ทฤษฎีของนอร์ตัน
(Norton’s
Theorem) กล่าวว่า “ในวงจรไฟฟ้าแบบเชิงเส้น
(Linear Network) ใด ๆ สามารถยุบรวมวงจรไฟฟ้าใหม่ได้ให้กลายเป็นวงจรไฟฟ้าที่มีแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าตัวหนึ่ง
ต่อขนานกับค่าความต้านทานตัวหนึ่ง” ซึ่งแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าตัวนั้นเราจะเรียกว่า
กระแสไฟฟ้าของนอร์ตัน (Norton’s Currrent) จะแทนด้วย IN
และค่าความต้านทานที่ต่อขนานกับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าของนอร์ตันจะเรียกว่าค่าความต้านทานของนอร์ตัน
(Norton’s Resistance ) จะแทนด้วย RN เราสามารถเขียนวงจรเทียบเท่าของนอร์ตัน
ได้ดังนี้
โดยการหาค่า IN และ RN เราสามารถหาได้ดังนี้
โดยการหาค่า IN และ RN เราสามารถหาได้ดังนี้
ตัวอย่าง
จากวงจร จงหาค่ากระแสที่ไหลผ่าน ความต้านทาน RL
วิธีทำ
วิธีการหาค่า RN หาได้โดย (เหมือนการหา ความต้านทานของเธวินิน)
1. ถอดค่าความต้านทานที่ต้องการหาค่ากระแสไหลผ่านออก
2. ถอดแหล่งจ่ายไฟฟ้าออก
ซึ่งแหล่งจ่ายไฟฟ้าจะมี 2 ลักษณะ คือ
- แหล่งจ่ายแรงดัน
ให้ถอดออกแล้วทำการลัดวงจรจุดที่ถอดแรงดันออก
- แหล่งจ่ายกระแส ให้ถอดแหล่งจ่ายออกโดยไม่ต้องทำการลัดวงจรจุดที่ถอดแหล่งจ่ายกระแส
3. หาค่าความต้านทาน RN
ซึ่งก็คือจุดที่เราถอดความต้านทานที่ต้องการหากระแสไหลผ่านออกนั่นเอง
จากวงจรด้านบนทีจุด AB จะเห็นว่ามีความต้านทาน ขนาด 10 W ต่อขนานกัน ซึ่งสามารถหาค่าความต้านทานรวมของวงจรขนาน กรณี ค่าความต้านทานที่ขนานกันมีค่าเท่ากันได้จากสูตร ดังนี้
RN = 10 / 2 = 5 W
วิธีการหาค่า
IN หาได้โดย
1. ถอดค่าความต้านทานที่ต้องการหาค่ากระแสไหลผ่านออก
และลัดวงจรจุดที่ถอดความต้านทานตัวนั้นออก และหากระแสที่ไหลผ่านจุดที่ลัดวงจรไว้
ซึ่งก็คือ IN นั่นเอง
2. และหากระแสที่ไหลผ่านจุดที่ลัดวงจรไว้ ซึ่งก็คือ IN นั่นเอง (ในที่นี้จะหากระแสด้วยวิธีแมชเคอร์เร้นท์)
ที่
ลูป I1 จะได้
10I1
+ 30 – 50 = 0
10
I1 – 20 = 0
10
I1 = 20
I1 = 20 / 10
= 2 A
ที่
ลูป I2 จะได้
10I2
+ 30 – 20 = 0
10
I2
+ 10 = 0
10 I2 = -10
I2
= -10 / 10
= -1 A
IN = I1 +
I2
= 2 + (-1)
= 2 – 1
= 1 A
เมื่อได้ RN และ IN ให้นำมาเขียนวงจรเทียบเท่านอร์ตัน ได้ดังนี้
เมื่อได้วงจรเทียบเท่านอร์ตันแล้วให้นำความต้านทานที่ปลดออกมาต่อขนานเข้าไปในวงจร
จะได้
วงจรดังรูป
จะสามารถหากระแสที่ไหลผ่าน
RL โดยใช้กฎการแบ่งกระแส ได้ดังนี้
IL
= IN
x (RN / (RN + RL))
= 1 x ( 5 / (5 + 20 )
= 1 x ( 5 / 25)
= 1 x 0.2
= 0.2 A ตอบ
ความคิดเห็น