ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แบบวงจรแสดงการทำงาน (Schamatic Diagram)

จำนวนผู้เยี่ยมชม

            วงจรแสดงการทำงานสามารถแบ่งตามลักษณะของวงจรได้เป็น 2 แบบ ด้วยกันคือ
            1. วงจรกำลัง (Power Circuit)
            2. วงจรควบคุม( Control Circuit)


วงจรกำลัง (Power Circuit)

แบบวงจรนี้คือส่วนของระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์นั่นเอง จะเขียนรายละเอียดของวงจรกำลังเท่านั้น โดยเริ่มจากแหล่งจ่ายกำลัง ผ่าน Main Fuse (F1)   Main Contactor (K1) Overload Relay (F3) และต่อเข้ามายังมอเตอร์ ตามภาพด้านล่าง

ภาพที่ 1 แสดงวงจรกำลัง

วงจรควบคุม (Control Circuit)
แบบนี้ได้จากการจับต้นและปลายของวงจรควบคุมในแบบงานจริงจับยืดออกมาเป็นเส้นตรง สายแยกต่างๆ จะเขียนในแนวดิ่งและแนวระนาบเท่านั้น ส่วนประกอบของอุปกรณ์จะนำมาเขียนเฉพาะส่วนที่ใช้ในวงจรควบคุมเท่านั้น คอนแทครีเลย์หรือคอนแทคเตอร์ สามารถเขียนแยกกันอยู่ในส่วนต่างๆ ของวงจรได้ โดยจะเขียนกำกับด้วยอักษรและตัวเลขไห้รู้ว่าเป็นของคอนแทคเตอร์ของอุปกรณ์ตัวใด

ภาพที่ 2 แสดงวงจรควบคุม
             จากภาพที่ 2 ในการต่อวงจรควบคุม จะเห็นว่าวงจรจะมีการต่ออยู่ 2 แถว
  ในการต่อวงจรให้ทำการต่อเป็นแถวให้ครบถ้วนตามลำดับ แล้วจึงเริ่มต่อวงจรในแถวต่อไปจนครบ เพื่อป้องกันการต่อวงจรไม่ครบตามวงจร 
จากวงจร จึงต่อวงจรตามลำดับ ดังนี้

แถวที่ 1
1. ต่อสายจาก L 1 เข้า ฟิวส์ควบคุม F2
2. ต่อสายออกจาก F2 เข้า คอนแทคปกติปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S1
3. ต่อสายออกจาก คอนแทคปกติปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S1 เข้า คอนแทคปกติเปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S2
4. ต่อสายออกจาก คอนแทคปกติเปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S2 เข้า คอยล์ ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1 
5. ต่อสายออกจาก คอยล์ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1 เข้า สายนิวตรอลของแหล่งจ่าย จบแถวที่ 1

แถวที่ 2
1. ต่อสายจากจุดออก ของคอนแทคปกติปิด สวิตซ์ปุ่มกด S1 หรือ จุดเข้าของคอนแทคปกติเปิดสวิตซ์ปุ่มกด S2 (ระหว่าง คอนแทคปกติปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S1 และ คอนแทคปกติเปิด ของสวิตซ์ปุ่มกด S2) เข้า คอนแทคช่วยแบบปกติเปิดของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1
2.  ต่อสายออกจาก  คอนแทคช่วยแบบปกติเปิดของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1 เข้า  จุดออกของสวิตซ์ปุ่มกด S2 หรือ จุดเข้าของคอยล์ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1 (ระหว่างคอนแทคช่วยแบบปกติเปิดของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1 และ จุดเข้าของคอยล์ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ K1) จบแถวที่ 2 


ความคิดเห็น