รูปแบบของการเขียนขนาดของค่าทางไฟฟ้าอีกรูปแบบหนึ่ง คือการเขียนให้อยู่ในรูปของสมการ ซึ่งจะมีรูปแบบของการเขียนค่าต่างๆ ทางไฟฟ้า ให้อยู่ในรูปแบบของสมการ คือค่าตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ ดังนี้
1. สมการเฟสเซอร์
คือสมการที่ใช้เขียนแทนรูปแวกเตอร์
ประกอบด้วยจำนวนขนาดความยาวของแวกเตอร์ และมุมของแวกเตอร์ ดังตัวอย่าง
ภาพที่ 1
แสดงภาพแวกเตอร์ของแรงดันไฟฟ้า E
จากรูปแวกเตอร์ในภาพที่
1 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการเฟสเซอร์ ได้ดังนี้
E
= 4 Ð0° V หรือ E = 4 V
เพราะหากเราไม่ใส่ค่ามุมลงไป
แสดงว่ามุม มีค่าเท่ากับ 0 องศา
มุมของแวกเตอร์จะเริ่มในตำแหน่งจุดเริ่มต้นไปในแนวระนาบทางขวามือ
เท่ากับ 0 องศา จากนั้นจะนับไปเรื่อยๆ โดยการเลื่อนแวกเตอร์ไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา
หรือขึ้นด้านบน ค่าองศาที่เพิ่มขึ้นจะมีค่าเป็นบวก แต่หากเลื่อนตามเข็มนาฬิกา
หรือเลื่อนลงด้านล่าง ค่าองศาที่เพิ่มขึ้นจะมีค่าเป็นลบ
ภาพที่ 2
แสดงภาพแวกเตอร์ของกระแสไฟฟ้า I
จากรูปแวกเตอร์ในภาพที่ 2 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการเฟสเซอร์ ได้ดังนี้
I = 5 Ð40° A
ภาพที่ 3 แสดงภาพแวกเตอร์ของแรงดันไฟฟ้า E
จากรูปแวกเตอร์ในภาพที่ 3 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปสมการเฟสเซอร์ ได้ดังนี้
E = 5 Ð-50° V
2. สมการชั่วขณะของรูปคลื่นไซน์
คือสมการที่ใช้เขียนแทนรูปคลื่นไซน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ ประกอบด้วย
แรงดันสูงสุดของรูปคลื่น และมุม ณ เวลานั้น ซี่งจะเขียนได้ใน 2 ลักษณะ คือ
e
= Emsinq
และ
e
= Emsin(wt +q)
ภาพที่ 4 แสดงรูปสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ V1 และ V2
จากภาพที่ 4
เราสามารถเขียนสมการแรงดันชั่วขณะ ได้ ดังนี้
สมการชั่วขณะของ
V1
e1 = 40sinq
= 40sin0°
= 40sin0°
หรือ e1 = 40sin(wt + 0°)
สมการชั่วขณะของ
V2
e2 = 20sinq
= 20sin40°
= 20sin40°
หรือ e2 = 20sin(wt + 40°)
ข้อแตกต่างของทั้ง
2 สมการ คือ
ตัวเลขของสมการแรงดันชั่วขณะ
จะเป็นแรงดันสูงสุดของรูปคลื่น
ส่วนตัวเลขของสมการเฟสเซอร์ จะเป็นค่าแรงดันที่วัดได้ หรือ Erms
ดังนั้นถ้าเราจะแปลงสมการแรงดันชั่วขณะเป็นสมการเฟสเซอร์ต้องทำให้ค่าแรงดันสูงสุดเป็นแรงดันที่วัดได้ก่อน เช่น สมการแรงดันชั่วขณะ ของ V1
จาก
e1 = 40sin(wt + 0°)
ทำให้แรงดันสูงสุดเป็นแรงดันที่วัดได้
E = 0.707Em
= 0.707 x 40
= 28.28 V
ดังนั้นจะได้
สมการเฟสเซอร์
V1 = 28.28
Ð0° V
สมการแรงดันชั่วขณะ
ของ V2
จาก
e2 = 20sin(wt + 40°)
ทำให้แรงดันสูงสุดเป็นแรงดันที่วัดได้
E = 0.707Em
= 0.707 x 20
= 14.14 V
ดังนั้นจะได้
สมการเฟสเซอร์
V2 = 14.14Ð40° V
ความคิดเห็น