ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้


โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


          พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ที่มีความสะอาดปราศจากมลพิษ ซึ่งเวลานี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง สามารถนำมาใช้อย่างไม่หมดสิ้น โดยเฉพาะการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยและยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
         เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โปตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน(Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน

pvcompoรูปโครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์


ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย
  1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า
  2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter/Converter) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นกระแสสลับเพื่อให้สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
  3. ระบบแบตเตอรี่ (Battery Storage) ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ต่อไป
  4. ระบบควบคุมและเก็บข้อมูล (System Controller and Data Acquisition) ทำหน้าที่ควบคุมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ปรับทิศทางรับแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุดตามวันเวลาในช่วงต่างๆและเก็บข้อมูลไปในตัว
  5. ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ทำหน้านำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ไปยังบ้านเรือนต่างๆ
204

รูปโครงสร้างระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์


การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภท

1.เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น แบบที่เป็นรูปผลึก (Crystalline) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous)
แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.แบบผลึกเดี่ยว (Mono Crystalline) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแรกๆ ที่ได้รับการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนหนาประมาณ 300 ไมครอน หรือที่เรียกว่าเวเฟอร์
monocrystalline-pv-solar-panel-aluminum-frame-69868-6264833

     รูปเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกเดี่ยว


 2.แบบผลึกรวม (Poly Crystalline) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อ ลดต้นทุนของโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว โดยยังคงคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งาน ใกล้เคียงกับแบบผลึกเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนิยมใช้เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้ เช่น โรงไฟฟ้า “เอสพีพี ทู” จ.สระบุรี โรงไฟฟ้า “ตาขีด” จ.นครสวรรค์ ของเอ็กโก กรุ๊ป เป็นต้น
63

 รูปเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกรวม


แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก  ได้แก่ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous หรือ Thin Film) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นฟิลม์บางเพียง 0.5 ไมครอน น้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าแบบผลึก เหมาะกับการใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
23

รูปเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง


2.เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป มีราคาสูงมาก จึงไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก เหมาะนำไปใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนากระบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้มีราคาถูกลง และสามารถนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต โดยปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด

ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

    ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  1. เป็นพลังงานที่มีอย่างต่อเนื่อง
  2. เป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
  3. มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
  4. สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เล็กๆ เพื่อใช้กับเครื่องคิดเลข จนถึงโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ระดับ 100 kW ขึ้นไป ซึ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ลักษณะพื้นฐานได้เหมือนกัน
    ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  1. เซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานค่อนข้างน้อย
  2. การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้เงินลงทุนสูง
  3. ปริมาณพลังงานที่ผลิตได้จะไม่คงที่เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน
  4. การผลิตไฟฟ้าทำได้เฉพาะตอนกลางวันเนื่องจากต้องใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการผลิตพลังงาน

ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com 

ความคิดเห็น