จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
เป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตไอน้ำมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดท่อน้ำและชนิดท่อไฟ
1.
หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ
หม้อไอน้ำชนิดนี้มักมีขนาดใหญ่ ใช้ผลิตไอน้ำความดันสูง
อัตราการผลิตไอน้ำสูง แต่มีราคาแพง นิยมใช้สำหรับผลิตไอน้ำในโรงไฟฟ้า และผลิตไอน้ำใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ไอน้ำปริมาณมาก
แสดงดังรูปที่ 1 (ก) และ (ข) หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ สามารถสังเกตได้ง่าย
จากภาพทั้งสอง จะพบว่ามีดรัม 2 ชุด คือชุดบน คือดรัมไอน้ำอิ่มตัว
และดรัมล่าง คือดรัมน้ำ แต่หากหม้อไอน้ำมีขนาดใหญ่มากๆ อาจมีดรัมมากกว่า 2 ชุด หลักการทำงานรวมๆ ของหม้อไอน้ำชนิดนี้ คือ ก๊าซร้อนที่อยู่ในหลอดน้ำ น้ำ
เมื่อได้รับความร้อน จะเดือดกลายเป็นไอ และลอยตัวขึ้นสู่ดรัมไอน้ำอิ่มตัวด้านบน น้ำที่บรรจุอยู่ในดรัมไอน้ำอิ่มตัวจะไหลลงมาแทนที่ในท่อเพื่อรับความร้อนแล้วกลายเป็นไอต่อไป
การระบายน้ำทิ้งเพื่อควบคุมระดับสารแขวนลอยที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตะกรัน หรือสนิม (Blow
down) จะถูกระบายออกจากดรัมด้านล่างของหม้อไอน้ำ
รูปที่ 1 แสดงหม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ
(ก) ท่อน้ำภายในหม้อไอน้ำ
(ข) ภายนอกหม้อไอน้ำ
2.
หม้อไอน้ำชนิดท่อไฟ
หม้อไอน้ำชนิดนี้จะมีความร้อนหรือ เปลวไฟวิ่งอยู่ภายในท่อ
แสดงดังรูปที่ 2 (ก)
และ (ข) โดยท่อจะถูกออกแบบ
ให้ก๊าซร้อน ไหลผ่าน 2 หรือ 3 เที่ยว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และเพิ่มเวลาที่ก๊าซร้อนจะอยู่ในหม้อไอน้ำได้นานมากยิ่งขึ้น
หม้อไอน้ำชนิดนี้ น้ำที่อยู่รอบนอกท่อไฟ จะได้รับความร้อนจากก๊าซร้อนที่ไหลผ่านอยู่ในท่อ
มักมีขนาดไม่ใหญ่ ผลิตไอน้ำความดันไม่เกิน 24 barปริมาณ ไอน้ำ
ไม่เกิน 20 ตัน/ชั่วโมง ที่ความดันบรรยากาศ
นิยมใช้สำหรับผลิตไอน้ำใช้ในกระบวนการผลิต หม้อไอน้ำชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด
เพราะมีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำที่ไม่สูงจนเกินไป การระบายน้ำทิ้งเพื่อควบคุมระดับสารแขวนลอยที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตะกรัน
หรือสนิม (Blow down) จะถูกระบายออกจากด้านล่างของหม้อไอน้ำ
รูปที่ 2 แสดงหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (ก)
ท่อไฟภายในหม้อไอน้ำ (ข) ภายนอกหม้อไอน้ำ
พิกัดหม้อไอน้ำ
สามารถแบ่งได้ 2 หัวข้อ คือ
1. อัตราการผลิตไอน้ำ คือ ปริมาณไอน้ำอิ่มตัวแห้งที่ผลิตได้ใน 1 ชั่วโมง หน่วยเป็น ตัน/ชั่วโมง แต่ควรระบุ เงื่อนไขด้วยว่า ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ที่ความดันบรรยากาศ
หรือที่ความดันพิกัดของหม้อไอน้ำ เช่น ถ้าระบุว่าหม้อไอน้ำมีขนาด12 ตัน/ชั่วโมง ที่ความดันบรรยากาศ (h = 2,676 kJ/kg) แต่ที่ความดัน
8 bar (ความดันที่พิกัด) (h = 2,769.1 kJ/kg) อัตราการผลิตไอน้ำเหลือ
11.6 ตัน/ชั่วโมง (122,676/2,769.1)
2. แรงม้าหม้อไอน้ำ (Boiler Horse Power : bhp) คือ หน่วยวัดอัตราการผลิตไอน้ำของหม้อไอน้ำอีกวิธีหนึ่ง โดยกำหนดให้
1 แรงม้าหม้อไอน้ำ มีอัตราการผลิตไอน้ำ = 15.7 กิโลกรัม/ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 100°C และที่ความดันบรรยากาศ ดังนั้นอัตราการผลิตไอน้ำ
1 ตัน/ชั่วโมง = 63 แรงม้า
ที่อุณหภูมิ 100°C และที่ความดันบรรยากาศ
ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ
ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ หมายถึงพลังงานความร้อนที่ออกไปกับไอน้ำ
ต่อพลังงานที่หม้อไอน้ำใช้ในการผลิตไอน้ำ
ทีมา : เอกสารเทคนิคการประหยัดพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ความคิดเห็น