ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจร R – L – C อนุกรม

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
                
               การต่อวงจรความต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุแบบอนุกรม สามารถหาคุณสมบัติต่างๆ ของวงจรได้ดังนี้
ภาพที่ 1  แสดงวงจร R – L C ต่อแบบอนุกรม

จากวงจรด้านบนสามารถหาค่าต่างๆ ได้ดังนี้
          ก่อนที่จะดำเนินการหาค่าต่างๆ ในวงจร จะต้องทำการหาค่าความต้านทานเชิงซ้อนของโหลดในวงจรก่อน คือค่า XL , XC  และ  Z  ซึ่งเป็นค่าที่เราจะใช้หาค่าต่าง ๆ ในวงจรอนุกรม  ซึ่งสามารถหาได้ตามลำดับดังนี้
                   
หาค่าความต้านทานเชิงซ้อนของขดลวดXL )
  XL = 2pfL
       = 2 x 3.14 x 100 x 50 x 10-3
       = 31,400 x 10-3
       = 31,400 / 103    = 31,400 / 1,000
       = 31.4 Ð90°   

หาค่าความต้านทานเชิงซ้อนของตัวเก็บประจุXC )
XC = 1 / 2pfC
      = 1 /  ( 2 x 3.14 x 100 x 80 x 10-6 )
     = 1 /  ( 50,240 x 10-6  )  = 106  / 50,240
      = 1,000,000 /  50,240

      = 19.9 Ð-90°   

ข้อควรจำ เกี่ยวกับมุมของ  R – XL  XC    
                  1. มุมของ  R จะเท่ากับ 0 องศาเสมอ
                  2. มุมของ  Xจะเท่ากับ 90 องศาเสมอ 
                  3. มุมของ  Xจะเท่ากับ -90 องศาเสมอ
  
                                      ภาพที่ 2  แสดงวงจรเมื่อเปลี่ยนค่า L เป็น XL และ  C เป็น XC 

หาความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจร ( Z )

ข้อควรจำ เกี่ยวกับมุมของอิมพีแดนซ์   Z )
                 1. หากค่า  XL มากกว่า  XC      มุมของ  Z  จะมีค่าเป็น บวก 
                 1. หากค่า  XL น้อยกว่า  XC      มุมของ  Z  จะมีค่าเป็น ลบ 
         
      เมื่อได้ค่าคุณสมบัติของความต้านทานต่างๆ ครบแล้ว ก็สามารถหาค่าต่างๆ ต่อไปได้ดังนี้

 หาค่ากระแสของวงจร 
     I = E / Z
      = 40Ð0°  /  32 Ð21°    
      = 1.25Ð-21°  A


หาค่าแรงดันตกคร่อมโหลดต่างๆ
1.               1.  หาค่า VR (แรงดันตกคร่อมความต้านทาน)
หาได้จากสูตร
VR  = IR
      = 1.25 Ð-21°  x 30 Ð0° 
     = 37.5 Ð-21°  V

2.               2.  หาค่า VL (แรงดันตกคร่อมตัวเหนี่ยวนำ)
หาได้จากสูตร
VL  = IXL
      = 1.25 Ð-21°  x 31.4 Ð90° 
     = 39.25 Ð69°  V


1.               3. หาค่า VC (แรงดันตกคร่อมตัวเก็บประจุ)
หาได้จากสูตร
VC  = IXC
      = 1.25 Ð-21°  x 19.9 Ð-90° 
     = 24.88 Ð-111°  V


หาค่ามุมของเฟส
   หรือเท่ากับค่ามุมของ Z นั่นเอง

หาค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ( pf )
Pf = cosq
    = cos 21°
     = 0.934

หากำลังไฟฟ้าในวงจร
กำลังไฟฟ้าปรากฏS = EI
          = 40 x 1.25
          = 50  VA  
                    
กำลังไฟฟ้าจริง,   P = EIcosq
          = 40 x 1.25 x cos21°
       = 40 x 1.25 x 0.934
       = 46.7  W

กำลังไฟฟ้าต้านกลับ  Q   = EIsinq
                   = 40 x 1.25 x sin21°
              = 40 x 1.25 x 0.358
                              = 17.9  VAR


นำค่าต่าง ๆ ที่คำนวณได้มาเขียนเป็นเฟสเซอร์ไดอะแกรม  ได้ดังนี้


ภาพที่ 3 แสดงเฟสเซอร์ไดอะแกรม ของวงจร 


ความคิดเห็น

Benz กล่าวว่า
กรณีมี c 2ตัว ต้อง+กัน หรือ คิดแยกครับ
ครูตุ้ง กล่าวว่า
กรณี ต่อ C อนุกรม กัน 2 ตัว ในวงจร ถ้าคิดแบบง่ายๆ ให้คิดค่าความต้านทานเชิงซ้อน ( XL ) ของค่า C แยกกันก่อนครับ เมื่อได้ค่าความต้านทานเชิงซ้อนของแต่ละตัว แล้วค่อยนำมาบวกกันครับ จะทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะนำค่า C มาบวกกันก่อนแล้วหาค่าความต้านทานเชิงซ้อนไม่ได้ เพราะในวงจรอนุกรม หากนำตัว C มาต่ออนุกรมกัน ค่า C รวมจะมีค่าลดลง เช่น C ขนาด 100 ไมโครฟาราด 2 ตัวต่ออนุกรมกัน ค่า C รวมจะได 50 ไมโครฟาราด ดังนั้นถ้าเรานำมาบวกกัน จะได้ 200 ไมโครฟาราด เมื่อนำไปหาค่าความต้านทานเชิงซ้อน ( XL ) จะทำให้ได้ค่าลดลง เนื่องจากในสูตร ค่า C จะเป็นตัวหาร ซึ่งไม่ถูกต้อง (แต่ถ้าเราหาค่า C รวมในวงจรอนุกรมถูก จะคิดอะไรก่อนหลังก็ได้ครับ) ถ้ายังไม่เข้าใจ ให้ไปศึกษาการต่อวงจรตัวเก็บประจุ ( C ) เพิ่มเติมครับ