ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดเก็บข้อมูล

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

การจัดเก็บข้อมูล
เมื่อเห็นความสำคัญของข้อมูลแล้ว ทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นให้คงอยู่รวมถึงทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลนั้นได้อย่างรวดเร็ว โดยมากแล้วจะรวมไว้ในระบบฐานข้อมูล ซึ่งนำมาใช้ในการจัดเก็บ การเข้าถึง และประมวลผลข้อมูล ข้อดีในการนำฐานข้อมูลไปใช้องค์กรหรือหน่วยงาน เช่น
 การจัดเก็บอย่างมรประสิทธิภาพ สามารถลดถาระการเก็บเอกสารเป็นกระดาษได้รวมถึงการทำซ้ำเพื่อสำรองข้อมูล สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว
 การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลประวัติการบำรุงรักษารถยนต์ และข้อมูลประวัติคนไข้ ผู้ใช้ที่ต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลและนำข้อมูลที่ต้องการไปใช้ได้
การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กร เช่น ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกหน่วยงานได้ แต่ผู้ใช้ทั่วไปในแผนกการเงิน ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติของฝ่ายบุคคลได้ เป็นต้น
2.4.1 ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล ก่อนจะกล่าวถึงลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูลสิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงก่อน คือ ลำดับชั้นล่างสุดของการแทนข้อมูล นั่นคือ การแทนข้อมูลด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัวคือ ‘0’ และ ‘1’ ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกเลขฐานสองหนึ่งหลักนี้ว่า 1 บิต (bit) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดของข้อมูล และหากนำบิตมาต่อกันเป็นจำนวน 8 บิต จะเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) ตัวอย่างการแทนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ดังรูป
1เขตข้อมูล (field) เมื่อนำข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆ ที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล เราจะจัดข้อมูลที่เป็นบิตนี้มารวมกันเพื่อแทนความหมายบางอย่าง หน่วยย่อยที่สุดที่มีความหมายในฐานข้อมูลนี้เรียกว่า เขตข้อมูล โดยเขตข้อมูลอาจจะแทนข้อมูลดังตัวอย่างต่อไปนี้
จำนวนเต็ม (integer) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวเลขขนาด 32 บิต ซึ่งขนาดของตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิต สามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 (-231 ถึง 231 -1) แต่ถ้าเป็นเขตข้อมูลที่ระบุไว้ว่า เป็นตัวเลขที่ระบุเครื่องหมาย (unsigned integer) เท่านั้น จะสามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ 0 ถึง 4,294,967,295 (232  -1)
จำนวนทศนิยม (decimal number) ในคอมพิวเตอร์ จะเก็บตัวเลขทศนิยม โดยใช้ระบบโฟลททิงพอยต์ (floating point) ซึ่งในการเก็บลักษณะนี้ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวสำหรับตำแหน่งของจุด โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลตัวเลขจะมีสองขนาดคือ 32 บิต หรือ 64 บิต
ข้อความ (text) ในการแทนข้อความนั้น จะต้องเปลี่ยนข้อความให้เป็นตัวอักขระแต่ละตัวเสียก่อน ตามมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้เป็นรหัสแอสกี (ASCII code) ซึ่งต่อมามีการใช้รหัสแบบยูนิโคด(Unicode) ที่สามารถแทนภาษาได้หลายภาษามากกว่าแอสกี ความยาวของเขตข้อมูลประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอักขระในข้อความ
วันเวลา (date/time)  ข้อมูลที่เป็นวันเวลา เช่น วันที่เริ่มใช้งาน วันลงทะเบียน และวันที่ซื้อสินค้า  มีความแตกต่างจากข้อมูลประเภทอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องมีชนิดของข้อมูลเป็นวันเวลา เพื่อรองรับเขตข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นวันเวลา
ไฟล์ (file)  เขตข้อมูลบางประเภทใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ ซึ่งเขตข้อมูลประเภทนี้จะเป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่ โดยปกติแล้วจะมีความยาวมากกว่าเขตข้อมูลประเภทอื่นๆ โดยเขตข้อมูลนี้จะเก็บข้อมูลในลักษณะเป็นบิตเรียงต่อกัน
                ตัวอย่างการกำหนดชื่อและขนาดของเขตข้อมูล  ดังรูปที่ 2.16


เขตข้อมูล
ตัวอย่างข้อมูล
ขนาดข้อมูล
รหัสนักเรียน
5200001
ตัวอักษร  7 ตัว
ชื่อ
ก่อเกียรติ
ตัวอักษร  30 ตัว
นามสกุล
รักชาติยิ่งชีพ
ตัวอักษร  30 ตัว
ที่อยู่
48/2 รามคำแหง กรุงเทพฯ
ตัวอักษร  50 ตัว
รูปที่ 2.16 ตัวอย่างการกำหนดชื่อและขนาดของเขตข้อมูล

2) ระเบียน (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเขตข้อมูลแต่ละส่วนอาจจะเป็นข้อมูลต่างชนิดกัน ระเบียนแต่ละระเบียนจะประกอบด้วยโครงสร้างเขตข้อมูลที่เหมือนกัน ตัวอย่างระเบียน ดังรูปที่ 2.17
เกร็ดน่ารู้
การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนจริงในเครื่องคอมพิวเตอร์จะเก็บตามมาตรฐาน IEEE 754 ซึ่งตัวอย่างของการเก็บข้อมูลจะเป็นดังนี้

20.65625 เมื่อแปลงเป็นเลขฐานสองจะได้ 10100.10101 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0100.10101 x 2 จะถูกเก็บเป็น

รหัสนักเรียน
ชื่อ
นามสกุล
ที่อยู่
5200001
ก่อเกียรติ
รักชาติยิ่งชีพ
48/2 รามคำแหง กรุงเทพฯ
รูปที่ 2.17 ตัวอย่างระเบียน


3) ตาราง (table)  คือ กลุ่มของระเบียน ซึ่งเขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในตารางจะเก็บข้อมูลหลายๆระเบียน แต่ละระเบียนจะมีโครงสร้างเหมือนกันในตาราง นอกจากจะเก็บข้อมูลหลายระเบียนแล้ว ยังสามารถอ้างถึงระเบียนแต่ละระเบียนได้อีกด้วย ตัวอย่างตารางข้อมูลนักเรียน  ดังรูปที่ 2.18
  
รหัสนักเรียน
ชื่อ
นามสกุล
ที่อยู่
5200001
ก่อเกียรติ
รักชาติยิ่งชีพ
48/2 รามคำแหง กรุงเทพฯ
5200002
ก่อการ
รักชาติเหมือนกัน
20 พหลโยธิน กรุงเทพฯ
รูปที่ 2.18 ตัวอย่างตารางข้อมูลนักเรียน

           4) ฐานข้อมูล (database)  เป็นที่รวมของตารางหลายๆตารางเข้าไว้ด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เก็บข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกันบางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่น ในขณะที่บางตาราง อาจต้องเชื่อมโยงกับเขตข้อมูลของตารางอื่นๆ
                ตัวอย่างรูปของฐานข้อมูล แสดงไว้ในรูปที่  2.19 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเก็บข้อมูลของนักเรียน มีตารางซึ่งเก็บข้อมูลของนักเรียน โดยมีเขตข้อมูลเป็น รหัสนักเรียน ชื่อ นักเรียน นามสกุล และที่อยู่  และอีกตารางหนึ่งซึ่งเก็บข้อมูลสุขภาพของนักเรียน โดยมีเขตข้อมูลเป็น รหัสนักเรียน ส่วนสูง น้ำหนัก และวันที่เก็บข้อมูล (วันที่วัด)



รูปที่ 2.19 แสดงตัวอย่างฐานข้อมูลซึ่งส่วนหนึ่งใช้เก็บข้อมูลนักเรียน
มุมนักคิด 2.3

               ถ้าต้องการฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลภายในบ้าน นักเรียนคิดว่า ในฐานข้อมูลนั้นจะประกอบด้วยตารางอะไรบ้าง  แต่ละตารงประกอบด้วยเขตข้อมูลอะไร



ที่มา : https://sites.google.com/site/kruyutsbw/2-4-kar-cad-keb-khxmul

ความคิดเห็น