ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct start)

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
                
                 วงจรเริ่มเดินมอเตอร์โดยตรง หมายถึง วงจรที่มีการต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังเข้าสู่ตัวมอเตอร์เพื่อเริ่มเดิน (start) มอเตอร์โดยตรง โดยไม่ผ่านอุปกรณ์หรือวิธีการลดแรงดันใด ๆ ก่อนถึงตัวมอเตอร์
                 วงจรนี้เป็นการควบคุมมอเตอร์แบบกึ่งอัตโนมัติ
                 ใช้กับการควบคุมมอเตอร์ขนาดเล็กที่กินกระแสไม่มาก ขนาดไม่เกิน 7.5 กิโลวัตต์ หรือไม่เกิน 10 HP  เนื่องจากการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง จะทำให้มีกระแสไหลตอนมอเตอร์เริ่มสตาร์ทสูงถึงประมาณ  6 เท่า ของกระแสปกติ

วงจรกำลัง                                                        วงจรควบคุม





อุปกรณ์ที่ใช้

           F1 = ฟิวส์หลัก (Main fuse)
           F2 = ฟิวส์วงจรควบคุม (Control fuse)
           K1 = คอนแทกเตอร์หลัก (Main contactor)
           S1 = สวิตช์ปุ่มกด OFF
           F3 = โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload relay)
           S2 = สวิตช์ปุ่มกด ON
           M1= มอเตอร์สามเฟสแบบเหนี่ยวนำ (Three phase induction motor)

ลักษณะการทำงานของวงจร 

        1. เริ่มต้นทำงานด้วยการกดสวิตช์ปุ่มกด S2 ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแมกเนติกคอนแทกเตอร์ K1 ครบวงจรที่นิวตรอล ทำให้ 
 K1 ทำงาน  และหน้าสัมผัสหลัก (Main contact) จ่ายไฟฟ้ากำลังเข้าสู่มอเตอร์ ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน หลอดไฟแสดงสถานะ H1 จะติด โดยไฟจะจ่ายผ่านทาง หน้าสัมผัสช่วยของคอนแทกเตอร์ (K1) ในแถวที่ 2 แสดงให้รู้ว่าวงจรทำงานปกติ



         2. แมกเนติกคอนแทกเตอร์ K1 ทำงานไปตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะปล่อยมือออกจากสวิตช์ปุ่มกด  S2  ทำให้มอเตอร์หมุนอยู่ตลอด เนื่องจากหน้าสัมผัสช่วยของคอนแทกเตอร์ (K1) ในแถวที่ 2 หรือ (self holding contact หรือ maintaining contact) ทำหน้าที่จ่ายไฟเข้าไปสู่คอล์ยของแมกเนติกคอนแทกเตอร์แทน และหลอดสัญญาณ H1 จะติดแสดงให้รู้ว่า K1 ทำงานปกติ

            

              3. ถ้าต้องการหยุดมอเตอร์ ทำได้โดยการกดสวิตช์ปุ่มกด 
S1 (Push button OFF)กระแสจึงถูกตัดไม่ให้ไหลลงมายังคอล์ยของ K1 ได้ ทำให้ เมนคอนแทก K1 เปิดวงจร ตัดกระแสที่ไหลลงมายังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หยุดไหล และเมื่อปล่อยมือจากสวิตซ์ปุ่มกด S1 กระแสก็จะไม่ครบวงจร ไม่สามารถไหลได้อีก จนกว่าจะเปิดมอเตอร์ด้วย S2 อีกครั้ง



              4. เมื่อเกิดโหลดเกินหรือโอเวอร์โหลด (Overload) ขึ้น โอเวอร์โหลดรีเลย์ (F3) จะทำการตัดวงจร กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านมายัง  H2 ทำให้ 
H2 สว่าง แสดงให้รู้ว่าโอเวอร์โหลดทำการตัดวงจร ให้ทำการตรวจสอบหาสาเหตุของการตัดวงจร และสามารถกลับมาเริ่มต้นทำงานใหม่ได้อีกครั้งหลังจากตรวจสอบวงจรเรียบร้อย ด้วยการกดปุ่มรีเซ็ท (RESET) ที่โอเวอร์โหลดรีเลย์


              5. เมื่อเกิดการลัดวงจรขึ้นที่วงจรกำลัง ฟิวส์ (F1) ทำหน้าที่ตัดวงจรกำลัง หรือถ้าเกิดการลัดวงจรขึ้นที่วงจรควบคุม ฟิวส์ (F2) ทำหน้าที่ตัดวงจรควบคุมออกไป ทำให้มอเตอร์หยุดหมุน 
         โดยหากเกิดการลัดวงจรที่วงจรกำลัง มอเตอร์จะหยุดหมุนเนื่องจากไม่มีกระแสจ่ายให้มอเตอร์ แต่วงจรควบคุมจะทำงานตามปกติ
        




ความคิดเห็น