การต่อเซลล์แบบผสม
คือการนำเซลล์ไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรมและขนาน
มาต่อรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คุณสมบัติด้านแรงดันไฟฟ้า
และกระแสไฟฟ้าได้สูงขึ้นตามต้องการในการใช้งาน โดยมีหลักในการต่อ ดังนี้
1.
ให้นำเซลล์มาต่อกับแบบอนุกรมให้ได้คุณสมบัติด้านแรงดันไฟฟ้าตามต้องการ
2.
นำเซลล์มาต่อกันแบบอนุกรมตามแบบข้อ 1 อีกตามจำนวนชุดที่ต้องการ
3.
นำเซลล์ไฟฟ้าแต่ละชุดที่ต่อไว้ มาต่อกันแบบขนาน
เพื่อเพิ่มจำนวนกระแสไฟฟ้าให้ได้ตามต้องการ
ตัวอย่าง มีถ่านไฟฉายขนาดก้อนละ 1.5 V 1 A หากต้องการใช้แหล่งจ่ายขนาด 6 V 5 A จะต้องต่อถ่านไฟฟ้าอย่างไร
ใช้ถ่านจำนวนกี่ก้อน
ภาพที่ 1
ภาพถ่านไฟฉาย 1 ก้อน ขนาด 1.5 V 1 A
วิธีการต่อ
1. นำถ่านไฟฉายแบบอนุกรมก่อนเพื่อเพิ่มแรงดัน ให้มีแรงดันเท่ากับ 6 V ตามต้องการ จะใช้ถ่านจำนวนกี่ก้อน ทำได้โดยการนำแรงดันที่ต้องการ หารด้วย
แรงดันของถ่านไฟฉาย 1 ก้อน จะได้
จำนวนถ่านที่ต้องใช้ต่ออนุกรมให้ได้แรงดัน 6 V = 6 / 1.5
= 4 ก้อน
ภาพที่ 2
แสดงถ่านไฟฉาย 4 ก้อนต่อแบบอนุกรม จะได้แรงดัน 6 V 1 A
จากภาพที่ 2 เป็นการต่อเซลล์แบบอนุกรม จะทำให้เพิ่มเฉพาะแรงดันเท่านั้น
โดยถ่าน 1
ก้อนมีแรงดัน 1.5 V ต่ออนุกรมกัน 4 ก้อน จะมีแรงดันเท่ากับ
4 x 1.5 = 6 V
ส่วนกระแสจะมีค่าเท่าเดิม
คือ 1 A เท่านั้น
2. จากนั้นให้ต่อถ่านไฟฉาย ตามแบบข้อ 1 อีกเพื่อจะเพิ่มขนาด กระแส ให้ได้เป็น
5 A โดยจะต้องต่อให้ได้ทั้งหมดกี่ชุด หาได้จาก จำนวนกระแสที่ต้องการ
หารด้วยกระแสของถ่านไฟฉาย 1 ก้อน จะได้
จำนวนชุดของถ่านแบบอนุกรมที่ต้องการ = 5 / 1
= 5 ชุด
เพราะฉะนั้น จะต้องต่อถ่านไฟฉายแบบข้อ 1 เพิ่มอีก 4 ชุด รวมเป็นทั้งหมด 5
ชุด
3. จากนั้น
นำถ่านไฟฉายทั้ง 5 ชุด มาต่อกับแบบขนาน ก็จะได้แหล่งจ่ายขนาด 6 V 5 A ตามต้องการ
ภาพที่ 4
แสดงการต่อถ่านไฟฉายแบบผสม เพื่อให้ได้แหล่งจ่ายขนาด 6 V 5 A
เพราะฉะนั้น หากเราต้องการต่อถ่านไฟฉาย ขนาด 1.5 V 1 A ให้ได้เป็นแหล่งจ่าย ขนาด 6 V 5 A
จะต้องต่อกันแบบผสม ดังภาพที่ 4
และต้องใช้ถ่านไฟฉาย จำนวนเท่ากับ จำนวนแถวของเซลล์
คูณด้วยจำนวนเซลล์ภายในแถว
= 5 x 4
= 20 ก้อน
ความคิดเห็น