ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรตั้งเวลาสตาร์ทมอเตอร์หลังจากกดสวิตซ์

จำนวนผู้เยี่ยมชม

แบบที่ 1
วงจรกำลัง

วงจรควบคุม การเริ่มสตาร์ทมอเตอร์หลังจากกดปุ่มสตาร์ท

การทำงานของวงจร
                1. จากวงจรควบคุมกระแสจะผ่านอุปกรณ์ต่างๆ มาจนถึง S2 แต่ไม่สามารถผ่านไปได้เนืองจาก S2 เปิดอยู่
                2. เมื่อต้องการสตาร์ทมอเตอร์ ให้กด S2 กระแสก็จะไหลผ่านลงมาได้ จนครบวงจรที่  N ทำให้ไทม์เมอร์ K2T และ คอนแทคช่วย K3A ทำงาน
                     - ทำให้คอนแทคปกติเปิดของคอนแทคช่วย  K3A  ในแถวที่ 2 ต่อวงจรทำให้กระแสไหลผ่านได้แม้จะปล่อย  S2  ทำให้วงจรทำงานได้ต่อไป
                     - ทำให้ไทม์มอร์ K2T  เริ่มนับเวลาตามที่เราตั้งไว้ให้ตัวมอเตอร์ทำงาน
                3. เมื่อถึงเวลา ไทม์เมอร์ก็จะทำงาน ทำให้ คอนแทคปกติเปิด K2T ของตัวไทม์เมอร์ ในแถวที่ 1 ปิด ต่อวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านคอยล์  K1 
                     - ทำให้ เมนคอนแทคของ K1 ที่ต่อควบคุมมอเตอร์ต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมายังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน
                4. หากเราต้องการให้มอเตอร์หยุดหมุน สามารถทำได้ โดยการกด S1 ตัดวงจรไม่ให้กระแสไหลได้ครบวงจร ตัดการทำงานของวงจรควบคุม


แบบที่ 2


วงจรกำลัง
วงจรควบคุม การเริ่มสตาร์ทมอเตอร์หลังจากกดปุ่มสตาร์ท

การทำงานของวงจร
                1. จากวงจรควบคุมกระแสจะผ่านอุปกรณ์ต่างๆ มาจนถึง S2 แต่ไม่สามารถผ่านไปได้เนืองจาก S2 เปิดอยู่
                2. เมื่อต้องการสตาร์ทมอเตอร์ ให้กด S2 กระแสก็จะไหลผ่านลงมาได้ จนครบวงจรที่  N ทำให้ คอนแทคช่วย K1A และ ไทม์เมอร์  K2Tทำงาน
                     - ทำให้คอนแทคปกติเปิดของคอนแทคช่วย  K1A  ในแถวที่ 2 ต่อวงจรทำให้กระแสไหลผ่านได้แม้จะปล่อย  S2 ทำให้วงจรทำงานได้ต่อไป
                     - ทำให้ไทม์มอร์ K2T  เริ่มนับเวลาตามที่เราตั้งไว้ให้ตัวมอเตอร์ทำงาน
                3. เมื่อถึงเวลา ไทม์เมอร์ก็จะทำงาน ทำให้ คอนแทคปกติเปิด K2T ของตัวไทม์เมอร์ ในแถวที่ 3 ปิด ต่อวงจร ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านคอยล์  K3 
                     - ทำให้ เมนคอนแทคของ K3 ที่ต่อควบคุมมอเตอร์ต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมายังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน
                4. หากเราต้องการให้มอเตอร์หยุดหมุน สามารถทำได้ โดยการกด S1 ตัดวงจรไม่ให้กระแสไหลได้ครบวงจร ตัดการทำงานของวงจรควบคุม



ความคิดเห็น