ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) มีหน้าที่ตรวจจับการเกิด
เหตุเพลิงไหม้ โดยตรวจจับควันไฟ ความร้อน เปลวไฟ หรือทำการแจ้งเตือน โดย
มีผู้พบเห็นและทำการส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของเสียง แสงแล้วส่งสัญญาณ
ไปยังตู้ควบคุมหรือแผนกดับเพลิง
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นระบบความปลอดภัยสำหรับชีวิตและ
ทรัพย์สินที่ไม่ได้ถูกใช้งานประจำวันแต่จะทำงานในภาวะฉุกเฉิน ในทาง
ปฎิบัติจึงมีการถูกละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญจากสถานประกอบการ
ส่วนประกอบของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) มีหน้าที่ตรวจจับการเกิด
เหตุเพลิงไหม้ โดยตรวจจับควันไฟ ความร้อน เปลวไฟ หรือทำการแจ้งเตือน โดย
มีผู้พบเห็นและทำการส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของเสียง แสงแล้วส่งสัญญาณ
ไปยังตู้ควบคุมหรือแผนกดับเพลิง
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นระบบความปลอดภัยสำหรับชีวิตและ
ทรัพย์สินที่ไม่ได้ถูกใช้งานประจำวันแต่จะทำงานในภาวะฉุกเฉิน ในทาง
ปฎิบัติจึงมีการถูกละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญจากสถานประกอบการ
- ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm control panal)
- ตู้แยกแจ้งแสดงผลการเกิดเพลิงไหม้ (Fire Annunciator, Graphic Annunciator)
- อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Initiating) แบ่งเป็น 2 ชนิด
- อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detector)
- สวิตซ์น้ำไหล (water Flow Switch)
2) อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้จากบุคคล
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Fire Alarm Box)
- อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ (Signaling Devices) เป็นอุปกรณ์แจ้งสัญญาณให้ผู้อยู่อาศัย ผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น ได้แก่ กระดิ่ง หวูด ไซเรน ไฟสัญญาณ เป็นต้น เสียงสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อาจจะเป็นรหัส(Code) แจ้งตำแหน่งเกิดเหตุหรือสัญญาณธรรมดาก็ได้สัญญาณเตือนชนิดเสียง เช่น กระดิ่ง (Bell), ฮอร์น (Horn)
- สัญญาณเตือนชนิดเสียง เช่น กระดิ่ง (Bell), ฮอร์น (Horn)
- สัญญาณเตือนชนิดแสงไฟ เช่น Strob Light
- อุปกรณ์ประกอบ(Auxiiliary Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกัน และดับเพลิง โดยจะถ่ายทอดสัญญาณระหว่างระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้กับระบบอื่น แบ่งออกเป็น 2 แบบ
- ระบบบังคับลิฟต์ลงชั้นล่าง
- การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ
- เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศเปลี่ยนแปลงเพื่อการควบคุมควันไฟ
- การควบคุมเปิดประตูทางออก เปิดประตูหนีไฟ ปิดระตูกันควันไฟ
- ควบคุมระบบกระจายเสียงและประกาศแจ้งข่่าว
- เปิดระบบดับเพลิง
- จากระบบท่อพ่นน้ำ (Sprinkler)
- จากปั้มดับเพลิง (Fire Pump)
- จากระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีอัตโนมัติ
การทำงานของอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
Fixed Temperature Heat Detectors ทำงานเมื่อตรวจจับอุณหภูมิที่กำหนด มีให้เลือกใช้งานที่อุณหภูมิต่างๆเช่น 60 องศา, 90องศาเป็นต้น เหมาะสำหรับสถานที่ซึ่งสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแบบทันทีทันใด เช่น ห้องครัว,ห้องหม้อไอน้ำ
Rete of rise Heat detectors ทำงานเมื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่กำหนด มีให้เลือกตามอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิต่างๆ เช่น 8 องศา/นาที, 10 องศา/นาที เป็นต้น เหมาะสำหรับพื้นที่ใช้งานทั่วไปที่ต้องการป้องกัน สามารถตรวจจับเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วแบบอุณหภูมิคงที่
Ionization Smoke Detectors ภายในอุปกรณ์มีสารกัมมันครังสี ทำหน้าที่กระตุ้นให้อากาศภายใน Chamber เกิดการแตกตัว ไอออนของอากาศใน Chamber ทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าไหลผ่านได้ระหว่างสองขั้ว เมื่อควันเข้าไปใน Chamber ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศจะลดลง กระแสจะลดลง
ที่มา : http://www.fourtern.com/content-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89(FireAlarmSystem)-4-643-5815-1.html
ความคิดเห็น