ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่ประกอบด้วยความต้านทานอย่างเดียว หมายถึงมีความต้านทานต่ออยู่ในวงจรเพียงตัวเดียว จะทำให้วงจรมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
ภาพที่ 1 แสดงวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่ประกอบด้วยความต้านทานอย่างเดียว
1.
ความต้านทานทั้งหมดในวงจร (Z) มีค่าเท่ากับความต้านทาน (R) และมุมของ R จะมีค่าเท่ากับ 0 องศา
จากภาพที่ 1 จะได้
Z = R
= 20 Ð0°
W
2. แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมความต้านทาน
จะมีค่าเท่ากับแรงดันที่จ่าย ทั้งขนาด และมุม
จากภาพที่ 1 จะได้
VR
= E
= 40 Ð0°
V
ในภาพแรงดัน
บอกเฉพาะขนาดแรงดัน ไม่ได้บอกค่ามุม หมายความว่า มีค่าเท่ากับ 0 องศา
3. กระแสไฟฟ้าจะมีค่าเท่ากับ แรงดันที่จ่ายหารด้วยความต้านทานทั้งหมด (Z) หรือ ความต้านทาน (R)
จากภาพที่ 1 จะได้
จะพบว่ามุมของกระแสในวงจรที่มีเฉพาะความต้านทานอย่างเดียว (Pure R) จะมีค่าเท่ากับมุมของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้วงจร
4. มุมของเฟส
จะมีค่าเท่ากับ 0 องศา
q
=
0°
เนื่องจากในวงจร มุมของกระแสจะมีค่าเท่ากับมุมของแรงดัน
5. กำลังไฟฟ้าของวงจร
กำลังไฟฟ้าปรากฎ ( S )
S = EI
= 40 x 2
= 80 VA
กำลังไฟฟ้าที่วัดได้ ( P ) จะมีค่าเท่ากับกำลังไฟฟ้าปรากฎ เนื่องจากในวงจร Pure R เพาเวอร์แฟคเตอร์ (cosq) จะมีค่าเท่ากับ 1 เนื่องจากมุมเฟส ( q ) จะมีค่าเท่ากับ 0 องศา
ดังนั้นจากภาพที่
1 จะได้
P
= S =
EI
=
40 x 2
= 80 W
หรือ
P = I2R
= 22 x 20
= 4 x 20
= 80 W
หรือ P = E2 /
R
= 402 / 20
= 1,600 / 20
= 80 W
= 40 x 2 x cos0°
= 40 x 2 x 1
กำลังไฟฟ้าต้านกลับ ( Q )
Q = EIsinq
= 40 x 2 x sin0°
= 40 x 2 x 0
= 0 VAR
ความคิดเห็น