แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัด
แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม
สามารถทำได้ทำได้ดังต่อไปนี้
1. ลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานความเย็น
(Cooling Effect) ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
(Intercooler)
2. ปรับตั้งความดันลมของเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน
3. เลือกใช้เครื่องอัดอากาศและระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
4. ป้องกันการรั่วของลมจากจุดต่าง
ๆ ของระบบ และจากตัวเครื่องอัดอากาศเอง
5. บริหารการใช้เครื่องอัดอากาศและระบบให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากระบบอัดอากาศมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท
แต่ละโรงงานจำเป็นต้องเลือกเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัดอย่างสม่ำเสมอ
เข้าใจถึงหลักการทำงานตลอดจนการใช้อากาศอัดให้เหมาะสมกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ
จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและยังเป็นการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย
ตัวอย่างแนวทางการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในเครื่องอัดอากาศและระบบอากาศอัดนั้น
มีดังนี้
ประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานของระบบอากาศอัด
(1) คำนวณต้นทุนของอากาศอัด
[บาท/m3] แล้วใช้ต้นทุนนี้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามปริมาณความสิ้นเปลืองอากาศของอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยอากาศอัด
ในจำนวนต้นทุนนี้จะมีค่าไฟฟ้าของเครื่องอัดอากาศเป็นหลัก
(2) ปริมาณอากาศขาออกของเครื่องอัดอากาศโดยทั่วไปจะมีค่าประมาณ
5.5-7.5 ที่กำลังขับจำเพาะ [kW/m3/min]
(ANR) กล่าวคือเท่ากับ 0.13-0.18 [m3/min/kW]
(ANR)
(3) เครื่องอัดอากาศขนาดเล็กจะใช้แบบลูกสูบ
ขนาดกลางจะใช้แบบสกรู และขนาดใหญ่จะใช้แบบเทอร์โบเป็นหลัก ประเด็นสำคัญในการเลือกใช้เครื่องอัดอากาศคือ
จะใช้แบบใช้น้ำมันหรือไม่ใช้น้ำมัน จำนวนชั้นของการอัดอากาศ การสั่นสะเทือน เสียง และวิธีควบคุม
Capacity เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภาระ
(4) หากมีเครื่องอัดอากาศหลายตัว
แล้วใช้วิธีควบคุมจำนวนเครื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภาระ จะทำให้เดินเครื่องได้อย่างอนุรักษ์พลังงานใกล้เคียงกับเส้นกราฟกำลังขับในอุดมคติ
(5) สิ่งที่สำคัญคือการอนุรักษ์พลังงานทางด้านผู้ใช้อากาศอัด
(การปรับความดันให้เหมาะสม การลดการปล่อยอากาศทิ้งและอากาศรั่ว เป็นต้น)
การประหยัดพลังงานของระบบอัดอากาศต้องประกอบด้วย
การออกแบบระบบที่ดี การเลือกใช้ประเภทและขนาดให้เหมาะสม ขนาดของถังเก็บอากาศมีปริมาณที่เพียงพอกับลักษณะงาน
ขนาดของท่อเมนต้องโตพอที่จะทำให้ความเร็วของอากาศไม่สูงเกินไปจนทำให้เสียความดัน และสามารถแยกคอนเดนเสทได้ดี
การใช้งานและการบำรุงรักษาที่ดี
ความคิดเห็น