ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โนดโวลเตจ (Node Voltage Method)

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

                โนดโวลเตจเป็นวิธีการแก้ปัญหาในวงจรไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่าแรงดันไฟฟ้า ณ จุดต่างๆ ในวงจรที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยอาศัยความต่างศักย์ระหว่างจุดต่อในวงจร เทียบกับจุดที่กำหนดอ้างอิงขึ้นมา

            วิธีการนี้ จะกำหนดจุดแรงดันขึ้นภายในวงจรไฟฟ้าเรียกว่าจุดแรงดันโนด (Node Voltage) พร้อมกับกำหนดจุดอ้างอิงขึ้น (Reference Node) ซึ่ง ณ. จุดโนดที่อยู่ภายในวงจรนี้ จะมีศักย์ทางไฟฟ้าสูงกว่าจุดอ้างอิงเสมอ ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลออกจากจุดโนดไปยังจุดอ้างอิง


             หลังจากนั้นจะเขียนสมการ ณ.จุดโนดที่ต้องการทราบค่าแรงดันตามกฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์

            เมื่อแก้สมการหาค่าแรงดันได้แล้ว จะใช้กฎของโอห์มเพื่อวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่ต้องการทราบค่าต่อไป 

           คำว่า “โนด” หมายถึง รอยต่อของอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 อุปกรณ์ขึ้นไป ซึ่งวิธีของโนดโวลท์เตจ จะแบ่งจุดโนดในวงจรไฟฟ้าออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
            1. โนดอ้างอิง (Referent Node ) เป็นจุดโนดที่กำหนดให้มีค่าแรงดันเป็นศูนย์โวลต์ และเป็นจุดโนดที่ใช้อ้างอิงความต่างศักย์ไฟฟ้า จากจุดโนดอื่นๆ
            2. โนดที่ทราบค่าแรงดัน (Known Node ) เป็นจุดโนดที่ทราบค่าแรงดันไฟฟ้า เมื่อ เทียบกับโนดอ้างอิง (Referent Node) 

            3. โนดที่ไม่ทราบค่าแรงดัน (Unknown Node) เป็นจุดโนดที่กำหนดขึ้น และไม่ทราบ ค่าแรงดัน เมื่อเทียบกับโนดอ้างอิง เป็นจุดโนดที่ต้องคำนวณหาค่าแรงดันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับโนดอ้างอิง

              ตัวอย่างการแก้สมการด้วยวิธีโนดโวลเตจ


 จากวงจร จงหากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัว

วิธีทำ
         กำหนดจุดโนด ได้ดังนี้  
โนดที่ไม่ทราบค่า เป็น VA
โนดที่ทราบค่า เป็น E1, E2, E3
โนดที่มีแรงดันเป็นศูนย์  (จุดกราวน์)

         และกำหนดกระแสไหลออก โนด VA  เป็น  I1 ,   I2 ,  และ I3   ดังภาพด้านล่าง
             (การกำหนดกระแสจะกำหนดอย่างไรก็ได้ แต่จะนิยมกำหนดให้ โนดที่ไม่รู้ค่า มีค่ามากกว่าโนดที่ทราบค่า เพราะจะทำให้การคำนวณค่าออกมาเป็นบวก ทำให้ลดความซับซ้อนกับจำนวนลบออกไป)



เขียนสมการกระแสของเคอร์ชอฟฟ์ ได้ดังนี้
                        
                  I1 +  I2 +  I3  =  0

      จากกฎของโอห์ม กล่าวว่า กระแสที่ไหลผ่านความต้านทานตัวใด จะเท่ากับแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวนั้น หารด้วยค่าความต้านทานตัวนั้น
      ถ้าเราให้แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวนั้น เท่ากับ แรงดันจุดที่กระแสไหลเข้าลบด้วยแรงดันจุดที่กระแสไหลออก  จะได้

แทนค่าที่ได้ ในสมการกระแสของเคอร์ชอฟฟ์ จะได้

           
                                                                                           
                                                                        \                           VA = 8.5 x 4
                                                                                                            = 34 V 

แทนค่า   VA  =  34  V  ใน สมการ

จาก คำตอบ I1  มีค่าเป็นลบ แสดงว่า ทิศทางกระแสที่ถูกต้อง คือต้องไหลเข้าโนดที่ไม่ทราบค่า  คือ ไหลเข้า VA

\ จะได้คำตอบ คือ กระแสที่ไหลผ่าน R1  = 1.6 A
              กระแสที่ไหลผ่าน R2  = 0.2 A
              กระแสที่ไหลผ่าน R3  = 1.4 A             ตอบ




ความคิดเห็น