ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจร R - C ขนาน

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

ลักษณะการต่อวงจร R – C ขนาน

             การต่อวงจรความต้านทานและตัวเก็บประจุขนานกัน จะสามารถหาค่าต่างๆ ของวงจรได้ดังนี้
จากวงจร จงหาค่า
              1. กระแสที่ไหลผ่าน R, C และกระแสทั้งหมด
              2. มุมของเฟส ( q )
              3. เพาเวอร์แฟคเตอร์ ( pf )
              4. กำลังไฟฟ้าจริง  ( P ) กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( S ) และกำลัง ไฟฟ้าต้านกลับ ( Q )
              5. เขียนเฟสเซอร์ไดอะแกรมของแรงดันและกระแส

               โดยปกติก่อนที่เราจะหาค่าต่างๆ ได้ จะต้องเริมต้นด้วยค่าพื้นฐานของวงจรก่อน ซึ่งถ้าเป็นวงจรแบบขนานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับเราจะนิยมหาคุณสมบัติของวงจรเป็นค่าความนำของโหลด ซึ่งในวงจรนี้ คือค่า G, BC และ Y ซึ่งสามารถหาค่าได้ดังนี้



     เมื่อหาคุณสมบัติความนำของวงจรได้แล้วก็เริ่มหาคุณสมบัติต่างๆ ของวงจรได้ดังนี้

1. หาการะแสของวงจร
    กระแสที่ไหลผ่านความต้านทาน R
    IR = EG  = 80Ð0° X 0.013Ð0°  =  1Ð0° A

   กระแสที่ไหลผ่านตัวเหนียวนำ  L
    IC = EBC  = 80Ð0° X 0.0188Ð90°  =  1.5Ð90° A

   กระแสทั้งหมดของวงจร
    It = EY  = 80Ð0° X 0.0228Ð55.3°  =  1.8Ð55.3° A


2. หามุมของเฟส ( q


3. หาเพาเวอร์แฟคเตอร์ ( pf )

pf = cosq = cos 55.3° = 0.569

4. หากำลังไฟฟ้าจริง  ( P ) กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( S ) และกำลัง ไฟฟ้าต้านกลับ ( Q )

S = EIt = 80 X 1.8  =  144 VA
P = EItcosq = 80 X 1.8 X 0.569 =  82 W
Q = EIt sinq  = 80 X 1.8 X sin55.3° = 50 X 1.66 X 0.822  = 118.4 VAR


5. เขียนเฟสเซอร์ไดอะแกรมของแรงดันและกระแสได้ดังนี้


จากรูปเฟสเซอร์ไดอะแกรมของวงจร R – C ขนาน เราจะสังเกต ได้ดังนี้
1.       IR และ E  จะอยู่เฟสเดียวกัน ( มีมุมเท่ากัน )
2.       It จะนำหน้า  E เท่ากับมุม  q
3.       IR จะตามหลัง IC  และจะทำมุมกัน 90 องศา
4.       ผลรวมของ IR และ IC จะมีค่าเท่ากับกระแสทั้งหมดในวงจร  คือ It


ความคิดเห็น