ดังนี้
I1 = DI1
/ D
= 21 ÷ (-15)
= -1.4 A
I2 = DI2
/ D
= -60 ÷ (-15)
= 4 A
5. ตรวจสอบคำตอบที่ได้ โดยนำไปแทนค่าในสมการใดสมการหนึ่ง
แทนค่า I1 และ I2 ในสมการที่ 1
5I1 + 4I2 = 9
(5 x -1.4) + (4 x 4) = 9
-7 + 16 = 9
9 = 9
ผลลัพธ์ระหว่างเครื่องหมายเท่ากับ มีค่าเท่ากัน แสดงว่าคำตอบถูกต้อง
5. ตรวจสอบคำตอบที่ได้ โดยนำไปแทนค่าในสมการใดสมการหนึ่ง
ตัวอย่างที่
2 หาค่าตัวแปร 3 ตัวแปร มีวิธีการทำ ดังนี้
จากสมการ 7I1 + 3I2
+ 4I3 = 15…………………①
5I1
+ 5I3 = 12………………..②
5I1 + 4I2 + 3I3 = 13…………………③
จงหาค่าของตัวแปร
I1 , I2 และ I3
วิธีทำ
นำสมการมาเขียนให้อยู่ในรูปของเมทริกซ์
ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ชุด ดังนี้
1.
หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ โดยใช้ส่วนที่ 1 แต่ให้นำหลักที่ 1 และ 2 เพิ่มไปเป็นหลักที่
4 และ 5
และนำเลขหลักที่ 1 , 2 และ
3 ในแถวที่ 1 คูณทแยงลงมา จะได้ค่าเป็นบวก และ นำเลขหลักที่ 1 , 2 และ
3 ในแถวที่ 3 คูณทแยงขึ้น จะได้ค่าเป็นลบ และให้นำค่าทั้งสองมารวมกัน ดังภาพ
จะได้
D
= (7 x 0 x 3) + (3 x 5 x 5) + (4 x 5 x 4) – (5 x 0 x 4) – (4 x 5 x 7) – (3 x 5
x 3)
= 0 + 75 + 80 – 0 – 140 – 45
= -30
2. หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ I1 โดยใช้เลขชุดที่ 3 แทนหลักที่ 1 ของดีเทอร์มิแนนท์ และให้นำหลักที่
1 และ 2 เพิ่มไปเป็นหลักที่ 4 และ 5 และหาค่าเหมือนการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์ ดังภาพ
จะได้ DI1 = (15 x 0 x 3) + (3
x 5 x 13) + (4 x 12 x 4) – (13 x 0 x 4) – (4 x 5 x 15) – (3 x 12 x 3)
= 0 + 195 + 192 – 0 – 300 – 108
= -21
3.
หาค่าดีเทอร์มิแนนท์ I2 โดยใช้เลขชุดที่ 3 แทนหลักที่
2 ของดีเทอร์มิแนนท์ และให้นำหลักที่ 1 และ 2 เพิ่มไปเป็นหลักที่ 4 และ 5
และหาค่าเหมือนการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์ ดังภาพ
จะได้
DI2 = (7 x 12 x 3) + (15 x 5 x 5) +
(4 x 5 x 13) – (5 x 12 x 4) – (13 x 5 x 7) – (3 x 5 x 15)
= 252 + 375 + 260 – 240 – 455 – 225
= -33
= -33
จะได้ DI3 = (7 x 0 x 13) + (3
x 12 x 5) + (15 x 5 x 4) – (5 x 0 x 15) – (4 x 12 x 7) – (13 x 5 x 3)
= 0 + 180
+ 300 – 0 – 336 – 195
= -51
5. จากนั้น ก็สามารถหาค่า I1 , I2 และ I3 ได้ดังนี้
I1 = DI1
/ D
= -21 ÷ (-30)
= 0.7 A
I2 = DI2
/ D
= -33 ÷ (-30)
= 1.1 A
I3 = DI3
/ D
= -51 ÷ (-30)
= 1.7 A
6.
ตรวจสอบคำตอบโดยการนำค่าที่หาได้ ไปแทนค่าในสมการใด สมการหนึ่ง เช่น
จากคำตอบ
นำไปแทนค่าใน ①
7I1 + 3I2 + 4I3
= 15
(7 x 0.7) + (3 x 1.1) + (4 x
1.7) = 15
4.9 + 3.3 + 6.8 = 15
15 = 15
ผลลัพธ์
ค่าทั้งสองข้างของสมการมีค่าเท่ากัน แสดงว่าถูกต้อง
- โปรแกรมหาค่าตัวแปรของสมการ ด้วยดีเทอร์มิแนนท์ ออนไลน์
ความคิดเห็น