ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบจำนวนเชิงซ้อน

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
      
          รูปแบบของจำนวนเชิงซ้อน มี 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบแกนมุมฉาก (Rectangular Form)
           Z = ±x ± jy
    เช่น  Z = 3 - j4,  Z = -5 + j7  เป็นต้น
       รูปแบบนี้ เราใช้สำหรับการบวกและลบ เพราะการบวกและลบจำนวนเชิงซ้อนจะทำได้ เมื่อจำนวนเชิงซ้อนอยู่ในรูปแบบแกนมุมฉากเท่านั้น

         รูปแบบจำนวนเชิงซ้อนแบบแกนมุมฉาก จะใช้เขียนคุณสมบัติต่างๆ ทางไฟฟ้าในกรณีที่ค่าต่างๆ แยกออกจากกัน เช่น 
         คุณสมบัติความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรอนุกรม 
               มีความต้านทาน  4  Ω  จะเขียนแทนด้วยจำนวนแรกของรูปแบบคือจำนวนจริง
               ส่วนค่าความต้านทานเชิงซ้อนของ L และ C  จะเขียนแทนด้วยจำนวนที่ 2 คือจำนวนจินตภาพ โดยค่า ความต้านทานเชิงซ้อนของตัว L ( XL  ) จะมีค่าเป็น +j  และความต้านทานเชิงซ้อนของตัว C XC  ) จะมีค่าเป็น - ซึ่งจะติดอยู่ในรูปค่า -j  
               ซึ่งค่าทั้งสอง จะนำมาบวกกันได้ เป็นค่า X (รีแอคแตนซ์)
        

        จากรูปวงจรอนุกรมด้านบน จะสามารถเขียนความต้านทานรวม ( Z ) หรือค่าอิมพีแดนซ์ของวงจรอยู่ในรูปจำนวนเชิงซ้อน รูปแบบแกนมุมฉาก ได้ดังนี้ 
         Z = R + (jXL - jXC )
จากวงจร       R   =  4  
                     XL   =  j7  
                     XC   =  -j4  
จะได้    Z  =  4 + (j7 - j4 )
                 =  4  + j3  Ω 

2. รูปแบบเชิงขั้ว (Polar Form) 

            Z = r Ðq°   

   เช่น   E = 120 Ð30° V ,  I = 2 Ð30° A

          รูปแบบนี้ เหมาะสำหรับการใช้หาค่าต่างๆ ในวงจรไฟฟ้าที่ต้องใช้การคูณและหาร เพราะมีความง่ายมากกว่าการใช้รูปแบบแกนมุมฉากในการคูณและหาร

            รูปแบบจำนวนเชิงซ้อนแบบเชิงขั้ว จะใช้เขียนคุณสมบัติต่างๆ ทางไฟฟ้าในกรณีที่เป็นค่ารวมของคุณสมบัติต่างๆ แล้ว โดยเปลี่ยนค่ามาจากจำนวนเชิงซ้อนแบบแกนมุมฉาก หรือจากรูปแวกเตอร์ของค่าต่างๆ ทางไฟฟ้า
            เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้าของความต้านทานของวงจร เขียนให้อยู่ในรูปของ จำนวนเชิงซ้อนรูปแบบเชิงขั้ว ได้ดังนี้
            ค่าแรกจะเป็นจำนวนจริง ได้จากค่า R รวมกันทางแวกเตอร์ กับค่า X 
            หรือ    R2 + X2   
      จากตัวอย่างรูปแบบจำนวนเชิงซ้อนแบบแกนมุมฉากด้านบน
                    Z  =  4  + j3  
        เขียนให้อยู่ในรูปแบบเชิงขั้ว ได้ ดังนี้
            จำนวนแรก เป็นค่าจริง หาได้จาก
               r 42 + 32 
                     16 + 9      25 
                    = 5
            จำนวนที่ 2 จะเป็นจำนวนจินตภาพ อยู่ในรูปของมุม หาได้จาก
                  q°  = tan-1 X/R
                       = tan-1 3/4
                       = tan-1 0.75
                       = 36.87 °  
         นำมาเขียนจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบแบบเชิงขั้ว ได้ดังนี้
               Z = 5 Ð36.87 ° 

3. รูปแบบตรีโกณมิติ (Trigonometric Form)
         Z  = ±r (cosq ± jsinq)
เช่น  Z  = 20 (cos40° + jsin40°)
         รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง รูปแบบแกนมุมฉากและรูปแบบเชิงขั้ว เราจึงใช้ประโยชน์สำหรับการเปลี่ยนรูปแบบจำนวนเชิงซ้อนจากรูปแบบเชิงขั้วเป็นรูปแบบแกนมุมฉาก


4. รูปแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (Exponential Form)
       รูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบ Polar Form แต่ค่ามุมของรูปแบบจะมีหน่วยเป็นเรเดียน
       Z = rejp

ความคิดเห็น