มอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส มีส่วนประกอบทางไฟฟ้า คือขดลวดทองแดง จำนวน 3 ชุด
คือชุด A, B และ C ซึ่งขดลวดทั้ง 3 ขด จะวางห่างกัน ทำมุม 120 องศา
ทางไฟฟ้า
โดย ขดลวดชุด A จะใช้ตัวอักษร U แทนต้นขดลวด และ X แทน ปลายขดลวด
ขดลวดชุด B จะใช้ตัวอักษร V แทนต้นขดลวด และ Y แทน ปลายขดลวด
ขดลวดชุด
C จะใช้ตัวอักษร W แทนต้นขดลวด และ Z แทน ปลายขดลวด
หรือ ขดลวดชุด
A จะใช้ตัวอักษร U1 แทนต้นขดลวด และ U2 แทน
ปลายขดลวด
ขดลวดชุด B จะใช้ตัวอักษร V1 แทนต้นขดลวด และ V2 แทน ปลายขดลวด
ขดลวดชุด
C จะใช้ตัวอักษร W1 แทนต้นขดลวด
และ W2 แทน ปลายขดลวด
การต่อใช้งานมอเตอร์ 3 เฟส สามารถต่อใช้งานได้ 2 แบบ คือ
1 1. ต่อแบบสตาร์ ( Star )
การต่อมอเตอร์แบบสตาร์
สามารถต่อได้โดยการ ต่อสายไฟแต่ละเส้น ของระบบ 3 เฟส เข้าที่ต้นของขดลวดแต่ละชุด
และนำปลายของขดลวดทั้ง 3 ขดมารวมกัน
หรือสามารถต่อได้โดยการ ต่อสายไฟแต่ละเส้น ของระบบ 3 เฟส เข้าที่ปลายของขดลวดแต่ละชุด และนำต้นของขดลวดทั้ง 3 ขดมารวมกันก็ได้ แต่หากจะรวมต้นก็ต้องเป็นต้นของขดลวดทั้งหมด ถ้าจะรวมปลายก็ต้องเป็นปลายของขดลวดทั้งหมด
ภาพการต่อมอเตอร์ 3 เฟสแบบสตาร์รวมต้นของขดลวด และจ่ายแรงดันเข้าปลายขดลวดด้านบน
2 2. ต่อแบบเดลต้า ( Delta )
การต่อมอเตอร์ 3 เฟส แบบเดลต้า นั้นก่อนที่จะต่อจะต้องดูคุณสมบัติของมอเตอร์ และระบบไฟฟ้าให้ถูกต้องก่อนจะทำการต่อได้ เพราะหากคุณสมบัติของมอเตอร์ไม่รองรับกับระบบไฟฟ้าที่จ่าย จะทำให้ขดลวดของมอเตอร์ไหม้ได้
การพิจารณาว่าจะต้องต่อมอเตอร์แบบสตาร์หรือเดลต้า เราจะต้องทราบว่าระบบไฟฟ้าของเราเป็นระบบใด และมอเตอร์ไฟฟ้าของเรามีคุณสมบัติรองรับแรงดันเท่าใด โดยสามารถดูได้จากแผ่นป้ายของมอเตอร์
การต่อมอเตอร์ 3 เฟส แบบเดลต้า นั้นก่อนที่จะต่อจะต้องดูคุณสมบัติของมอเตอร์ และระบบไฟฟ้าให้ถูกต้องก่อนจะทำการต่อได้ เพราะหากคุณสมบัติของมอเตอร์ไม่รองรับกับระบบไฟฟ้าที่จ่าย จะทำให้ขดลวดของมอเตอร์ไหม้ได้
การพิจารณาว่าจะต้องต่อมอเตอร์แบบสตาร์หรือเดลต้า เราจะต้องทราบว่าระบบไฟฟ้าของเราเป็นระบบใด และมอเตอร์ไฟฟ้าของเรามีคุณสมบัติรองรับแรงดันเท่าใด โดยสามารถดูได้จากแผ่นป้ายของมอเตอร์
ความคิดเห็น