ความต้องการไฟฟ้า หมายถึง กำลังไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ในการคาดคะเนความต้องการใช้ไฟฟ้า จึงต้องพยากรณ์ค่าความต้องการไฟฟ้าทั้ง 2 ค่า คือ ความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ที่เกิดขึ้นในชั่วโมงใดชั่วโมงหนึ่งของรอบระยะเวลาหนึ่ง และความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาของนอกระยะเวลาเดียวกันนั้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนที่แตกต่างกันดังนี้
การคาดคะเนความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด เพื่อกำหนดขนาดหรือกำลังผลิตของโรงไฟฟ้า ขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า
กราฟแสดงลักษณะการผลิตไฟฟ้าในรอบวันของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กราฟโหลดสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.กราฟโหลดประจำวัน หมายถึงการใช้กำลังไฟฟ้าในแต่ละวัน กราฟโหลดประจำวันนี้จะแสดงได้ 2 รูปแบบ คือ กราฟเส้นและกราฟแท่ง เมื่อพิจารณาจากกราฟโหลดประจำวันในรูปกราฟที่ 1.2 และ 1.3 จะพบว่าช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้าทั้งโหลดในย่านการค้าและย่านที่พักอาศัยพร้อม ๆ กัน และช่วงเวลาที่ใช้ไฟฟ้าต่ำสุด คือ ช่วงเวลา 02.00 น. เป็น
กราฟแสดงโหลดประจำวัน
2.กราฟโหลดดิวเรชั่น หมายถึง กราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังไฟฟ้าของโหลดกับชั่วโมงที่เกิดโหลด โดยนำข้อมูลโหลดจากกราฟโหลดแต่ละวันมาใช้
กราฟแสดงโหลดดิวเรชั่น
การจำแนกโหลดไฟฟ้าตามลักษณะของพื้นที่และการใช้งาน
โหลดที่ใช้ทางไฟฟ้าตามลักษณะของพื้นที่สามารถแยกออกได้ดังต่อไปนี้
1. ที่พักอาศัย
2. อาคารพานิช
3. โรงงานอุตสาหกรรม
4. หน่วยงานรัฐบาล
5. สาธารณูปโภค
6. การชลประทาน
7. เหมืองแร่
8. การลากจูง
9. การจ่ายกำลังไฟฟ้าให้ต่างเมือง
10. พื้นที่ที่เป็นย่านของโรงงานอุตสาหกรรม
โหลดที่ใช้ทางไฟฟ้าตามลักษณะของพื้นที่สามารถแยกออกได้ดังต่อไปนี้
1. ที่พักอาศัย
2. อาคารพานิช
3. โรงงานอุตสาหกรรม
4. หน่วยงานรัฐบาล
5. สาธารณูปโภค
6. การชลประทาน
7. เหมืองแร่
8. การลากจูง
9. การจ่ายกำลังไฟฟ้าให้ต่างเมือง
10. พื้นที่ที่เป็นย่านของโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com/โหลดไฟฟ้าและการจำแนกโห
ความคิดเห็น