ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลอดทังสเตน (Tungstan Lamp)

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้            


                หลอดไฟฮาโลเจนคือหลอดอินแคนเดสเซนต์ชนิดหนึ่ง ที่มีไส้หลอดทังสเตนบรรจุอยู่ภายในเช่นเดียวกับหลอดอินแคนเดสเซนต์ทั่วไปซึ่งอาจนำไปใช้งานภายในบ้านเรือนได้ อย่างไรก็ตามหลอดไฟนี้มีแก๊สฮาโลเจน อันได้แก่โบรมีนหรือไอโอดีน บรรจุอยู่ แหล่งกำเนิดแสงจากฮาโลเจนจะให้แสงขาวนวลที่ชัดเจนโดยมีค่าความถูกต้องของสีอันโดดเด่น จึงทำให้หลอดไฟชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหลายๆ การใช้งาน

               หลอดไฟฮาโลเจนรู้จักกันในชื่อหลอดไฟควอตซ์ฮาโลเจน และหลอดไฟฮาโลเจนทังสเตน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หลอดไฟฮาโลเจนมีไส้หลอดทังสเตนคล้ายกับในหลอดอินแคนเดสเซนต์มาตรฐาน แต่ตัวหลอดไฟมีขนาดเล็กกว่าในขณะที่ให้กำลังไฟฟ้าเท่ากันและมีการบรรจุแก๊สฮาโลเจนในหลอด ตัวหลอดแก้วทำด้วยควอตซ์ แก้วซิลิกา หรืออะลูมิโนซิลิเกตหลอม หลอดไฟฮาโลเจนมีความแข็งแกร่งกว่าหลอดแก้วแบบมาตรฐานเนื่องจากต้องบรรจุแรงดันสูง อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฮาโลเจนจะร้อนขึ้นจนกลายเป็นแก๊สที่อุณหภูมิต่ำลง ฮาโลเจนคือองค์ประกอบของโลหะโมโนวาเลนต์ชนิดหนึ่งที่จะรวมตัวกันเป็นอิออนประจุลบ สารฮาโลเจนมีอยู่ห้าชนิด ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และแอสทาทีน หลอดไฟฮาโลเจนมีขนาดกะทัดรัดและให้ค่าลูเมนที่สูง






หลักการทำงาน

             1. เมื่อมีกระแสไหลผ่านไส้หลอด ทังสเตนจะทำงานที่อุณหภูมิสูงประมาณ 3000 องศาเคลวิน ภายในหลอดแก้วควอทซ์ ที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 470 องศาเคลวิน ทำให้อนุภาคของทังสเตนระเหิดออกจากไส้หลอด
             2. ระหว่างที่อนุภาคของทังสเตนซึ่งร้อน เคลื่อนที่ห่างจากไส้หลอด ก็จะรวมตัวกับอนุภาคหรือโมเลกุลของสารฮาโลเจน เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ผนังแก้วควอทซ์มากขึ้น ก็จะรวมตัวกับอนุภาคของสารฮาโลเจนมากยิ่งขึ้น
             3. โมเลกุลที่เกิดจากการรวมกันของอนุภาคทังสเตนและสารฮาโลเจน เมื่ออุณหภูมิต่ำลงจะกลายเป็นโมเลกุลที่ไม่มีเสถียรภาพ และวิ่งเข้าหาไส้หลอด ระหว่างที่วิ่งเข้าหาไส้หลอดอนุภาคของสารฮาโลเจนจะแยกตัวออกจากโมเลกุลใหญ่ เนื่องจากความร้อน
              4. เมื่อเข้าใกล้หลอดมากขึ้น อนุภาคของสารฮาโลเจนก็จะแยกตัวออกไปจนหมดเหลือแต่อนุภาคของทังสเตน วิ่งไปจับที่ไส้หลอด

การใช้งานหลอดฮาโลเจน
              ต้องติดตั้งภายในดวงโคมสำหรับหลอดฮาโลเจนโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับกระเปาะแก้ว ทั้งจากความชื้นและการสัมผัสกระเปาะแก้วโดยตรง ดวงโคมที่พบเห็นทั่วไปแสดงดังรูป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโคมรุ่นใด โครงสร้างภายในแทบไม่ต่างกันโดยเฉพาะใช้กับหลอดชนิดยาวตรง




 ข้อดีของหลอดฮาโลเจน

         - คุณภาพแสงระดับสูงโดยมีค่าความถูกต้องของสีที่ยอดเยี่ยม (Ra=100)
         - ปรับค่าความสว่างของแสงได้อย่างเต็มที่
         - หลอดไฟฮาโลเจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโดดเด่นในการให้แสงสว่างเป็นพิเศษ
         - หลอดไฟฮาโลเจนมีให้เลือกในหลากหลายขนาดและรูปทรง และออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับโคมไฟและการใช้งานแบบต่างๆ
         - อายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์แบบธรรมดา
         - ไม่ต้องรอช่วงอุ่นตัว หลอดไฟฮาโลเจนเปล่งแสงสว่างเต็มกำลังในทันที
           - สามารถรักษาค่าความส่องสว่างให้คงที่ได้ตลอดอายุการใช้งาน 

โดยสรุป:
          หากคุณกำลังมองหาวิธีที่รวดเร็วและง่ายดายที่สุดเมื่อต้องการเปลี่ยนแทนที่หลอดไฟแบบดั้งเดิมให้กับทุกจุดในบ้านของคุณ และยังต้องการคุณภาพของแสงที่ส่องสว่างชัดเจนและอบอุ่น หลอดไฟฮาโลเจนคือตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ที่มา : ไฟฟ้าราชมงคลฯ

ความคิดเห็น