การออกแบบระบบไฟฟ้าสามารถทำการออกแบบได้หลายรูปแบบ ตามความสามารถ ความรู้และประสบการณ์ ของผู้ออกแบบแต่ละท่าน ซึ่งต้องอ้างอิงมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ของการออกแบบและติดตั้งที่จะต้องมีผลตามมาหลังจากการออกแบบเสร็จสิ้นลง
ในการออกแบบที่ดี
จึงต้องคำนึงถึงหลักสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. ความปลอดภัย (Safety)
ความปลอดภัย นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการออกแบบระบบไฟฟ้า ดังนั้นในการออกแบบระบบไฟฟ้า จึงต้องคำนึงถึงกฎและมาตรฐานต่างๆ ที่ใช้บังคับ
สำหรับประเทศไทย มาตรฐานที่ใช้ในการติดตั้งไฟฟ้า ให้ใช้มาตรฐานของวิศวกรรมสถาน
แห่งประเทศไทย
2.
ความเชื่อมั่นของระบบ (Reliability)
การออกแบบระบบไฟฟ้า จะต้องมีความเชื่อมั่นของระบบการป้องกัน
เมื่อเกิดการขัดข้องของระบบ จะต้องมีระบบตัดตอนที่ดี เช่น
การใช้อุปกรณ์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน
3.
ความง่ายในการดัดแปลง (Flexibility)
การออกแบบระบบไฟฟ้าที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถดัดแปลงเพิ่มเติมระบบในอนาคตได้โดยสะดวกและสามารถรองรับระบบในอนาคตได้โดยสะดวกโดยไม่เกิดปัญหาต่างๆ
ตามมา เช่น การเพิ่มโหลดได้โดยไม่ต้องรื้อระบบใหม่
4. ความประหยัด
(Economy)
การออกแบบระบบไฟฟ้าที่ดี
ต้องคำนึงถึงความประหยัดภายใต้เงื่อนไขของความปลอดภัย ความเชื่อมั่น และความง่ายในการดัดแปลง
หมายถึงผู้ออกแบบต้องพยายามออกแบบให้ประหยัดแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎและมาตรฐานต่างๆ ของการออกแบบ การใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่มรมาตรฐาน ง่ายต่อการบำรุงรักษาและเปลี่ยนแปลง โดยปกติควรมีการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ดังนั้นผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดี
จึงจะสามารถออกแบบระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. แรงดันตก (Voltage Drop)
ในการออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือ ค่าแรงดันไฟฟ้าตก เนื่องจากขนาดของโหลด
และความยาวของสายป้อนและสายวงจรย่อยที่เดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า
รวมทั้งโหลดในอนาคตที่จะเพิ่มด้วย
แรงดันตกมักสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
ตามมาตรฐานของไฟฟ้า และ NEC กำหนดแรงดันตกในช่วงของสายป้อนจะต้องไม่เกิน
3 % หากในส่วนของวงจรย่อยไม่เกิน 5 %
การพิจารณาในเรื่องแรงดันตกมักจะนำมาพิจารณาในกรณีที่สายป้อนหรือสายเมน
มีระยะการเดินสายที่ยาวๆ เท่านั้น
ความคิดเห็น