ปริมาณทางไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาด และทิศทาง เราจึงแทนปริมาณทางไฟฟ้ากระแสสลับด้วยเวกเตอร์ คือมีขนาดของปริมาณ ซึ่งเราจะแทนด้วยความยาวของเส้น และมีทิศทาง โดยเราจะแทนทิศทางของปริมาณด้วยหัวลูกศรที่ปลายของความยาวเส้น
ทิศทางของปริมาณทางไฟฟ้าจะมีทิศทางเป็นองศา โดยเราจะให้ทิศทางที่มีมุม 0
องศา จะอยู่ในแนวระนาบ และมีทิศทางหัวลูกศรจากจุดเริ่มต้นไปทางขวามือ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 แสดงเวกเตอร์ของแรงดันไฟฟ้า
ขนาด 4 V
มุม 0°
และขนาดของมุมจะหมุนได้ 2 ทิศทาง คือ
1.
หมุนทวนเข็มนาฬิกา (ขึ้นด้านบน) จะมีมุมเพิ่มขึ้นตามลำดับแต่จะมีค่าเป็นบวก โดยเทียบกับตำแหน่ง 0° ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 แสดงเวกเตอร์ของแรงดันไฟฟ้า ขนาด 4 V มุม 35°
2. หมุนตามเข็มนาฬิกา (ลงด้านล่าง) จะมีมุมเพิ่มขึ้นตามลำดับแต่จะมีค่าเป็นลบ
โดยเทียบกับตำแหน่ง 0° ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 แสดงเวกเตอร์ของแรงดันไฟฟ้า
ขนาด 4 V
มุม -35°
เฟส (Phase)
เฟส ในที่นี้ หมายถึง มุมในการตัดกันของขดลวดกับเส้นแรงแม่เหล็กในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากันตามตำแหน่งองศาของการตัด ทำให้เกิดสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นรูปคลื่นไซน์
เฟส ในที่นี้ หมายถึง มุมในการตัดกันของขดลวดกับเส้นแรงแม่เหล็กในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากันตามตำแหน่งองศาของการตัด ทำให้เกิดสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นรูปคลื่นไซน์
ดังนั้นหากเรานำรูปสัญญาณทางไฟฟ้าที่มีความถี่เท่ากัน ตั้งแต่ 2
สัญญาณขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน โดยให้สัญญาณใดสัญญาณหนึ่งเริ่มต้นเกิดที่ 0° และนำสัญญาณที่เหลือมาเปรียบเทียบกันจะทำให้เกิดเฟสทางไฟฟ้าอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. เฟสเดียวกัน (Inphase)
หมายถึงสัญญาณที่เริ่มเกิดรูปสัญญาณที่มุมเดียวกัน ไปในทิศทางเดียวกัน มีค่า 0
ในเวลาเดียวกันที่ 0° เกิดค่าสูงที่สุดที่ 90°
ในเวลาเดียวกัน
แม้ว่าค่าสูงสุดอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนถึง 0 พร้อมกันที่ 180° จากนั้นจะค่อยๆ
สูงขึ้นอีกในทิศทางตรงข้ามเหมือนกัน และสูงสุดพร้อมกันอีกที่ 270°
และค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ 0 พร้อมกันอีกครั้งที่ 360°
ครบรอบของสัญญาณหนึ่งรูปคลื่น หรือ 6.28 เรเดียล ต่อจากนั้นจะเริ่มในลักษณะเดิมอีกไปเรื่อยๆ ดังภาพ
ภาพที่ 4
แสดงรูปสัญญาณมีเฟสเดียวกัน
2. เฟสตรงกันข้าม (Out of Phase) หมายถึงสัญญาณที่เริ่มเกิดรูปสัญญาณที่
0° พร้อมกัน แต่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน
เช่นสัญญาณแรกไปทางบวก อีกสัญญาณจะไปทางลบ และจะเกิดค่าสูงสุดพร้อมกันที่ 90° แต่ทิศทางตรงข้ามกัน
และสัญญาณจะค่อยๆ ลดลงมาจนเท่ากับ 0° พร้อมกันที่ 180° จากนั้นจะค่อยๆ
เพิ่มขึ้นอีกแต่จะสลับกันคือสัญญาณแรกจะกลับไปทางลบ อีกสัญญาณจะกลับไปทางบวก
และสูงสุดพร้อมกันอีกครั้งที่ 270° และค่อยๆ
ลดลงอีกจนถึง 0° ที่ 360° ครบ 1 รอบของสัญญาณ
ต่อจากนั้นจะเริ่มในลักษณะเดิมอีกไปเรื่อยๆ ดังภาพ
ภาพที่ 5
แสดงรูปสัญญาณมีเฟสตรงข้ามกัน
3.
เฟสเลื่อน (Shift Phase) หมายถึงสัญญาณที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน
แต่ไปในทิศทางเดียวกัน จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
นำหน้า (Leading)
ล้าหลัง
(Lagging)
ภาพที่ 6 แสดงรูปสัญญาณมีเฟสเลื่อน แบบนำหน้า
ภาพที่ 7 แสดงรูปสัญญาณมีเฟสเลื่อน แบบล้าหลัง
โดยสัญญาณที่เกิดก่อนจะนำหน้าสัญญาณที่เกิดหลัง
หรือสัญญาณที่เกิดทีหลังจะล้าหลังสัญญาณที่เกิดก่อน ซึ่งจุดที่เราจะใช้ในการอ้างอิงคือที่ตำแหน่ง
0° สัญญาณที่ใช้อ้างอิงจะเป็นสัญญาณในด้านบวก
ดังนั้น หากที่ตำแหน่ง 0° สัญญาณใดเกิดในด้านบวกก่อน
สัญญาณนั้นจะนำหน้าอีกสัญญาณหนึ่ง
ดังภาพที่ 6 จะเห็นได้ว่า
ที่ตำแหน่ง 0° V2 มีสัญญาณด้านบวกเกิดแล้ว ขณะที่ V1 มีสัญญาณเป็น 0 จึงได้ว่า V2 นำหน้า V1 เป็นมุม
q°
หรือ V1
ล้าหลัง V2 เป็นมุม
q°
ส่วนภาพที่ 7 จะเห็นได้ว่า ที่ตำแหน่ง 0°
V2 แม้จะมีสัญญาณเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นด้านลบ เราเลยยังไม่นับว่า V2 มีสัญญาณเกิดขึ้น รอจนผ่านไป q°
V2 จึงเริ่มมีสัญญาณในด้านบวก ขณะที่ V1 มีสัญญาณด้านบวกเกิดขึ้นแล้ว จึงสรุปได้ว่า
V1 นำหน้า V2 เป็นมุม
q°
หรือ V2 ล้าหลัง V1
เป็นมุม q°
เฟสเซอร์ไดอะแกรม (Phasors
Diagram)
คือการนำเวกเตอร์มาเขียนแทนสัญญาณไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 เวกเตอร์ ขึ้นไป นั่นเอง โดยมุมของสัญญาณให้เท่ากับขนาดของสัญญาณนั้น บนแกน Y
เช่น ในภาพที่ 4 เขียนเป็นเฟสเซอร์ไดอะแกรมได้ ดังนี้
ภาพที่ 8 เฟสเซอร์ไดอะแกรมของสัญญาณในภาพที่
4
การที่สัญญาณใดจะมีมุมเท่าใด
ให้เราดูที่ สัญญาณเริ่มจาก 0 เพิ่มขึ้นไปทางบวก (ด้านบนของสัญญาณ) อยู่ที่ตำแหน่งกี่องศา
ก็แสดงว่าเวกเตอร์มีมุมเท่านั้น
ดังสัญญาณในภาพที่ 4 สัญญาณทั้งสองเริ่มจาก 0 ขึ้นไปทางบวก อยู่ที่ตำแหน่ง
0 แสดงว่า สัญญาณทั้งสองมีมุม 0° รูปเวกเตอร์ทั้งสองจึงอยู่ที่มุม 0°
ซ้อนกันอยู่ แต่ V1 มีค่ามากกว่า V2 จึงมีขนาดยาวกว่า
ภาพที่ 9 เฟสเซอร์ไดอะแกรมของสัญญาณในภาพที่ 5
สัญญาณในภาพที่ 5 สัญญาณ V1 เริ่มจาก 0 ขึ้นไปทางบวก อยู่ที่ตำแหน่ง 0 แสดงว่า สัญญาณ V1 มีมุม 0° ส่วน สัญญาณ
V2 เริ่มจาก 0 ลงไปทางลบ อยู่ที่ตำแหน่ง -180°
หลังจากเกิด
V1 แล้ว แสดงว่า สัญญาณ
V2 มีมุมตามหลัง V1 อยู่ -180°
ดังภาพที่ 9
ความคิดเห็น