ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การแปลงความต้านทานสตาร์-เดลต้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
         
         วิธีแปลงความต้านทานจากสตาร์เป็นเดลต้า

          หาความต้านทานรวมที่จุดต่าง ๆ เมื่อความต้านทานต่อแบบสตาร์
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด AB
                             RAB = RC + RB = 10 + 5 = 15 W
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด BC
                             RBC = RB + RA = 5 + 15 = 20 W
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด CA
                             RCA = RA + RC = 15 + 10 = 25 W

             จากวงจร  RA  RB  และ  RC  ต่อกันอยู่แบบสตาร์   เราสามารแปลงให้อยู่ในรูปเดลต้าได้ ดังภาพ 
           เมื่อแปลงเป็นเดลต้า เราสมมติให้กลายเป็น  R1  R2  และ  R3 
           โดยเราสามารถหาค่า ความต้านทานแต่ละตัวที่แปลงมาเป็นแบบเดลต้าได้จาก
           ความต้านทานที่แปลงจะเท่ากับผลบวกของผลคูณของความต้านทานแต่ละคู่ในวงจรสตาร์ทั้งหมด หารด้วย ความต้านทานแบบสตาร์ตัวที่ไม่ได้ต่อกับความต้านทานแบบเดลต้า

จากภาพวงจรด้านบน
           ถ้าเราให้ ความต้านทานแบบสตาร์ (RS) เท่ากับ ผลบวกของผลคูณของความต้านทานแต่ละคู่ในวงจรสตาร์ทั้งหมด
           จะได้       RS = (RA x RB) + (RB x RC) + (RC x RA)

          \ ตามภาพในวงจร จะได้
                        RS = (15 x 5) + (5 x 10) + (10 x 15)
                            = 75 + 50 + 150
                            = 275 W
           หลังจากนั้น   ให้นำค่า RS   มาหาค่าความต้านทานที่แปลงจากวงจรสตาร์ มาเป็นแบบเดลต้า โดนการนำ R มาหารด้วยความต้านทานตัวที่ไม่ได้ต่อกับความต้านทานตัวที่แปลง จะได้ตามสูตร ดังนี้

                   R1   =  RS / RA  = 275 / 15    = 18.33 W
                   R2   =  RS / RB    = 275 / 5     = 55 W
                   R3   =  RS / RC   = 275 / 10   = 27.5 W
          เขียนเป็นวงจรใหม่ได้  ดังนี้

          หาความต้านทานรวมที่จุดต่าง ๆ เมื่อความต้านทานแปลงมาต่อแบบเดลต้า
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด AB
                             RAB = (R2 + R3) // R1 = (55 + 27.5) // 18.33 = 82.5 // 18.33
                                  = ( 82.5 x 18.33 ) / ( 82.5 + 18.33 )       =  1512 / 100.83
                                  = 15 W
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด BC
                             RBC = (R1 + R2) // R3 = (18.33 + 55) // 27.5 = 73.3 // 27.5
                                  = ( 73.3 x 27.5 ) / ( 73.3 + 27.5 )       =  2015 / 100.8
                                  = 20 W
          หาค่าความต้านทานรวมที่จุด CA
                             RCA = (R1 + R3) // R2 = (18.33 + 27.5) // 55 = 45.8 // 55
                                  = ( 45.8 x 55 ) / ( 45.8 + 55 )       =  2519 / 100.8
                                  = 25 W
          จะเห็นว่า ความต้านทานรวมที่จุดต่างๆ ของสองวงจรก่อนแปลงและหลังแปลง  มีผลลัพธ์เท่ากันทุกตำแหน่ง ตามหลักการของการแปลง

            ข้อสังเกต  ความต้านทานที่แปลงจากแบบสตาร์เป็นแบบเดลต้า จะมีค่าเพิ่มขึ้น
                       หากความต้านทานแบบสตาร์ทุกตัวมีค่าเท่ากัน ความต้านทานแบบเดลต้าจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าของความต้านทานแบบสตาร์ เท่ากันทุกตัว หรือเท่ากับความต้านทานแบบสตาร์คูณด้วย 3


ความคิดเห็น