จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
2. ประมาณการใช้โหลด
โดยใช้ข้อมูลจากสถาปนิกและความต้องการของเจ้าของอาคาร ชนิดและลักษณะการใช้งานของอาคารและพื้นที่ทั้งหมดของอาคาร
3. กำหนดตำแหน่งและแนวทางของสายประธานจากการไฟฟ้าฯ
ที่จ่ายให้แก่อาคาร , ขนาดแรงดันไฟฟ้าของระบบ , ตำแหน่งของมิเตอร์วัดไฟฟ้า
ซึ่งจะต้องดูสถานที่ที่จะสร้างอาคารพร้อมทั้งขอคำแนะนำจากการไฟฟ้าฯ หน่วยที่รับผิดชอบบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอาคารนั้นๆ
4. ศึกษา
ชนิดและการใช้งานของพื้นที่ในอาคาร,อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้และขนาดการกินกระแสของอุปกรณ์แต่ละชนิด
ซึ่งข้อมูลบางส่วนจะต้องสอบถามจากสถาปนิกผู้ออกแบบหรือเจ้าของอาคาร
5. ศึกษาความต้องการของโหลดไฟฟ้าระบบอื่นๆ
เช่น เครื่องปรับอากาศ , ระบบลิฟท์ , ระบบประปา และอื่นๆ
6. ศึกษาและกำหนดตำแหน่งติดตั้งและขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ตลอดจนความต้องการเนื้อที่ของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น
ตำแหน่งและขนาดของห้องเครื่อง ห้องติดตั้งหม้อแปลงและแผงควบคุมไฟฟ้าหลัก (Main Distribution
Board ; MDB) แผงควบคุมไฟฟ้ารอง (Sub Distribution Board ; SDB)
แผงควบคุมไฟฟ้าย่อย (Load Panel) แนวทางและขนาดของท่อเดินสายป้อน (Feeder Shaft) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการออกแบบ
7. คำนวณและออกแบบความต้องการของแสงสว่างของแต่ละห้องตามชนิดของการใช้งาน
พร้อมทั้งกำหนดชนิดของดวงโคม (ชนิดดวงโคมบางครั้งอาจถูกกำหนดโดยสถาปนิกทั้งนี้เพื่อความสวยงาม)
เพื่อหาโหลดของระบบแสงสว่าง
8. กำหนดตำแหน่งของดวงโคมและเต้ารับลงในแบบโดยทั่วไปการแสดงตำแหน่งของดวงโคมและเต้ารับจะแยกเขียนออกจากกัน
และหากมีระบบไฟฟ้าสื่อสารอันได้แก่ ระบบโทรศัพท์ ระบบโทรทัศน์ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ
ก็มักจะเขียนแบบแยกแผ่นกันทั้งนี้เพื่อความง่ายในการอ่านแบบ
9. แยกวงจรย่อยโดยโยงสายลงในแบบเพื่อควบคุมดวงโคมหรือเชื่อมต่อวงจรของเต้ารับไฟฟ้า
ซึ่งอยู่ในวงจรเดียวกันเข้าด้วยกัน
พร้อมทั้งกำหนดหมายเลขของวงจรในแผงจ่ายไฟ การกำหนดวงจรย่อยมักจะกำหนดตามความเหมาะสมของอุปกรณ์ตัดตอน (Circuit Breaker ;
CB ) หรือกำหนดตามพื้นที่การใช้งานควบคู่กัน
10. คำนวณโหลดแต่ละแผงควบคุมไฟฟ้าย่อย
พร้อมทั้งชนิด,จำนวนและขนาดของสายไฟฟ้า,ท่อร้อยสายไฟฟ้า และขนาด AT AF และ
Pole ของเซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB) ลงในตารางโหลด
11. นำโหลดในแต่ละแผงควบคุมไฟฟ้ารวมกันในแต่ละเฟสของระบบ
แล้วคำนวณหาสายป้อนและ ขนาดอุปกรณ์ป้องกันตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อย (Main Circuit
Breaker) ของตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อยนั้น
12. รวมโหลดทั้งหมดของแผงควบคุมไฟฟ้าย่อยทั้งอาคารเพื่อนำมาคำนวณและออกแบบหาพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าหลัก (MDB) และอุปกรณ์ประกอบภายในตู้
รวมกับถึงการกำหนดขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้าและสายประธานของอาคาร
13. คำนวณและเขียน
Riser Diagram ของระบบไฟฟ้า รวมทั้ง คำนวณและเขียน Single
Line Diagram ของตู้
MDB
14. คำนวณและออกแบบระบบอื่นๆ
เช่นระบบล่อฟ้า , ระบบสื่อสารในอาคาร , ระบบโทรศัพท์ , ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ
ระบบป้องกันภัย และอื่นๆ
15. ตรวจสอบและแก้ไขแบบให้ถูกต้องสมบูรณ์
16. เขียนข้อกำหนดและรายละเอียดประกอบแบบ
(รายการประกอบแบบ) ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ในแบบ
เช่น ขนาดและชนิดรวมถึงเครื่องหมายการค้าของอุปกรณ์ที่กำหนดให้ใช้และข้อกำหนดซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตาม
โดยทั่วไปจะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาในการรับเหมางานก่อสร้างงานติดตั้ง
ระหว่างผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้าง (เจ้าของอาคาร) ด้วย
17. เมื่อวิศวกรผู้ออกแบบทำการกำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
ผู้ออกแบบจะต้องทำการประมาณราคา เพื่อผู้ว่าจ้างจะได้ใช้เป็นราคากลางในการคัดเลือกผู้รับเหมาทำการก่อสร้างติดตั้งต่อไป
18. ในบางกรณีวิศวกรผู้ออกแบบอาจต้องเป็นผู้ตรวจสอบให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วย
จากขั้นตอนต่างๆ
ในการออกแบบระบบไฟฟ้า จะเห็นว่ามีความซับซ้อนและต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ความยากลำบากในการออกแบบจะมีมากขึ้นเมื่อเป็นอาคารขนาดใหญ่และมีการใช้โหลดมากๆ โดยเฉพาะข้อจำกัดในด้านของการออกแบบที่ต้องการใช้เกิด
ความประหยัด ความปลอดภัย และมีความเชื่อมั่นในระบบสูงๆ
โดยจะต้องอาศัยความชำนาญ,ประสบการณ์และการศึกษาค้นคว้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก
ความคิดเห็น