ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ค่าต่างๆ ของรูปคลื่นไซน์


Besucherstatistiken

เราสามารถหาค่าต่างๆ ทางไฟฟ้า จากรูปคลื่นไซน์ได้ดังนี้




             รูปคลื่นไซน์ เป็นรูปของไฟฟ้ากระแสสลับที่เกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ โดยการหมุนตัดกันของขดลวดและสนามแม่เหล็กที่มุมต่างกัน ทำให้เกิดขนาดของแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากัน จึงเกิดเป็นรูปคลื่นไซน์ ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดที่เรียกว่าออสซิลโลสโคป ซึ่งในรูปคลื่นไซน์เราสามารถจะหาค่าต่าง ๆ ของรูปคลื่นได้ดังนี้



ภาพที่ 1  แสดงการหมุนของเครื่องกำเนิด ทำให้ขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กที่มุมต่างๆ
                                ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากัน เกิดเป็นรูปคลื่นไซน์

             1. ค่าแรงดันสูงสุด ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงแรงดันที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถให้กำเนิดแรงดันที่มีค่าสูงที่สุด คือค่าที่จุดยอดของรูปคลื่นนั่นเอง ซึ่ีงจะมี 2 ค่า คือค่าสูงสุดในด้านบวก และค่าสูงสุดในด้านลบ ซึ่ีงในรูปคลื่นไซน์ ทั้ง 2 ค่าจะมีค่าเท่ากัน แต่ด้านบวกจะมีค่าเป็น  +  และด้านลบจะมีค่าเป็น -
เราใช้สัญลักษณ์แทนแรงดันสูงสุดของรูปคลื่นไซน์ด้วย   Em   หรือ   Ep


            ภาพที่ 2 แสดงตำแหน่ง แรงดันสูงสุดด้านบวก และด้านลบ

  จากรูป เราจะได้ค่า  Em = 200 V

              ตำแหน่งที่เกิดแรงดันสูงสุดของรูปคลื่นไซน์คือตำแหน่งที่ขดลวดตัดสนามแม่เหล็กที่มุม 90 องศา (ด้านบวก) และ 270 องศา (ด้านลบ)

              ตำแหน่งที่เกิดแรงดันเป็น ศูนย์ ของรูปคลื่นไซน์คือตำแหน่งที่ขดลวดตัดสนามแม่เหล็กที่มุม 0 องศา 180 องศา  และ 360 องศา

           2. ค่าแรงดันจากยอดถึงยอด ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงระดับแรงดันจากจุดยอดด้านบวก ถึงแรงดันจุดยอดด้านลบ ซึ่งในรูปคลื่นไซน์ จะมีค่าเป็น 2 เท่าของแรงดันสูงสุด  เราใช้สัญลักษณ์แทนค่าแรงดันจากยอดถึงยอดของรูปคลื่นไซน์ด้วย   Ep-p

ภาพที่ 3 แสดงขนาดแรงดันจากยอดด้านบวกถึงยอดด้านลบ ของคลื่นไซน์

             จากรูป เราจะได้ค่า   Ep-p = 2Em  = 2 x 200 = 400 V

          3. ค่าแรงดันเฉลี่ย ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงการนำค่าความสูงของแรงดันที่ตำแหน่งมุมต่าง ๆ ของรูปคลื่นไซน์ นำมาหาค่าเฉลี่ย  เราใช้สัญลักษณ์แทนแรงดันเฉลี่ยของรูปคลื่นไซน์ด้วย   Eav  ซึ่งในรูปคลื่นไซน์แรงดันเฉลี่ย จะมีค่า  0.636 เท่าของแรงดันสูงสุด
             หรือเขียนเป็นสูตรได้ว่า    Eav = 0.636Em
              ( av = average )

ภาพที่ 4 แสดงขนาดของแรงดันเฉลี่ย ของคลื่นไซน์ เมื่อเฉลี่ยให้มีความสูงเท่ากันทุกตำแหน่ง

              จากรูป เราจะได้ค่า    Eav  =  0.636Em  =  0.636 x 200 = 127.2 V


          4. ค่าแรงดันที่วัดได้ ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงค่าที่เราสามารถวัดได้ของรูปคลื่นไซน์ โดยใช้โวลท์มิเตอร์  เราใช้สัญลักษณ์แทนแรงดันที่วัดได้ของรูปคลื่นไซน์ด้วย   E หรือ Erms  
( rms = Root Mean Square )  ซึ่งในรูปคลื่นไซน์แรงดันที่วัดได้ จะมีค่า  0.707 เท่าของแรงดันสูงสุด
              หรือเขียนเป็นสูตรได้ว่า    E = 0.707Em


ภาพที่ 5 แสดงขนาดของแรงดันที่วัดได้ ของคลื่นไซน์ เมื่อใช้โวลต์มิเตอร์วัด
      
              จากรูป เราจะได้ค่า E = 0.707Em = 0.707 x 200 = 141.4 V

              ในระบบไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ตามบ้านเรือน ในปัจจุบัน คือระบบ 1 เฟส 220 V 50 Hz ซึ่งแรงดันที่เราใช้คือ 220 V จึงหมายถึงแรงดันที่วัดได้นั่นเอง  ดังนั้นค่าของยอดคลื่นที่สูงที่สุดของแรงดันไฟฟ้าที่เราใช้ในปัจจุบัน จึงมีค่าเท่ากับ
               
             Em  = E / 0.707    
                      = 220 / 0.707 
                      = 311 V

หรือ      Em   = 1.414E
                    = 1.414 x 220
                    = 311 V


           5. ค่าแรงดันชั่วขณะ ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงค่าแรงดัน ณ มุมที่ขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก เราใช้สัญลักษณ์แทนแรงดันชั่วขณะของรูปคลื่นไซน์ด้วย   e  
             
               แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่เกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า   ที่ใช้หลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ณ ทุก ๆ ขณะเวลาค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของมุมไซน์       จากหลักการเบื้องต้นของตรีโกณมิตินำมาใช้เขียนรูปคลื่นไซน์ได้คือถ้านำวงกลมมาแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน แล้วพิจารณาที่แกนนอนก่อน จะเห็นได้ว่าค่าของมุมไซน์แต่ละมุมที่กระทำกับแกนนอนนั้นจะแปรผันโดยตรงกับเส้นตั้งฉากที่ตั้งอยู่บนแกนนอนซึ่งถ่ายทอดมาจากเส้นรอบวงของวงกลมนั่นเอง

ภาพที่ 6 ก.แสดงการหมุนของเครื่องกำเนิดเป็นวงกลม
ข. แสดงขนาดรูปคลื่นของแรงดันชั่วขณะที่เกิดจากขดลวดตัดสนานแม่เหล็ก ที่มุมต่างๆ

วงกลมในรูป  . มีรัศมีเท่ากับ E เมื่อแบ่งออกเป็น 12 ส่วนเท่า ๆ กัน จะเห็นว่าในแต่ละส่วนจะมีมุมเท่ากับ 30° หรือ π/6 rad ส่วนในรูป . จะเห็นว่าค่าของมุมซึ่งมีระยะห่างเท่ากันช่วงละ 30° และแกนนอนนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่ 0° ถึง 360° ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ (2π rad) หรือหนึ่งรอบของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับพอดีจากรูป . ให้รัศมีของวงกลมมีค่าเท่ากับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Voltage) หรือ E และเส้นตรงที่ตั้งฉากกับรัศมีของวงกลมเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าชั่วขณะแทนค่าด้วย e ซึ่งเคลื่อนที่เป็นมุม θ จากหลักการของตรีโกณมิติ จะได้สมการแรงดันชั่วขณะ


                                                                 e = Emsinθ

               จากสูตร ของการหาค่าของแรงดันชั่วขณะของแรงดันไฟฟ้า ในตำแหน่งต่างๆ ที่ขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กเป็นมุมต่างๆ กัน แล้วนำมาเขียนเป็นรูปแรงดันที่ได้นี่เองทำให้ได้รูปของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของไซน์ (sine) เราเลยเรียกคลื่นที่ได้นี้ว่า คลื่นไซน์ (Sine Wave)  


                 ค่า sine ที่ควรจำ  จากภาพที่ 6  เราแบ่งมุมออกเป็น 12 ส่วน แต่หากเราสังเกต จะพบว่าค่าที่เราจะต้องจำมีเพียง  4  ค่าเท่านั้น  คือ
               ที่ตำแหน่งต่ำสุด คือ 0, 180 องศา และ 360 องศา ค่า sine จะมีค่า 0
               ที่ตำแหน่งสูงสุด คือ 90 องศา และ 270 องศา ค่า sine จะมีค่า 1 และ - 1
               ที่ตำแหน่ง  30, 150 องศา และ 210, 330 องศา ค่า sine จะมีค่า 0.5 และ - 0.5
               ที่ตำแหน่ง  60, 120 องศา และ 240, 300 องศา ค่า sine จะมีค่า 0.866 และ - 0.866
               
               และอีกตำแหน่งหนึ่งที่เราควรจำ คือตำแหน่ง 45 องศา ค่า sine จะมีค่า 0.707
เราก็จะได้ค่ามุมเพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง คือ
                45 +90  คือ 135 องศา ค่า sine จะมีค่า 0.707
                135 + 90  คือ 225 องศา ค่า sine จะมีค่า -0.707
                225 + 90 คือ 315 องศา ค่า sine จะมีค่า - 0.707 

                จะเห็นว่าค่าที่เราต้องจำจริงๆ มีเพียง 3 ค่า คือ 0.5, 0.707 และ 0.868

                
ภาพที่ 7 แสดงแรงดันไฟฟ้าชั่วขณะที่ 120° และ 290°


                จากรูปด้านบน   ให้หาแรงดันชั่วขณะ ที่มุม 120°  และ  290°

                                     วิธีทำ   หาแรงดันสูงสุดของสัญญาณ
                                                                                  Em  = 220 V
                                             ที่มุม  120°    จากสูตร     e = Emsinθ    
                                                                                       = 220 x sin120°
                                                                                       = 220 x 0.866
                                                                                       = 190.52 V      ตอบ

                                                 ที่มุม  290°    จากสูตร     e = Emsinθ    
                                                                                          = 220 x sin290°
                                                                                          = 220 x (-0.939)
                                                                                          = -206.58 V      ตอบ
                                                 
             ค่าของมุม ในทางไฟฟ้า จะมีหน่วยเป็น องศา หรือ เรเดียน
                  โดย 1 รอบทางไฟฟ้า = 360°  หรือ  2π เรเดียน หรือ 6.28 เรเดียน

          ดังนั้น 1 เรเดียน จะมีค่าประมาณ 57.32 องศา


ภาพที่ 8 เปรียบเทียบค่ามุมระหว่าง องศา กับ เรเดียน

           6. ค่าคาบเวลา ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึงระยะเวลาที่ขดลวดใช้ในการหมุนตัดสนามแม่เหล็กครบ 360 องศาทางไฟฟ้า ( 1 รอบทางไฟฟ้า) ซึ่งจะทำให้เกิดรูปคลื่นไซน์ด้านบวกและด้านลบพอดี เราใช้สัญลักษณ์แทนคาบเวลาของรูปคลื่นไซน์ด้วย   T

ภาพที่ 9 แสดงระยะเวลาที่เครื่องกำเนิดใช้ในการผลิตรูปคลื่น ครบ 1 รอบ

               จากรูป เราจะได้ค่า T = 5 ms
      
          7. ค่าความถี่ ของรูปคลื่นไซน์ หมายถึง ค่าที่ขดลวดสามารถหมุนได้ 360 องศาทางไฟฟ้า หรือ 1 รอบทางไฟฟ้าจำนวนกี่ครั้งภายในเวลา 1 วินาที   เราใช้สัญลักษณ์แทนความถี่ของรูปคลื่นไซน์ด้วย   f
เราสามารถหาค่าความถี่ของรูปคลื่นไซน์ ได้จากสูตร          f = 1 / T
             
             เมื่อ T = คาบเวลา มีหน่วยเป็นวินาที

             จากรูปในข้อ 6 เราสามารถหาความถี่ของรูปคลื่นไซน์ ได้ ดังนี้

                                 T = 5 ms      
                                    = 5 x 10-3 s

   แทนค่าในสูตร จะได้    
                                          
                      จากข้างต้น T มีหน่วยเป็น ms ทำให้เป็นวินาที โดยการคูณ   10-3   เข้าไป    
    

           8. ความเร็วเชิงมุม หมายถึง อัตราการหมุนรอบวงกลม  ซึ่งเป็นอัตราการหมุนที่ทำให้ค่าของมุมเปลี่ยนแปลงไป ความเร็วเชิงมุมใช้สัญลักษณ์ ω (โอเมก้า) หน่วยของความเร็วเชิงมุมเป็น เรเดียนต่อวินาที (rad/s)
ความเร็วเชิงมุมหาได้จากสูตร        ω = 2πf

                                    เมื่อ  π  = 3.14  
                    f   = ความถี่ไฟฟ้า เป็น รอบต่อวินาที (Hz)

      ดังนั้น จากข้อ 7  ความเร็วเชิงมุมจะมีค่า ดังนี้

                                                      ω = 2π
                                  = 2 x 3.14 x 200
                                  = 1,256       rad/s
                                 
                                           
            ในลักษณะเดียวกันรูปคลื่นไซน์ของกระแสไฟฟ้า ก็จะสามารถหาค่าต่างๆ ได้ในลักษณะเดียวกับรูปคลื่นไซน์ของแรงดันไฟฟ้า  เพียงแต่เปลี่ยนจาก E เป็น I เท่านั้นเอง


          แบบฝึกหัด   เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาจนเข้าใจแล้วให้ทำแบบฝึกหัดลงในสมุดเรียนส่งครู

          สรุปค่าต่างๆ ของรูปคลื่นไซน์ ด้วยโปรแกรมจาก google sheet